จากงานวิจัยของ Delphi Reseasrch พบว่า Arbitrum เครือข่าย Layer 2 บน Ethereum พุ่งอย่างฉับพลัน คิดเป็นกิจกรรม 62% ของเครือข่ายบน Ethereum ทั้งหมด หวังเข้าไปทำธุรกรรมเพื่อรับ Airdrop (เหรียญที่แจกจ่ายให้แก่ผู้ทำธุรกรรมหนึ่งๆ บนเครือข่าย) ที่คาดว่าจะมีการแจกจ่าย
จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มูลค่าที่เก็บไว้บน Total Value Locked (TVL) Arbitrum เติบโตมากกว่า 13% ในช่วงเดือนที่ผ่านมา โดยมี TVL กว่า 1.05 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 3.7 หมื่นล้านบาท ขึ้นแซงหน้าคู่แข่งอย่าง Solana และ Optimism
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- การอัปเกรด The Merge ของ Ethereum และทิศทางในอนาคตของเหรียญ ETH
- ทำไมเหรียญ LUNC ถึงพุ่งกว่า 425% ภายใน 14 วัน? อะไรที่อยู่เบื้องหลังการพุ่งขึ้นครั้งนี้
- ไมเคิล เบอร์รี เตือนการล่มสลายครั้งประวัติศาสตร์กำลังจะเกิดขึ้น โดยมีต้นตอจากตลาดคริปโต
ยังไม่รวมไปถึงการเปิดตัวของ Arbitrum ที่มีการอัปเกรด ‘เครือข่าย Nitro’ ไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา จนทำให้ธุรกรรมพุ่งขึ้นกว่า 550% จนมีกิจกรรมรวมบน Ethereum แตะระดับ 62% ทั้งที่ก่อนหน้านั้นมีธุรกรรมเพียงแค่ 9% เท่านั้น
รวมไปถึงยังทำให้มีจำนวนบัญชีแตะ 1.66 บัญชีเป็นครั้งแรกไปเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (31 ตุลาคม) ซึ่ง Delphi Research ได้เขียนบทวิเคราะห์ไว้ว่า ธุรกรรมจำนวนมากที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการเก็งกำไร เพื่อหวังเร่งกิจกรรมบนเครือข่าย เพื่อจะได้รับ Airdrop ในจำนวนที่มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม Arbitrum นั้นเป็นเครือข่ายให้แก่โปรเจกต์ดังๆ บนโลก DeFi จำนวนมาก อันได้แก่ Curve Finance, Uniswap และ Aave
นอกจากนี้ แพทริก แมคแนบ ผู้ร่วมก่อตั้งโปรเจกต์ Mycelium กล่าวกับสำนักข่าวออนไลน์ Blockworks ว่า ในช่วงการเปิดตัวอนุพันธ์บน Smart Contract ของโปรเจกต์ Mycelium นั้น Arbitrum นับว่าเป็นตัวเลือกแรกในใจ เนื่องจากประวัติการเติบโตของ Arbitrum นับว่าเป็นความสำเร็จที่จะสามารถเอาไว้ต่อสู้กับทิศทางตลาดขาลงในขณะนี้
แพทริกยังมองว่า ‘ด้วย ‘Network Effect’ ที่สามารถเข้าถึงสภาพคล่องและการเชื่อมต่อกับระบบต่างๆ ทำให้ Ethereum สามารถเติบโตและมีนวัตกรรมเกิดขึ้นจำนวนมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และในตอนนี้เหตุการณ์ดังกล่าวก็กำลังเกิดขึ้นกับ Arbitrum’
โดย Offchain Labs บริษัทเบื้องหลังผู้พัฒนา Arbitrum นั้นได้รับเงินลงทุนกว่า 147 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 5.4 พันล้านบาท จาก Lightspeed Venture, Coinbase Ventures, Pantera Capital รวมไปถึงนักลงทุนและกรรมการรายการดัง Shark Tank อย่าง มาร์ค คิวแบน ด้วยมูลค่ากิจการมากกว่า 4.4 หมื่นล้านบาท
อ้างอิง: