วานนี้ (20 มกราคม) จอห์น นเคนกาซอง ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคในแอฟริกา เผยว่าวัคซีนที่ได้รับบริจาคมามีอายุการใช้งานที่สั้นมาก เนื่องจากใกล้จะหมดอายุเป็นจำนวนมาก ล่าสุดมีวัคซีนโควิดที่หมดอายุแล้วกว่า 2.8 ล้านโดส หรือคิดเป็นราว 0.5% ของ 572 ล้านโดสที่ได้รับการส่งมอบมา
วอนขอให้ส่งมอบวัคซีนโคซีนโควิดที่มีอายุการใช้งานได้อย่างน้อย 3-6 เดือน เพื่อให้แต่ละประเทศที่ได้รับวัคซีนไปสามารถวางแผนและจัดการเดินหน้ากระจายวัคซีน เพื่อฉีดให้พลเมืองในประเทศนั้นๆ ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากวัคซีนที่หมดอายุลงก็เท่ากับโอกาสของผู้คนที่จะเข้าถึงวัคซีนโควิด โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลก็จะลดลงไปด้วย
นเคนกาซองเผยว่า บางประเทศพอเห็นว่าวัคซีนเหลืออายุการใช้งานได้เพียง 1-2 เดือน พวกเขาเลือกที่จะปฏิเสธการรับวัคซีนเหล่านั้น เพราะไม่อยากให้วัคซีนโควิดมาหมดอายุในประเทศของตัวเอง ทั้งที่ยังไม่ได้จัดสรรอย่างมีประสิทธิภาพ หลายประเทศแสดงความกังวลตรงจุดนี้
อีกทั้งแอฟริกายังเผชิญหน้ากับความท้าทายของระบบการขนส่งวัคซีนไปยังพื้นที่ต่างๆ ซึ่งในหลายประเทศ การเดินทางส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้ถนน ซึ่งอาจกินเวลานานหลายวัน หรือบางครั้งนานเป็นสัปดาห์ ยังไม่นับรวมโอกาสที่จะเกิดการอุบัติของเชื้อโคโรนาไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์ใหม่ๆ อีกในอนาคต
ล่าสุดพลเมืองในแอฟริกาฉีดวัคซีนโควิดครบโดสแล้วราว 10.4% ซึ่งยังถือเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับสัดส่วนจำนวนพลเมืองในทวีปอื่นๆ หากปริมาณการผลิตยาเม็ดรักษาโควิดอย่าง Paxlovid หรือ Molnupiravir เพิ่มขึ้นและกระจายมาถึงแอฟริกา อาจมีส่วนช่วยในการรับมือสถานการณ์โควิดภายในทวีปนี้ไม่น้อย
บทความที่เกี่ยวข้อง:
- สิงคโปร์เผยสถิติ คนฉีดวัคซีนยี่ห้อใดเสียชีวิตมากที่สุดหลังติดโควิด
- รู้จัก Omicron โควิดสายพันธุ์ใหม่ที่น่ากังวล
- A Pandemic of the Unvaccinated คืออะไร ทำไมผู้ติดเชื้อในยุโรปถึงพุ่งอีกครั้ง
- เทียบประสิทธิภาพยาเม็ดรักษาโควิดของ Merck vs. Pfizer
ภาพ: Magnifical Productions / Shutterstock
อ้างอิง: