×

AIS The StartUp: วิธีคิดและการเติบโตอย่างยั่งยืน [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
23.02.2019
  • LOADING...

ในช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมาเราได้นำเสนอเนื้อหาของกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพไปมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มสตาร์ทอัพที่ได้ร่วมงานอยู่ในพอร์ตโฟลิโอของ AIS The StartUp ที่เราได้พูดคุยกับเหล่าสตาร์ทอัพจากหลากหลายวงการ ทั้งด้านการศึกษา การเงิน หรือแม้แต่กลุ่มไลฟ์สไตล์ ซึ่งนับได้ว่าเป็นความหลากหลายที่ครบในทุกแวดวงที่จะสามารถเติบโต ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยี และแนวคิดที่สร้างสรรค์

 

นี่คืออีกครั้งที่เราได้นั่งพูดคุยกับ 3 สตาร์ทอัพที่ถือว่าไม่ใช่มือใหม่ แต่เป็นสตาร์ทอัพที่ผ่านประสบการณ์ในการทำธุรกิจมาแล้ว และเมื่อถึงวันที่ต้องขยับขยายเติบโต การจับมือกับองค์กรที่ทุ่มเทสนับสนุนด้านนี้อย่างเอไอเอสจึงเป็นสิ่งที่เราอยากพูดคุยลงรายละเอียดว่าอะไรคือเหตุผลในการเข้ามาร่วมงานกับ AIS The StartUp และธุรกิจของแต่ละคนน่าสนใจมากน้อยแค่ไหน

 

 

การทำงานในสเกลที่ใหญ่มากขึ้นคือการอยู่ในภาคอุตสาหกรรมกับ ENRES สตาร์ทอัพที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด THE STANDARD ชวนคุยกับ กฤษฎา ตั้งกิจ VP of Business Development

 

จุดเริ่มต้นของ ENRES คืออะไร

จุดเริ่มต้นของ ENRES หลักๆ ก็เป็นซีอีโอ เราก็จบทางด้านพลังงานมา จบ Solar Engineer มารวมกับฝั่งของผมตอนที่อยู่อเมริกา พอกลับมาที่นี่แล้วก็มาจอยกันว่ามันมีปัญหาอะไรที่จัดการได้ด้วยพลังงานบ้าง ซึ่งหลักๆ คือปัญหาเรื่องการจัดการพลังงาน ปัจจุบันใช้คนค่อนข้างเยอะ ข้อมูลมีเยอะมาก แต่มันไม่มีการเอาส่วนนี้เข้าไปช่วย มันกลับใช้คนเยอะขึ้นเรื่อยๆ แล้วที่ปรึกษาอะไรพวกนี้ก็หายากขึ้นเรื่อยๆ ก็เลยเป็นจุดเริ่มต้นของ ENRES ขึ้นมา

 

ทำไมจึงเลือกสร้างแพลตฟอร์มให้ไปอยู่ในที่ใหญ่ๆ

หลักๆ ถ้าเป็นเรื่องพลังงานแล้ว ค่าไฟตามบ้านอย่างมากก็หลักพัน อิมแพ็กมันจะน้อย แต่ถ้าเป็นอาคารหรือโรงงาน เขามีพลังงานที่สูญเสียไปเยอะมากจากการที่เขาตั้งค่าไม่ถูก อย่างเช่นระบบทำความเย็น คนดีไซน์ระบบเป็นคนละคนกับคนติดตั้ง คราวนี้มันก็เลยเกิดช่องว่างขึ้นมาว่าสมมติว่าคนดีไซน์เขาก็ดีไซน์ด้วยเงื่อนไขที่ว่าตึกหนึ่งมีคนอยู่ประมาณ 100 คน แต่จริงๆ มีอยู่แค่ 60 คน แต่คนทำงานก็ทำตามที่เขาดีไซน์มาสำหรับ 100 คน แสดงว่าเราเปิดแอร์ทิ้งให้ 40 คนฟรีๆ สิ่งที่เราไปทำตรงนี้มันเป็นปัญหาค่อนข้างเยอะ ก็เลยไปลบ 40% ตรงนั้น ซึ่งมันไม่ได้ทำให้ตึกเย็นน้อยลงเลย แต่ทำให้พลังงานคงใช้น้อยลง ก็เลยเป็นจุดที่เข้า เพราะว่าอิมแพ็กมันใหญ่กว่าด้วย ถ้าสมมติเราลดค่าไฟได้เยอะมันก็เกี่ยวเนื่อง เพราะเป็นแผนพัฒนา PPP ที่เป็น Power Plan ของประเทศ เพราะว่าการใช้พลังงานของประเทศมันเยอะขึ้นเรื่อยๆ เลยต้องสร้างโรงไฟฟ้า ต้องไปซื้ออะไรโน่นนี่นั่นเยอะขึ้น แต่ถ้าเราทำให้อาคารและโรงงานอยู่ได้นานก็สามารถที่จะลดลงทั้งประเทศได้ มันก็จะช่วยในส่วนของตรงนี้ด้วย

 

เทคโนโลยีการทำงานหรือระบบของ ENRES ทำงานอย่างไร

หลักๆ ของเราจะง่ายๆ ก็จะเป็นอุปกรณ์ที่เป็น Internet of Things (IoT) ติดเพื่อที่จะเก็บค่าข้อมูลตามเซนเซอร์ แต่ถ้าคุณมีระบบอยู่แล้ว เราก็ดึงค่าระบบขึ้นมาบนระบบ ระบบภาพของเราก็จะประมวลผล มีทั้งระบบสถิติ ระบบผู้เชี่ยวชาญ เหมือนแปลงที่ปรึกษาเป็นโปรแกรมไปช่วยเขา จะมีพวก Machine Learning เข้าไปช่วยให้ศึกษาพฤติกรรมให้มากขึ้น สิ่งที่จะบอกเขาก็คือเราจะทำออกมาในรูปแบบง่ายๆ เราบอกว่าประสิทธิภาพในปัจจุบันของเขาเป็นยังไง จะทำยังไงให้มันดีขึ้น แล้วอนาคตข้างหน้ามันจะมีอยู่ต่อไปได้หรือเปล่า เราก็จะตอบโจทย์ง่ายๆ 3 ข้อนี้ที่จะบอกเขา

 

ในเชิงความแม่นยำด้านการคำนวณล่ะ

เหตุผลที่เรามี AI Machine Learning เพราะว่าถ้าตามเชิงสถิติหรือตามผู้เชี่ยวชาญ อันนี้ความแม่นยำจะค่อนข้างเป๊ะ ใช้ผู้เชี่ยวชาญตามมาตรฐานทั่วไป อันนี้ความแม่นยำก็ระดับหนึ่งเลย แต่ว่าพอมันเป็น Machine Learning ก็คือเราต้องเรียนรู้พฤติกรรมของตึกว่าจริงๆ แล้วตึกมันจะลึกลงไป เปอร์เซ็นต์ที่ทำก็เหวี่ยงครับ ขึ้นอยู่กับสภาพตึกนั้นว่าเป็นยังไง ข้อมูลเขามีครบหรือเปล่า เพราะปัญหาที่เจอหลักๆ เลยก็คือข้อมูลในตึก ในอาคาร ข้อมูลโรงงานในเมืองไทยยังไม่ครบ ทีนี้เราก็ต้องเข้าไปติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเพื่อให้ได้ข้อมูลออกมา แต่ความแม่นยำของเรนจ์ก็มีไปเรื่อยๆ ครับ 80-90% ก็มี เราก็พยายามทำต่อไป เพราะ Machine Learning ก็คือยิ่งทำเยอะมันก็ยิ่งแม่นขึ้นเรื่อยๆ

 

ในแง่ประโยชน์ของคนที่ใช้บริการ นอกจากให้เขาใช้พลังงานให้ถูกต้องแล้วยังต้องแก้จุดอื่นอีกไหม

จริงๆ มันจะมี 3 ส่วนที่ไปแก้หลักๆ อันดับแรกก็คือช่วยเขาลดพลังงาน แต่ว่าอันดับที่สองที่ไปช่วยเขาจริงๆ เราจะเห็นในอุตสาหกรรมค่อนข้างเยอะกว่า คือพอเราไปวัดการทำงานของเครื่องจักร เราจะรู้ได้ว่าเครื่องจักรอันนี้จะเสียเมื่อไร จริงๆ มันเป็นเรื่องใหญ่มากกว่า เพราะถ้าเครื่องจักรเขาดับเมื่อไร มันคือโปรดักชันที่เขาเสียไป อันนี้เป็นเรื่องที่โรงงานกังวลมากกว่า อันนี้ก็จะเป็นจุดที่สองที่เราไปช่วยเขา เขาก็จะรู้ได้ว่าเครื่องจักรจะเสียเมื่อไรในอนาคต หรือว่าใกล้จะเสียแล้ว มันก็จะมีเคสที่เราไปช่วยตึกที่เป็นเครื่องทำน้ำเย็น เหมือนระบบข้างในมันก็ตรวจจับได้ว่าแพตเทิร์นการกินไฟของเขาแปลกๆ คือระบบข้างในมันมีความเสียหายขึ้นมา เราก็ตรวจจับได้จากแพตเทิร์นที่แจ้งเตือนก่อน เขาก็ซ่อมได้ก่อนที่จะเสียไปทั้งระบบ ก็เลยเป็นสิ่งที่เราไปช่วยเขาได้ ส่วนที่สามก็จะไปช่วยเพิ่มรายได้ให้ตามอาคารสำนักงานต่างๆ เพราะมันจะมีโมดูลหนึ่งของเราเป็นคุณภาพอากาศ ก็จะไปช่วยบอกเขา เช่น ช่วงนี้ฝุ่นเยอะ สมมติ PM2.5 ขึ้นมา 180 แบบนี้ เดินเข้าตึกมาเราก็จะมีโมดูลฝุ่นที่ไปวัดว่าเดินเข้าตึกมาแล้วเหลือ 60 แสดงว่าจริงๆ แล้วในตึกคุณปลอดภัยนะ ไม่ต้องใส่หน้ากากตลอดเวลา มันก็ช่วยเขาในมุมของคุณภาพอากาศในตึกให้ดีขึ้น คุณภาพชีวิตในตึกดีขึ้น คนสุขภาพดีขึ้น ตึกเขาก็จะแอดวานซ์มากขึ้น ก็จะกลายเป็นตึกที่มีข้อมูลมาแนะนำได้เยอะขึ้น

 

เหมือนเป็นวิตามินของอุตสาหกรรม หมายถึงว่าไม่ต้องกินยาหรือไม่ต้องรอให้เกิดเหตุก่อน คือไปป้องกันก่อน แล้วในไทยมีแพลตฟอร์มหรือการทำระบบอย่างไร

ระบบที่มีอยู่ในปัจจุบันจะเป็นระบบคน คือใช้คนทำ แต่ถ้าเป็นระบบขึ้นมาจริงๆ ในไทยตอนนี้เป็น Monitoring ก็จะไม่มีระบบที่มี Analytics เข้าไป การวิเคราะห์ไม่มี อาจจะเป็นเพราะว่าข้อมูลเยอะ มันก็เป็นความโชคดีของทีมเราด้วยที่มีฝั่งเทคโนโลยีและฝั่งที่เป็นพลังงานมารวมกันแต่พอดี เราคุยกันรู้เรื่อง ซึ่งมันก็ค่อนข้างยาก ซึ่งคนฝั่งพลังงานเองเอาอะไรพวกนี้ไปประยุกต์ใช้ ในโลคัลเลยมันก็จะมีพวกทำ Monitoring ขึ้นมาเรื่อยๆ ครับ แต่ถ้าเป็น AI ไปจับมันก็จะยากขึ้น เพราะอาศัยโดเมนค่อนข้างเยอะที่จะเอาไปใช้

 

แล้วในแง่ของการทำธุรกิจ เรามองว่ามันจะเติบโตหรือขยายไปได้แค่ไหน

จริงๆ ในเมืองไทยมันมีอาคารอยู่ประมาณ 3 หมื่นอาคาร โรงงานประมาณ 1.5 แสน ทั้งหมดเป็นตัวเลขกลมๆ ประมาณ 2 แสนรวมกัน ก็มีโอกาสที่เราจะก้าวเข้าไปหาได้เกือบทั้งหมด เพราะเกือบทุกที่มีปัญหาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตึกใหม่ขนาดไหน ตึกเก่าขนาดไหน มันมีช่องทางให้เขาสามารถมีประสิทธิภาพที่สุด เรามองว่าสิ่งสำคัญที่สุดของธุรกิจคือเขามีข้อมูลอยู่แล้วล่ะ แต่เขาจัดการข้อมูลตรงนี้ไม่ได้ เราไปช่วยให้เขาจัดการข้อมูลตรงนี้ให้มีประสิทธิภาพที่สุด แต่จริงๆ ก็ไม่ได้มองแค่ในเมืองไทยหรอกครับ เพราะว่าสิ่งที่เราทำหลักๆ จะเน้นไปที่สาธารณูปโภค เช่น ระบบทำความเย็น ระบบไฟ ระบบความร้อนอะไรพวกนี้ ซึ่งในภูมิภาคใช้เหมือนกันหมด เพราะฉะนั้นการขยายไปข้างนอกก็เป็นไปได้ เพราะตลาดเมืองไทยมันก็ใหญ่ระดับหนึ่ง แต่มันก็มีความกระจายกัน

 

จุดเริ่มต้นที่เข้ามาอยู่ในพอร์ตโฟลิโอของ AIS The StartUp

เอไอเอสเป็นธุรกิจโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มีคอนเน็กชันที่สามารถไปต่อได้ มีเทคโนโลยีของเอไอเอสที่มี AToT ที่สามารถมาลิงก์กันได้ คิดว่ามันน่าจะร่วมมือกันได้เยอะ หลักๆ ที่เห็นชัดที่สุดก็น่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เป็น AToT สามารถเอามาใช้ได้เลย แล้วเอไอเอสก็มีโครงสร้างพื้นฐานที่เราสามารถใช้ได้ อันนี้คือที่ชัดที่สุด นอกจากนั้นเอไอเอสก็จะมีเรื่องของพาร์ตเนอร์ที่ค่อนข้างเยอะทั้งในและต่างประเทศ อันนี้ก็ช่วยเราผลิตต่อไปได้ ก็เลยจะมองเป็นสองเฟสมากกว่า เฟสแรกก็จะเป็นเรื่องของเทคโนโลยี เฟสที่สองก็จะเป็นการขยายฐานลูกค้า

 

ENRES ดูเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ แต่ว่ายังคงอยู่ในกรุ๊ปของสตาร์ทอัพ อยากรู้ว่าวิธีคิดและวิธีการทำงานเป็นอย่างไร

วิธีการทำงานในบริษัท เนื่องจากตัวผมและผู้ร่วมก่อตั้งทั้งหมดก็เคยทำงานที่อเมริกา เป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่ทำพวก Facebook มา ก็เลยมีคัลเจอร์ที่เป็นสตาร์ทอัพค่อนข้างเยอะในบริษัท อย่างพี่อีกคนหนึ่งก็มาจากสตาร์ทอัพที่มาจากซิลิคอนแวลลีย์ ก็เลยมีคัลเจอร์ที่บิลด์ข้างใน พยายามจะบิลด์ให้เป็นในเชิงสตาร์ทอัพ การคิดทั้งหมดมันก็เลยเป็นโครงการสังเกตมากกว่าว่าจะจัดสเกลออกไปยังไง ซึ่งมันก็เป็นโจทย์ที่ยอมรับว่ายาก เพราะว่าอุตสาหกรรมในเมืองไทยของเราตอนนี้ก็ค่อนข้างที่จะไม่ได้เปิดรับอะไรใหม่ที่สามารถสเกลออกไปเร็ว แต่นี่ก็เป็นช่องทางที่เราเจาะไปใหม่ ก็เป็นอะไรที่เป็นความสนุกของเราเหมือนกัน ตอนนี้ที่เราทำไปทั้งหมดมีร้อยกว่าอาคารครับ มีกรุงเทพฯ เชียงใหม่ และภูเก็ต เนื่องจากมันเป็น IoT แล้ว เราก็เลยไม่ได้ติดว่ามันต้องอยู่ที่ไหน ได้ทุกที่ครับ

 

ตอนที่เข้าไปคุยที่เป็นตึกแล้วมานั่งให้เล่าให้เราฟังว่ามีตัวช่วยนะ มีเทคโนโลยีแบบนี้ เข้าไปใหม่ๆ ต้องทำอย่างไร

เข้าไปใหม่ๆ ก็จะยากอยู่ครับที่เขาจะยอมรับว่าเราจะไปช่วยยังไง ซึ่งสิ่งที่เราใช้ก็คือเคสที่เราเคยทำมา เพราะฉะนั้นจำนวนตึกที่เราเคยทำจะค่อนข้างมีผลเยอะว่าเราเคยทำให้ตึกไหนมาบ้าง มีเคสไหนบ้างที่เราทำสำเร็จ แล้วอีกอันที่เห็นได้ชัดคือเขาเห็นว่าเราไปช่วยให้การจัดการของเขาง่ายขึ้น แต่เหมือนกับ Derealization บริษัทเขา อันนี้เป็นคีย์หลักที่เมื่อทำไปสักพักเราก็จะเห็นภาพมากขึ้นว่ามันเหมือนไปช่วยให้เขามีความดิจิทัลมากขึ้น เมื่อก่อนเขาอาจจะเป็นคนเดินจดมิเตอร์ ตอนนี้ก็ไม่ต้องมีคนเดินจดมิเตอร์แล้ว สมมติเขามีบริษัทที่เป็นสาขา เช่น มีสาขาทั่วประเทศ ปกติใช้คนเดินจดแล้วก็ส่งบิลมา อันนี้เขาก็สามารถดูออนไลน์ได้ตลอด ดูได้ทุกช่วง แล้วก็จะมีการช่วยแก้ไขปัญหาหลักๆ อีกอันก็คืองานสายนี้จะมีการเทิร์นโอเวอร์ค่อนข้างสูง พอมีการเทิร์นโอเวอร์สูงแบบนี้ การมีระบบที่มันอิมเพรสอยู่แล้วก็จะช่วยให้คนใหม่ที่เข้ามาทำตามระบบ มันก็จะช่วยให้ทุกอย่างง่ายขึ้น กึ่งๆ Digital Transformation คือตอนแรกเราเริ่มจาก Unity Saving แล้วพอไปเรื่อยๆ เราจะเห็นว่ามันไปปัญหาอื่น แล้วปัญหานั้นมันใหญ่กว่า

 

 

OneChat เทคโนโลยีเพื่อการเติบโตของธุรกิจ SMEs

สำหรับคนที่จะตอบคำถามต่างๆ ของ OneChat ได้ดีที่สุดคงต้องเป็น วิค-อัครวัฒน์ เศรษฐีเชาวลากุล ซีอีโอบริษัท ทัชคอร์ จำกัด สตาร์ทอัพไทยผู้สร้างสรรค์ระบบตอบแชตอัตโนมัติ OneChat  

 

การเดินทางของ OneChat

“จุดเริ่มต้นเลยคือตัวผมเองก็ทำธุรกิจออนไลน์มาหลายปีแล้ว แล้วพอเมืองไทยเริ่มโตก็เลยมองเห็นปัญหาว่าการทำธุรกิจออนไลน์หรือการลงโฆษณาออนไลน์สำหรับธุรกิจต่างๆ มันจะมีประเด็นที่ตอนนี้ลูกค้าไม่โทรศัพท์หาธุรกิจแล้ว ลูกค้าชอบแชต ตัวคุณเองก็เหมือนกัน ตัวผมเองก็เหมือนกัน ทุกคนจะไม่โทร แต่แชตเข้าไป พอมีเยอะมากขึ้น ผู้ประกอบการเขาก็ไม่สามารถตอบแชตลูกค้าในทันทีได้ อาจเสียโอกาสในการขายไป ถ้าจะจ้างคนมาตอบก็อาจไม่คุ้มค่า อย่างร้านอาหาร คลินิกโรงแรม สปา พวกนี้เขาลงโฆษณาออนไลน์ก็จะมีลูกค้าทักเยอะมาก พอเทคโนโลยี AI กับแชตบอตเริ่มมา เราก็เลยพัฒนาแพลตฟอร์มที่ใครก็สามารถสร้างเอเจนต์ไปตอบลูกค้าตัวเองได้ ตั้งคำถามแล้วสร้างคำตอบทิ้งเอาไว้ มันก็เชื่อมต่อตัวมันเอง เชื่อมต่อกับ LINE เชื่อมต่อกับ Facebook ได้”

 

สำหรับช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา นับได้ว่าทิศทางและฟีดแบ็กการเติบโตของ OneChat เป็นไปได้อย่างดี ด้วยความสามารถที่การันตีจากการเป็นผู้ชนะจากเวทีสตาร์ทอัพทั้งในและต่างประเทศ มีการทำการตลาดในออนไลน์ร่วมด้วย ทำให้ OneChat มีตัวเลขเติบโตของผู้ใช้งานกว่า 4 ล้านคน และมีผู้ใช้งานแอ็กทีฟต่อวันกว่า 3 แสนคน

 

การสร้างความรับรู้ต่อลูกค้าเกิดขึ้นได้อย่างไร

“ผมก็เคยออกสื่อมาก่อน เคยออก TNN เคยชนะของ NIA เคยชนะ Startup Thailand ก็ได้สื่อจากฝั่งนั้นมา แล้วก็มีทางออนไลน์มาร์เก็ตติ้งที่ทำ แล้วก็มีไวรัลมาร์เก็ตติ้งที่เราทำร่วมด้วย”

 

คุณมองทิศทางของอีคอมเมิร์ซเป็นอย่างไร

“อีคอมเมิร์ซมันยังไปได้อีกไกลแค่ไหน ผมว่ามันเริ่มถึงจุดที่ว่าการเติบโตมันไม่ก้าวกระโดด แต่มันเป็นการเติบโตที่ยั่งยืนแล้ว ตอนแรกมันจะเป็นตลาดที่ว่าใครเข้ามาก็เล่นได้ ทำไม่ยาก แค่เอาของไปขายก็มีคนซื้อ แต่ตอนนี้มันเริ่มเป็นระบบมากขึ้น คู่แข่งมันเยอะมากขึ้น แล้วอีคอมเมิร์ซจากต่างประเทศก็เริ่มเข้ามา ทางจีนก็เริ่มเข้ามาเยอะ เข้ามาก็มาแข่งกับอีคอมเมิร์ซไทย ซึ่งมันก็ทำให้การก้าวกระโดดมันไม่เหมือนกับเมื่อก่อน แต่ตอนนี้คือธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่เขาทำอยู่ก็ต้องการระบบแล้ว เพราะเขาต้องทำแมนวลให้ได้ เขาต้องการลดต้นทุน ลดสเกล เราก็ไปเป็นเครื่องมือที่ช่วยธุรกิจอีคอมเมิร์ซแล้ว จริงๆ ลูกค้าของเราไม่ใช่แค่อีคอมเมิร์ซ แต่เป็น SMEs ที่ใช้ออนไลน์มาร์เก็ตติ้งที่มี Facebook Page ที่มี LINE ID เราเข้าไปช่วยตรงนี้”

 

จากตัวเลขและการเติบโตที่พูดไปก่อนหน้านี้ ทำให้เราอยากรู้หลักการทำงานของ OneChat ให้มากขึ้น และเมื่อได้พูดคุยก็ทำให้เรารู้ว่าการเติบโตนี้เกิดขึ้นจากทีมงานจำนวน 4 คนเท่านั้น ตามรูปแบบของสตาร์ทอัพที่มีความคล่องตัว มีการแบ่งหน้าที่กันดูแลในเรื่องการบริหารงาน ดูแลระบบปฏิบัติการ รวมถึงทีมขาย และเมื่อเราถามถึงความแตกต่างของ OneChat ผู้บริหารอย่างอัครวัฒน์ได้ให้ความเห็นไว้ดังนี้

 

“ในเมืองไทย ถ้าเป็นแชตบอตแบบแพลตฟอร์มก็มีแต่ Self Service ไม่กี่เจ้า ส่วนใหญ่บอกว่าทำแชตบอตแบบแพลตฟอร์ม แต่จริงๆ แล้วเขาเป็นเอเจนซี พอคุณไปจ้างเขาทำแชตบอต เขาจะคิดคุณหลักแสน แต่ OneChat เป็น Self Service ซึ่งเราค่าบริการคิดเป็นรายเดือน เริ่มต้นที่ 900 บาท เพราะ OneChat ทำมาเพื่อ SMEs โดยเฉพาะ การใช้งานง่ายมาก ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที พอตั้งค่าเสร็จก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว มันจบแล้วแค่ครั้งเดียว”

 

และเมื่อธุรกิจกำลังมีลู่ทางที่จะเติบโต ทำให้ OneChat ตัดสินใจเข้าร่วมพิตชิงกับ AIS The StartUp ด้วยวิสัยทัศน์ที่มองเห็นเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีการทำธุรกิจที่สอดคล้องกัน อัครวัฒน์ยังกล่าวต่อว่าในปีนี้แผนงานจะมีการขยายสเกลในไทย และมีแผนที่จะขยายเพิ่มเติมไปในต่างประเทศอย่างเวียดนาม อินโดนีเซีย อินเดีย บราซิล ซึ่งเป็น 4 ประเทศที่นับว่ามีระบบนิเวศในการทำธุรกิจออนไลน์ใกล้เคียงกับประเทศไทย

 

 

จากธุรกิจแชตบอต เราอยากพาคุณเดินทางไปกับ HAUPCar แพลตฟอร์มที่ตอบสนองหลักการ Car Sharing ผ่านการพูดคุยกับผู้บริหารหนุ่ม กฤษฏิ์ วิชัยวัฒนาพาณิชย์ ประธานกรรมการบริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ฮ้อปคาร์ จำกัด ผู้ผลิตแพลตฟอร์มและให้บริการ Car Sharing รายแรกของไทย

 

“คือ HAUPCar เราเป็นผู้ให้บริการ Car Sharing คนส่วนใหญ่จะมองว่า Car Sharing ต่างกับรถเช่ายังไง เราต่างกันด้วยระบบของการบริการ รถเราจะจอดอยู่ตามจุดต่างๆ ที่เข้าถึงง่าย มี 200 จุดทั่วกรุงเทพฯ เพื่อให้คนสามารถไปเช่ารถได้รายชั่วโมง รายนาที คนจะสงสัยทำไมให้เช่ารถรายนาที สำหรับโมเดลนี้พัฒนามาพร้อมกับพวก BTS และ MRT หมายความว่าเวลา BTS และ MRT มันขยายไปทั่วเมือง เวลาลง BTS คนก็อยากขับรถไปเจอลูกค้า หรือว่าไปซื้อของก็คือต้องใช้รถ ณ สถานีนั้น อย่างคอนโดฯ ที่ไม่มีที่จอดรถ 30% เราก็เอารถ Car Sharing ที่มีระบบเปิด-ปิดผ่านมือถือได้ Instant Booking Instant Unlock ไปไว้ใต้คอนโดฯ ลูกบ้านที่อยู่คอนโดฯ แล้วไม่อยากซื้อรถ ทุกวันก็ใช้ BTS และ MRT อยู่แล้ว ลงมาข้างล่างก็มีรถส่วนกลางจอดอยู่คันหนึ่ง ใครก็ได้ในคอนโดฯ นั้นสามารถที่จะปลดล็อกรถผ่านมือถือได้ จะใช้ไปไหนก็ได้ ใช้ในช่วงสุดสัปดาห์ ใช้เป็นชั่วโมงหรือเป็นรายวันก็ได้”

 

มิติใหม่ของการบริการรายชั่วโมง รายนาที

“ค่าบริการเราก็เก็บเป็นชั่วโมงครับ เราจะไม่เก็บค่าเช่าเป็นรายวัน เพราะว่าเราก็อยากจะทำราคาที่ค่อนข้างโปร่งใส เราก็เก็บเป็นรายชั่วโมงบวกกับค่าระยะทาง ซึ่งค่าระยะทางเราก็จะมีตั้งแต่ขับใกล้ ขับไกล ยิ่งขับไกลเราก็จะให้ราคาถูกมาก เหมือนค่าน้ำมันเลย แน่นอนคือตรงนี้ก็จะมีค่าเสื่อมบวกเข้าไปนิดหน่อย แต่ว่าไม่เยอะมาก มีความสมเหตุสมผล”

 

ร่วมมือกับใครบ้าง เพราะว่าถ้าเกิดธุรกิจนี้ก็ต้องมีปริมาณรถที่เยอะเหมือนกัน

“คือจริงๆ แล้วในกรุงเทพฯ เนี่ย เรามีรถส่วนบุคคลอยู่ประมาณ 5 ล้านคัน ก็คือส่วนที่เป็นรถ Freed รถ Leasing ประเภทที่บริษัทเช่า หลักแสนเหมือนกันนะครับ ตอนนี้เราก็เลยร่วมมือกับบริษัทที่ปล่อยเช่าให้บริษัทรายใหญ่ ก็เป็นพวกบริษัท Leasing นั่นเองครับ ก็คือเอารถพาร์ตเนอร์มาติดตั้งระบบของ HAUPCar เพื่อปล่อยเช่าให้คนทั่วไปได้ใช้เหมือนกัน”

 

ล้านคันที่ว่านี้ก็คือคนทั่วไป สมมติเราไม่มีรถไปลงทะเบียน เราก็จะอยู่ในระบบนี้

คือตอนนี้นะครับ HAUPCar กำลังจะเปิดบริการใหม่ คือก่อนหน้านี้เราก็จะเอารถของบริษัทรถเช่าทั่วไปนี่แหละมาปล่อยเช่า มาเข้าร่วมแพลตฟอร์มนี้ได้ หาเงินผ่านแพลตฟอร์มนี้ได้ เอารถตัวเองมาปล่อยเช่าให้ลูกบ้านหรือว่าให้คนรู้จัก

 

แล้วมันต้องมีการทำ HAUPCar?

คืออันนี้ต้องบอกว่า Car Sharing มันมีมานานแล้ว ถ้าเกิดพูดถึงจุดกำเนิดมันก็คงเป็นประเทศที่ฟรีมากๆ พวกสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมันเกิดมาประมาณ 30 ปีแล้ว แต่เมื่อปี 2015 ที่ผมทำ HAUPCar ขึ้นมา ไม่มีใครรู้จักคำว่า Car Sharing เลย ผมก็เลยคิดว่าทำไมถึงไม่มีนะ ในประเทศที่รถติดขนาดนี้ คนชอบใช้รถขนาดนี้ แต่จริงๆ แล้วเป็นไปไม่ได้หรอกว่าคนเราจะขับรถ 24 ชั่วโมง คือรถเราซื้อมาคันหนึ่ง คนขับแท็กซี่ขับได้เต็มที่ก็ 10 ชั่วโมง อีก 14 ชั่วโมงนี้ไม่มีคนใช้ ทำไมไม่มาแชร์กัน เราซื้อมาคันละล้าน เอาจริงๆ เราเสียมูลค่าไป 5 แสน ซึ่งก็คือครึ่งหนึ่ง ไม่มีคนใช้แล้วทำไมไม่เอามาติดระบบเพื่อแชร์กันใช้ ซึ่งการที่ติดระบบแล้วทำให้คนแชร์กันใช้ แน่นอนว่าคนที่ซื้อรถก็น้อยลง แทนที่แต่ละคนจะมีรถของตัวเองเต็มไปหมดเลย หาที่จอดรถไม่ได้ ก็ไม่ใช่แล้ว เพราะว่าคันหนึ่งก็แบ่งกันใช้ได้หลายคน

 

การตอบรับของคนที่มาอยู่ในแพลตฟอร์มนี้เป็นอย่างไรบ้าง

ตอนนี้เรามีคนลงทะเบียนประมาณ 25,000 ยูสเซอร์ แล้วก็มีคนที่แอ็กทีฟอยู่ประมาณ 5,000-7,000 คนต่อเดือน แต่จำนวนรถของเราก็มีทั่วกรุงเทพฯ ประมาณ 200 คัน ตอนนี้เราจะสเกลประมาณ 3,000 คัน

 

อยากรู้ว่าพฤติกรรมของคนที่มาใช้บริการนี้ โดยหลักใหญ่ๆ เขาใช้อย่างไรบ้าง

คือผมจะแบ่งเป็น 2 ประเภท จะมีประเภทที่ขับในเมืองกับขับในต่างจังหวัดนะครับ พวกที่ขับในเมืองเนี่ย สมมติว่ามีรถจอดอยู่ข้างหน้าคอนโดฯ ก็ขับไปซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่อิเกีย หรือว่าเพื่อไปช้อปปิ้งอะไรก็ว่าไป อันนี้คือขับในเมืองนะครับ แล้วก็จะมีประเภทที่ว่าช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์อยากไปพัทยา ไปหัวหิน ก็จะมอง Car Sharing เป็นเหมือนรถเช่าทั่วไป ซึ่งแน่นอนว่าเราก็ต้องตบราคาให้มันแข่งขันได้กับรถเช่าทั่วไปเหมือนกัน แต่สิ่งที่เราไม่เหมือนกับรถเช่าทั่วไปคือสามารถรับรถได้หน้าคอนโดฯ เลย ลงมาจองแล้วไปได้เลย

 

การใช้บริการคือต้องผ่านแอปพลิเคชัน?

ใช่ครับ คือเราต้องเอาใบขับขี่มาใช้ มาตรวจประวัติ พอลงทะเบียนเสร็จก็สามารถใช้มือถือเพื่อจอง ปลดล็อกรถ และคืนรถได้ในมือถือเลย ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็จะถามว่าแล้วกุญแจหายไปไหน ซึ่งตัวนี้เป็นตัวที่ HAUPCar ผลิตและพัฒนาขึ้นมา ก็คือเราจะไปคอนฟลิกต์กับตัวรถเมื่อรับ ทำให้ไม่มีกุญแจเลย

 

รถทุกคันที่อยู่ในระบบไม่มีกุญแจ แต่ใช้การปลดล็อกจากแอปพลิเคชัน?

สามารถเดินไปแล้วใช้มือถือปลดล็อกรถได้เลย สตาร์ทรถได้ คนส่วนใหญ่ถามว่าแล้วจะสตาร์ทรถยังไง ก็จะมีสองประเภท ประเภทแรกก็คือเป็น Push Start อันนั้นก็เป็นปกติอยู่แล้ว แต่ประเภทที่ต้องเสียบกุญแจแล้วไขก็จะมีการคอนฟลิกต์ แล้วมันก็จะล็อกอยู่ตรงนั้นนะครับ ก็สามารถสตาร์ทได้เลย ซึ่งระบบพัฒนาด้วยบริษัท HAUPCar ของคนไทยเองนี่แหละครับ ซึ่งแน่นอนว่าเราต้องแข่งกับชาวต่างชาติที่มีคนที่พยายามพัฒนาระบบเหมือนกัน

 

ในบ้านเรามีเยอะไหม หมายถึงตัวแอปพลิเคชันหรือบริการแพลตฟอร์มที่ HAUPCar ใช้

คือเราเป็นเจ้าแรก แล้วทุกวันนี้ก็ยังไม่มีใครทำแอปพลิเคชันได้ในบ้านเรา ส่วนใหญ่ถ้าเกิดจะพัฒนาได้ เขาก็จะไปหาข้อมูลจากประเทศอื่นที่พัฒนามาแล้วพยายามเอามาใช้มากกว่า


คือผมมองว่าประเทศไทยเหมาะมากกับสำหรับ Car Sharing เพราะว่าทุกคนชอบใช้รถอยู่แล้ว ชอบขับรถอยู่แล้ว แต่ที่แน่นอนก็คือมันก็มีหลายชาติมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เราขยายสเกลไปนะครับ ซึ่งตอนนี้ต้องบอกว่าถ้า HAUPCar ไม่เริ่ม 2 ปีที่แล้วเราคงโดนตีล้อมเมืองเรียบร้อยแล้ว เพราะว่าหลายๆ ประเทศก็มี Car Sharing แล้ว สิงคโปร์ ฮ่องกง มาเลเซีย อินโดนีเซีย ต่างก็มี Car Sharing ต้องบอกว่าเริ่มหลังจาก HAUPCar มา 1-2 ปีอะไรอย่างนี้ครับ โดยที่บริษัทต่างชาติเข้าไปลงทุน คือผมก็รู้สึกว่าสตาร์ทอัพที่เกี่ยวกับคอมมูนิตี้ส่วนใหญ่จะมาจากสิงคโปร์และญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของการขนส่งอยู่แล้ว ผมก็เลยมองว่าทำไมไม่มีบริษัทคนไทยที่ทำคอมมูนิตี้เอาตัวไปแข่งกับชาวบ้านเขาบ้าง ซึ่งเราก็มองว่าเราจะขยายไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อน

 

การเข้ามาร่วมในพอร์ตโฟลิโอของ AIS The StartUp เกิดขึ้นได้อย่างไร

เริ่มต้นจากการมองหา Mainport เราก็มองว่าเราจะมี Mainport ที่มาช่วยไกด์ ช่วยคอนเน็กสตาร์ทอัพอย่างเราที่ไม่ค่อยรู้จักใคร แล้วก็ลองเทียบ AIS The StartUp กับหลายๆ ที่ ซึ่งแน่นอนคือของ HAUPCar เอง เราไม่ค่อยมีเวลาที่จะลงไปอยู่ในเทรนนิ่งคลาสขนาดนั้น เรามองว่าเราอยากจะออกไปหาพาร์ตเนอร์ ไปคุยกับยูสเซอร์มากกว่า เราก็เลยมองหาอินฟลูเอนเซอร์ประมาณ AIS The StartUp ที่พิตช์แล้วไม่ได้บังคับให้สตาร์ทอัพจำเป็นต้องมาเข้าคลาสทั้งเดือน แต่ว่าช่วยคอนเน็ก ช่วยสตาร์ทอัพจริงๆ ในการเติบโต ซึ่งอย่างที่เราได้มาแล้วเนี่ย ก็เข้ามาคุยกับเอไอเอสแล้วเก็บค่าคอมมิชชันน้อยหน่อย แล้วก็หาเรื่องคอนเน็กชัน เราก็ได้เรตที่ถูกกว่า ถ้าเกิดเรามาคุยแบบไม่ได้อยู่ใน AIS The StartUp เพราะว่าเอไอเอสก็คอนเน็กชันเยอะอยู่แล้ว ทั้งในบริษัทระดับคอร์ปอเรตหรือว่าจะเป็นบริษัทสตาร์ทอัพด้วยกันเอง เจ้าที่ดังๆ หลายเจ้าในเอไอเอสที่เป็นสตาร์ทอัพรุ่น 5 ปีที่แล้วก็อยู่ในเอไอเอสแล้ว เราก็เลยเข้ามาเพื่อที่จะได้เก็บคอนเน็กชัน แต่แน่นอนว่าเวลาของสตาร์ทอัพบางทีมันสำคัญว่าเราจะเอาเวลาไปทำอะไรบ้าง ซึ่ง AIS The StartUp ผมมองว่ามันไม่ได้ต้องให้สตาร์ทอัพไปตั้งบูธอะไรขนาดนั้น เราจะได้เอาเวลาไปทำงานจริงๆ มากกว่า คือเราเองก็เคยใช้เอไอเอส แต่เราก็ไม่เคยเจอซีอีโอ เมื่อวานที่เจอก็นั่งคุยกันว่าเป็นยังไงบ้าง อย่างผมเองก็อยากจะให้ข้อเสนอแนะที่เป็น Pain Point ของสตาร์ทอัพจริงๆ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เป็นสิ่งที่ได้จากการเข้ามาร่วม AIS The StartUp

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising