×

ถอดรหัสพอร์ตการลงทุน (ชีวิต) ของ ‘สุขวัฒน์ ประเสริฐยิ่ง’ CIO ของ เอไอเอ ประเทศไทย ชายผู้เลือกสรรเฉพาะการลงทุนที่คุ้มเสี่ยง [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
05.08.2019
  • LOADING...
AIA CIO

HIGHLIGHTS

5 Mins. Read
  • สุขวัฒน์ ประเสริฐยิ่ง สั่งสมประสบการณ์ด้านการเงินการลงทุนมากว่า 20 ปี ก่อนจะก้าวมารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายลงทุน (Chief Investment Officer) เอไอเอ ประเทศไทย 
  • หน้าที่หลักของสุขวัฒน์คือกำหนดกลยุทธ์และวางแผนการลงทุน รวมถึงการจัดสรรพอร์ตการลงทุนและการบริหารสินทรัพย์ วางกลยุทธ์การขยายผลตอบแทนบนพื้นฐานการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดจากการลงทุน และเมื่อเอไอเอมีนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตรูปแบบใหม่ในชื่อ ยูนิต ลิงค์ (Unit Linked) หรือประกันชีวิตควบการลงทุน ซึ่งกองทุนสำหรับลูกค้ายูนิต ลิงค์ ผ่านการคัดสรรอย่างดีโดยมีสุขวัฒน์เป็นหนึ่งในผู้คัดเลือก มันจึงคุ้มค่าที่จะสละเวลามาศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจซื้อ 

ประโยคเชยๆ ที่ว่า ‘การลงทุนมีความเสี่ยง แต่การไม่ลงทุนเลยกลับเสี่ยงยิ่งกว่า’ เป็นสัจธรรมที่นักลงทุนทุกคนทราบกันดี แต่ใช่ว่านักลงทุนทุกคนจะกล้าลงทุนกับทุกเรื่องในชีวิต เว้นเสียแต่ว่าเขาผู้นั้นจะมีวิสัยทัศน์ต่างจากคนอื่น จึงมองเห็น ‘กำไร’ ที่คุ้มมากพอที่จะเสี่ยง

 

เหมือนกับที่ สุขวัฒน์ ประเสริฐยิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุน (Chief Investment Officer) เอไอเอ ประเทศไทย มองทุกสเตปของชีวิตเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า หลังจบคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และทำงานเป็นผู้สอบบัญชีได้ระยะหนึ่ง สุขวัฒน์ต่อยอดทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลไปลงทุนเพิ่มเติมด้วยการศึกษาต่อปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเวสต์จอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เรียกว่านำแพสชันที่มีควบรวมกับทักษะเฉพาะทางเพื่อเป็นใบเบิกทางสู่ ‘ผู้จัดการกองทุน’

 

สุขวัฒน์เริ่มทำงานด้านการเงินการลงทุนในตำแหน่ง Executive Trainee และได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการกองทุนที่บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนทิสโก้ ก่อนจะได้รับโอกาสร่วมงานกับ กรณ์ จาติกวณิช ที่บริษัทหลักทรัพย์ เจ.เอฟ. ธนาคม จำกัด ถือเป็นช่วงที่ได้พิสูจน์ความสามารถอย่างมาก เพราะได้รับหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนบริหารพอร์ตลูกค้าสถาบันพอร์ตใหญ่ๆ

 

หากวิเคราะห์พอร์ตการทำงานด้านการลงทุนของสุขวัฒน์ ต้องบอกว่าเป็นพอร์ตที่เติบโตแบบก้าวกระโดด หลังออกจากบริษัทหลักทรัพย์ เจ.เอฟ. ธนาคม จำกัด สุขวัฒน์เข้ารับตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการและผู้จัดการกองทุนอาวุโสของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แอสเซท พลัส จำกัด ดูแลรับผิดชอบด้านการบริหารสินทรัพย์ของผู้ลงทุนรายใหญ่ ก่อนจะเข้ารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่สายการลงทุนของบริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน แมนูไลฟ์ (ประเทศไทย) และได้เลื่อนตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดูแลการบริหารองค์กร และรับผิดชอบการบริหารกองทุนรวมและกองทุนส่วนบุคคล

 

นั่นคือตำแหน่งสุดท้ายก่อนที่สุขวัฒน์จะตัดสินใจร่วมงานกับเอไอเอ ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2554 ในตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายลงทุน และผู้อำนวยการสายการลงทุนตราสารหนี้ รับผิดชอบฝ่ายลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่าพอร์ตการลงทุนของเอไอเอ ด้วยการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม 

 

AIA CIO

 

“ย้อนกลับไปวันที่ผมตัดสินใจเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเอไอเอ ผมมองว่าเอไอเอเป็นบริษัทประกันชีวิตชั้นนำของประเทศ ในขณะนั้นก็ถือเป็นเจ้าใหญ่สุดในตลาด และคงความเป็นเบอร์หนึ่งจนถึงปัจจุบัน ในสายการลงทุน พอร์ตการลงทุนของเอไอเอในขณะนั้นมีมูลค่าประมาณ 650,000 ซึ่งเป็นขนาดที่ใหญ่มาก แม้ในวันนั้น บริษัท เอไอเอ จะมีเรื่องของความสำเร็จมากมายให้ชาวเอไอเอภาคภูมิใจ แต่ในอนาคตข้างหน้าเอไอเอก็ยังคงมีเรื่องราวของความสำเร็จรออยู่อีกมาก และผมเองก็อยากเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จเหล่านั้น ผมจึงตัดสินใจเข้าร่วมงานกับเอไอเอ”  ปัจจุบันพอร์ตลงทุนของบริษัทฯ มีมูลค่าประมาณ 850,000 ล้านบาท ซึ่งลงทุนในตลาดพันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้ประมาณ 85% ลงทุนในหุ้น 12% และ 3% เป็นอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็นอาคารเอไอเอ สาทร ทาวเวอร์ และอาคารเอไอเอ แคปปิตอล เซ็นเตอร์

 

ปัจจุบัน สุขวัฒน์ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายลงทุน รับผิดชอบในการกำหนดกลยุทธ์และวางแผนการลงทุน การจัดสรรพอร์ตการลงทุนและการบริหารสินทรัพย์ของบริษัท รวมถึงการวางกลยุทธ์การขยายผลตอบแทนเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดของการลงทุน บนพื้นฐานการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม หรือกล่าวได้ว่า กลยุทธ์และการวางแผนการลงทุนนั้นๆ มุ่งแสวงหาการลงทุนที่มีความมั่นคงของเงินต้นและผลตอบแทนการลงทุน เพื่อให้ลูกค้าได้รับผลตอบแทนตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ หรือมากกว่าที่ระบุไว้นั่นเอง

 

กลยุทธ์การวางแผนการลงทุนของเอไอเอ: เน้นลงทุนปัจจัยพื้นฐาน พร้อมวางรากฐานให้มั่นคงด้วยทีมที่มากประสบการณ์

เมื่อถามถึงแนวทางการบริหาร และการวางแผนการลงทุนของเอไอเอ ในยุคที่เขาเป็นหนึ่งในแม่ทัพสำคัญของทีม สุขวัฒน์กล่าวว่า เอไอเอเน้นลงทุนปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย “เพราะเงินที่นำมาลงทุนเป็นเงินที่เอไอเอสัญญากับลูกค้าไว้ว่าเมื่อถึงกำหนดสัญญา หรือเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นกับผู้ถือกรมธรรม์ เราต้องจ่ายเงิน จะบอกว่าไม่มีจ่ายไม่ได้ ดังนั้นเอไอเอจะมองกันเป็นแผนระยะยาว และลงทุนในแง่ความมั่นคง อย่างไรก็ตาม เรามักจะสามารถหาประโยชน์จากความผันผวนของตลาดได้อยู่บ่อยๆ

 

“เมื่อเราเน้นการลงทุนในระยะยาว เราจึงให้ความสำคัญกับการทำงานวิเคราะห์เชิงลึกก่อนการลงทุน เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการพิจารณาลงทุน และกำหนดกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสม

 

“สิ่งสำคัญที่ทำให้เราเป็นบริษัทที่มั่นคงที่สุด คือเราทำงานเป็นทีม โดยกลุ่มบริษัทเอไอเอ (AIA Group) มีการใช้และแลกเปลี่ยนทรัพยากรร่วมกัน เอไอเอมีสำนักงานใน 18 ประเทศทั่วเอเชียแปซิฟิก เรามีทีมนักวิเคราะห์ ทีมผู้จัดการกองทุน ในแง่ของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เราทำกันตลอดเวลา เช่น การแลกเปลี่ยนมุมมองในการลงทุนรายสัปดาห์ให้กับทีมงานบริหารพอร์ตลงทุนทั้งหมด ในระหว่างปีทีมงานลงทุนในทุกประเทศจะมาพบปะกันปีละสองครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ และกำหนดทิศทางในการบริหารจัดการพอร์ตลงทุน

 

“นอกจากนั้นเอไอเอยังมีการนำเทคโนโลยีการลงทุนใหม่ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการทำธุรกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อให้ได้ราคาที่ดีขึ้นและต้นทุนการซื้อขายที่ต่ำลง เพราะเรามีปริมาณการซื้อขายค่อนข้างมาก ทำให้พอร์ตลงทุนของเอไอเอมีความคล่องตัว ถึงแม้จะเป็นพอร์ตที่มีขนาดใหญ่มากก็ตาม และเพื่อให้มั่นใจว่าเรายังคงมีพอร์ตการลงทุนที่ใช่ ถูกที่ ถูกตัว ถูกเวลา เราจึงมีการทบทวนพอร์ตการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้วิเคราะห์ผลตอบแทนในอดีต เพื่อเข้าใจถึงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพอร์ตการลงทุน พร้อมทั้งประเมินว่าตลาดให้ความสำคัญกับอะไรมากเกินไปหรือไม่ มีอะไรที่นักลงทุนในตลาดมองข้ามไป และนำปัจจัยเหล่านี้ไปประกอบการจัดพอร์ตการลงทุนในอนาคต เพื่อคงความได้เปรียบของเอไอเอ” 

 

AIA CIO

 

การบริหารการลงทุนของเอไอเอ กับการบริหารกองทุนรวมทั่วไป ต่างกันที่การวางแผนระยะยาว  

“ต่างกันเยอะนะครับ การบริหารการลงทุนของเอไอเอ เป็นการบริหารในรูปแบบบริษัทประกันชีวิต ดังนั้นเราจะค่อนข้างได้เปรียบ เพราะเราไม่ต้องกังวลว่าจะมีคนมาถอนเงินจากเราโดยที่เราไม่รู้ล่วงหน้า เพราะเราจะรู้กระแสเงินสดเข้าออกล่วงหน้าอยู่ตลอดเวลา เราจึงสามารถเตรียมเรื่องสภาพคล่องได้เป็นอย่างดี เช่น แบบประกันที่เราขายไว้เมื่อ 30 ปีที่แล้ว และกำลังจะครบกำหนดเดือนหน้า ซึ่งเราต้องจ่ายเงินคืนผู้ถือกรมธรรม์ บริษัทก็จะเตรียมเงินไว้ล่วงหน้า แตกต่างจากการบริหารกองทุนรวมซึ่งไม่สามารถรู้ล่วงหน้าว่าลูกค้าจะเอาเงินเข้าออกเมื่อไร จำนวนเงินเท่าไร กองทุนรวมจึงมักต้องเตรียมเงินสำรองสภาพคล่อง โดยเฉพาะเวลาที่ตลาดมีความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้น กองทุนรวมโดยมากจะระวังและลดการลงทุนเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง ณ ขณะนั้น เพราะกลัวโดนถอนเงิน แต่สำหรับ เอไอเอ เรามักมองเห็นเป็นโอกาสการลงทุน” 

 

นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตรูปแบบใหม่ ยูนิต ลิงค์ ที่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนมากกว่าการประกันชีวิตทั่วไป เพราะยังจัดสรรปันส่วนเบี้ยไปลงทุนในกองทุนรวมชั้นนำที่คัดสรรอย่างดีโดยเอไอเอ

หากวิเคราะห์ตามสิ่งที่สุขวัฒน์กล่าว ถึงแนวทางการบริหารงานก็ดี ทีมงานที่มีประสิทธิภาพก็ดี รวมไปถึงวิสัยทัศน์ด้านกลยุทธ์การวางแผนการลงทุนของเอไอเอ เมื่อเอไอเอมีนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตรูปแบบใหม่ที่รวมการประกันชีวิตและการลงทุนไว้ด้วยกันที่เรียกว่า ยูนิต ลิงค์ (Unit Linked) ยิ่งเป็นโอกาสเหมาะสำหรับผู้ที่มองหาประกันชีวิตที่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าการประกันชีวิตทั่วไป ซึ่งเบี้ยประกันที่ลูกค้าจ่ายจะแบ่งเป็นสองส่วน เบี้ยส่วนแรกจะถูกนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการทำประกันชีวิต และเบี้ยส่วนที่เหลือจะนำไปลงทุนในกองทุนรวมชั้นนำที่คัดสรรโดยเอไอเอ ตามสัดส่วนที่ผู้เอาประกันเป็นผู้เลือกไว้

 

“อีกหนึ่งความน่าสนใจของยูนิต ลิงค์ คือเป็นประกันชีวิตที่มีความยืดหยุ่นเรื่องความคุ้มครองชีวิต โดยผู้เอาประกันสามารถเลือกทุนประกันชีวิตที่ต้องการ ซึ่งได้สูงสุดถึง 250 เท่าของเบี้ยประกันหลัก และยังสามารถปรับเพิ่มหรือลดความคุ้มครองชีวิตได้ตามความต้องการของแต่ละช่วงชีวิต โดยไม่ต้องซื้อกรมธรรม์ใหม่ อีกทั้งลูกค้ายังสามารถวางแผนประกันสุขภาพระยะยาวได้ ด้วยการซื้อสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพแนบกับยูนิต ลิงค์ อาจกล่าวได้ว่ายูนิต ลิงค์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ทั้งเรื่องการประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และการลงทุนเพื่อให้เงินออมเติบโต

 

“ยูนิต ลิงค์ของเอไอเอมีอยู่ 3 แบบ ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย ประกอบด้วย เอไอเอ อิสระ พลัส (AIA Issara Plus) ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเน้นความคุ้มครองชีวิตสูง และวางแผนคุ้มครองสุขภาพระยะยาว โดยจ่ายเบี้ยแบบรายงวดและไม่มาก เอไอเอ สมาร์ท ซีเล็ค (AIA Smart Select) เหมาะสำหรับคนที่ต้องการออมเงินอย่างเป็นระบบ รวมถึงคนที่มองหาแผนการศึกษาเพื่อบุตร หรือเตรียมพร้อมในวัยเกษียณ และเอไอเอ สมาร์ท เวลท์ (AIA Smart Wealth) ประกันชีวิตที่ได้ทั้งความคุ้มครอง และเน้นสร้างโอกาสในการลงทุนไปพร้อมกัน โดยจ่ายเบี้ยเพียงครั้งเดียว แต่คุ้มครองตลอดชีพ ซึ่งทั้ง 3 แบบลูกค้าสามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวม จัดสัดส่วนการลงทุนได้ตามระดับความเสี่ยงที่ลูกค้ายอมรับได้”

 

ในฐานะที่สุขวัฒน์ต้องดูแลงานด้านการวางกลยุทธ์การสร้างผลตอบแทน เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดจากการลงทุน เมื่อ THE STANDARD ถามว่าประกันควบการลงทุนยูนิต ลิงค์ยังมีเจ้าอื่นๆ ในตลาดที่เงื่อนไขยั่วยวนใจไม่น้อย แล้วทำไมต้องเลือกยูนิต ลิงค์ของเอไอเอ

 

“ศึกษาดีๆ จะพบว่าการที่จะขายยูนิต ลิงค์ได้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะคนที่จะขายยูนิต ลิงค์ได้ต้องมีใบอนุญาต IC License เท่านั้น ซึ่งคนกลุ่มนี้จะมีทักษะของนักวางแผนทางการเงิน รู้จักลูกค้าอย่างดี รู้เป้าหมายทางการเงิน เพื่อวางแผนการเงินให้เขาได้ ไม่ง่ายนะที่จะหาคนแบบนี้ได้ ปัจจุบันเอไอเอมีจำนวนตัวแทนประกันชีวิตที่ได้รับใบอนุญาต IC License กว่า 10,000 คน ซึ่งมากที่สุดในประเทศไทย ที่พร้อมให้คำปรึกษาด้านการประกันชีวิตและการเงินกับลูกค้าได้อย่างมืออาชีพ เราจะมีฟอร์มที่เรียกว่า แบบประเมินการลงทุนและ Financial Health Check เพื่อใช้ประเมินความเสี่ยงของลูกค้าแต่ละคนว่ารับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน แล้วจึงมาดูที่ความต้องการของลูกค้า และวางแผนทางการเงินให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย

 

“อาจกล่าวได้ว่าที่ปรึกษาด้านการประกันชีวิตและการเงินก็เปรียบเสมือนช่างตัดเสื้อ เวลาเราไปตัดเสื้อ ถึงร้านตัดเสื้อจะมีมากมาย แต่ไม่ใช่ทุกร้านที่ตัดแล้วถูกใจเรา ของแบบนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และเทคนิคของช่างตัดเสื้อ ซึ่งการเข้าใจลูกค้าต้องใช้เวลาเรียนรู้ บวกกับประสบการณ์ที่สั่งสมมานาน จึงจะสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับลูกค้าแต่ละคนให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้จริงๆ

 

AIA CIO

 

“อีกจุดคือ เอไอเอเป็นเจ้าแรกในตลาดที่เปิดตัวยูนิต ลิงค์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงวันนี้ มีการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์มาเรื่อยๆ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าทุกช่วงชีวิต และจุดเด่นสุดท้ายคือ ยูนิต ลิงค์มีบริการปรับสัดส่วนลงทุนอัตโนมัติ (Automatic Fund Re-Balancing) เพื่อรักษาสัดส่วนการลงทุนที่ลูกค้ากำหนดไว้ให้คงเดิม เนื่องจากเมื่อระยะเวลาผ่านไปตลาดอาจมีการผันผวน สัดส่วนของกองทุนที่เลือกไว้อาจเปลี่ยนไปจากเดิม ระบบจะทำการขายและซื้อหน่วยลงทุนให้อัตโนมัติ เพื่อเพิ่มและลดสัดส่วนของแต่ละกองทุนรวม เป็นการช่วยลูกค้าจำกัดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนให้อยู่ในจุดที่ลูกค้ารับได้เสมอ”

 

จะเป็นผู้จัดการกองทุนที่ประสบความสำเร็จก็ต้องเสี่ยงที่จะล้มเหลวเช่นกัน 

ก็อย่างที่บอกไป หากมองชีวิตสุขวัฒน์เป็นพอร์ตการลงทุน การที่เขาพาตัวเองไปพบกับความท้าทายด้วยโจทย์ใหม่ๆ ไม่ต่างอะไรกับความเสี่ยงตอนเลือกซื้อหุ้นดีๆ เก็บไว้ เพราะคุณไม่มีทางรู้เลยว่ามันจะรุ่งหรือร่วง กว่าเขาจะได้ชื่อว่าเป็นผู้จัดการกองทุนที่ประสบความสำเร็จในอาชีพการงานมันไม่ง่ายเลย 

 

“ต้องมีความรู้มากพอที่จะช่วยทีมงานได้ บวกกับความตั้งใจจริง อุทิศตัว อุทิศเวลา เปิดหูเปิดตาหาความรู้ตลอดเวลา เหนือสิ่งอื่นใด ทีมงานก็ต้องดีด้วยนะ”

 

ย้ำอีกครั้ง ถ้าชีวิตของสุขวัฒน์เปรียบเสมือนพอร์ตการลงทุน เราแนะนำให้คุณเกาะติดชีวิตเขาไว้ให้ดี เพราะมีแนวโน้มว่าพอร์ตนี้จะเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างแน่นอน 

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising