×

กลุ่มธุรกิจ TCP จับมือ NARIT ปลุกพลังแห่งการเรียนรู้ นำ ‘ดินดวงจันทร์’ จากยานฉางเอ๋อ 5 มาจัดแสดงครั้งแรกในไทย ในงาน ‘อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND’ [PR NEWS]

โดย THE STANDARD TEAM
24.07.2024
  • LOADING...
อว.แฟร์

ภารกิจปลุกพลังการเรียนรู้ครั้งใหม่ของกลุ่มธุรกิจ TCP องค์กรที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและนวัตกรรมมาโดยตลอด จึงได้ทำงานร่วมกับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NARIT) นำดินดวงจันทร์จากยานฉางเอ๋อ 5 มาจัดแสดงนอกประเทศจีนครั้งแรกที่บูธนิทรรศการ Empowering Thailand through FRONTIER RESEARCH presented by TCP Group ภายในงาน อว.แฟร์

 

การสนับสนุนนำดินดวงจันทร์มาจัดแสดงครั้งนี้ยังสอดคล้องกับเป้าหมาย ‘ปลุกพลัง เพื่อวันที่ดีกว่า’ ของกลุ่มธุรกิจ TCP ที่ต้องการสร้างแรงบันดาลใจ ปลุกพลังให้คนไทยสนใจในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ผ่านการเรียนรู้ และตื่นตาตื่นใจไปกับงานวิจัยทางดาราศาสตร์ระดับแนวหน้าสุดล้ำของ NARIT และเข้าใจว่าเรื่องดาราศาสตร์จับต้องได้ไม่ใช่เรื่องไกลตัว และงานวิจัยจากอวกาศสามารถนำไปสู่วันที่ดีกว่าได้



ที่ผ่านมากลุ่มธุรกิจ TCP เห็นถึงความสำคัญในการช่วยกันผลักดันงานวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศยาน ซึ่งจะนำความก้าวหน้ามาสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมในหลากหลายอุตสาหกรรม จึงให้การสนับสนุน NARIT ในการพัฒนาขีดความสามารถของนักวิจัยไทย เพื่อให้เข้าถึงองค์ความรู้ด้านอวกาศห้วงลึกจากองค์กรด้านอวกาศชั้นนำของโลก และนำมาต่อยอดพัฒนาเป็นอวกาศยานจากฝีมือคนไทยต่อไป ด้วยความเชื่อที่ว่า ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์จะนำไปสร้างสรรค์นวัตกรรมในหลากหลายอุตสาหกรรมที่ช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงบนโลกได้ เช่น นวัตกรรมแขนกล ขาเทียม เลนส์รูปแบบใหม่ หรือแสงซินโครตรอน ที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร



นอกจากไฮไลต์สำคัญ ‘ดินดวงจันทร์’ จากยานฉางเอ๋อ 5 ทาง NARIT ยังนำต้นแบบ ‘MATCH’ หรือ Moon-Aiming Thai-Chinese Hodoscope หรือ ‘อุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอวกาศ’ ที่จะไปดวงจันทร์กับภารกิจฉางเอ๋อ 7 มาจัดแสดง พร้อมโชว์เคสผลงานการใช้โจทย์ดาราศาสตร์ผลักดันให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีและวิศวกรรมขั้นสูงด้านต่างๆ แบบจัดเต็มขั้นสุด



THE STANDARD ชวนนักคิดคนรุ่นใหม่ไปสำรวจไฮไลต์และสิ่งที่น่าสนใจ พร้อมปลุกพลังแรงบันดาลใจก่อนออกไปสัมผัสของจริง ที่บูธนิทรรศการ Empowering Thailand through FRONTIER RESEARCH presented by TCP Group ในงาน ‘อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND’ ตั้งแต่วันนี้ – 28 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เวลา 09.00-20.00 น. ไม่มีค่าใช้จ่าย

 

 

‘ดินดวงจันทร์’ จากภารกิจฉางเอ๋อ 5 ที่นำมาจัดแสดงมีชื่อว่า ‘หมิงเยว่จ้าวหว่อหวน’ หมายถึง ‘ดวงจันทร์ส่องแสงมาที่ฉัน’ มีน้ำหนัก 75 มิลลิกรัม เป็นดินที่เก็บจากบริเวณภูเขา Mons Rümker ของด้านใกล้ดวงจันทร์ นำกลับมายังโลกพร้อมหินจากดวงจันทร์ 1.731 กิโลกรัม เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 หลังทะยานสู่ดวงจันทร์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563


ตัวอย่างที่นำกลับมานั้นจะใช้เพื่อการศึกษาวิจัยภายใต้โครงการจัดตั้งสถานีวิจัยนานาชาติบนดวงจันทร์ของจีน โดยที่ผ่านมาดินดวงจันทร์ถูกนำไปจัดแสดงที่ปักกิ่ง หนานจิง ไห่หนาน และฮ่องกง ก่อนจะนำมาจัดแสดงที่ไทยในปีนี้ และนับเป็นการจัดแสดงดินดวงจันทร์นอกประเทศจีนเป็นครั้งแรก

 

 

ทั้งนี้ ‘ดินดวงจันทร์’ ถูกจัดเก็บในคริสตัลทรงกลมรูปดวงจันทร์เต็มดวงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 มิลลิเมตร ทำจากกระจกพิเศษที่ใช้เป็นแว่นขยาย คริสตัลทรงกลมตั้งอยู่บนฐานคริสตัลทรงสี่เหลี่ยมคางหมูจำนวน 3 ชั้น แสดงถึงการปฏิบัติภารกิจ 3 ขั้นตอนของยานฉางเอ๋อ ได้แก่ การโคจร การลงจอด และการส่งตัวอย่างกลับโลก



ฐานชั้นล่างสุดกว้าง 17 เซนติเมตร เป็นตัวแทนจำนวนปีของโครงการฉางเอ๋อที่เริ่มตั้งแต่ปี 2547 ต่อเนื่องยาวนานมากว่า 17 ปี ความสูงรวม 22.89 เซนติเมตร หมายถึงจำนวนวันปฏิบัติการตั้งแต่เดินทางจากโลกไปเก็บตัวอย่างจากดวงจันทร์ รวมทั้งสิ้น 22.89 วัน

 

 

อีกหนึ่งความภาคภูมิใจของคนไทยที่ถูกนำมาจัดแสดงในครั้งนี้ก็คือ ‘MATCH’ หรือ Moon-Aiming Thai-Chinese Hodoscope หรือ ‘อุปกรณ์ตรวจวัดสภาพอวกาศ’ 1 ใน 7 อุปกรณ์วิจัยวิทยาศาสตร์นานาชาติฝีมือคนไทย ที่จะติดตั้งไปกับยานโคจรรอบดวงจันทร์ (Lunar Orbiter) ฉางเอ๋อ 7 ซึ่งมีกำหนดจะนำส่งขึ้นสู่อวกาศภายในปี 2569 เพื่อตรวจวัดอนุภาคพลังงานสูงภายใต้รังสีคอสมิก (Cosmic Ray) ในอวกาศ และศึกษากิจกรรมที่เกี่ยวข้องจากผลกระทบระหว่างดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์

 


ทั้งนี้ ไทยยังได้ร่วมลงนามกับห้องปฏิบัติการสำรวจห้วงอวกาศลึก (Deep Space Exploration Lab: DSEL) ขององค์การอวกาศแห่งชาติจีน (China National Space Administration: CNSA) ในข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสำรวจห้วงอวกาศลึก ภายใต้โครงการสถานีวิจัยดวงจันทร์นานาชาติ (International Lunar Research Station: ILRS) เมื่อปีที่ผ่านมา เพื่อสนับสนุนความร่วมมือในโครงการสำรวจดวงจันทร์ระดับแถวหน้าอย่างฉางเอ๋อ ถือเป็นโครงการวิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่ที่มีความท้าทายและเป็นรากฐานของการสำรวจห้วงอวกาศลึกในอนาคต

 

 

การพัฒนาเครื่องวัดอนุภาคพลังงานสูงในอวกาศ หรือรังสีคอสมิก เพื่อติดตามผลกระทบของสภาพอวกาศที่มีต่อโลก จะส่งผลต่ออุตสาหกรรม 5 ด้านหลักของไทยที่ได้รับผลกระทบจาก Solar Activity โดยตรง ได้แก่

 

  1. ระบบดาวเทียมในทุกพันธกิจ โดยเฉพาะระบบดาวเทียมนำร่องในงานด้านโลจิสติกส์ ระบบบริการเวลาแม่นยำ
  2. อุตสาหกรรมการบินของประเทศ ในด้านวิทยุการบิน ระบบนำร่องเครื่องบินพาณิชย์
  3. อุตสาหกรรมพลังงานสะอาด เนื่องจากคุณภาพของ Solar Cell ขึ้นอยู่กับอนุภาคพลังงานสูงในอวกาศ
  4. เสถียรภาพด้านสายส่งไฟฟ้ากำลังงานสูง การมีข้อมูลผู้เชี่ยวชาญด้าน Space Weather จะทำให้สามารถสร้างแบบจำลองการแจ้งเตือภัยต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้
  5. ระบบสื่อสารดาวเทียมภาคพื้นของไทย ซึ่งมีผลกระทบในวงกว้างต่อกิจกรรมของมนุษย์ เนื่องจากการสื่อสารเป็นปัจจัยหลักในทุกมิติ

 

 

 

จะว่าไปไทยก็ให้ความสำคัญภารกิจสำรวจดวงจันทร์ไม่แพ้ชาติใดในโลก เมื่อปี 2564 ก็เพิ่งประกาศตั้งภาคีความร่วมมืออวกาศไทย (Thai Space Consortium: TSC) รวมหน่วยงานวิจัยวิทยาศาสตร์ชั้นนำของประเทศและสถาบันอุดมศึกษา รวม 14 หน่วยงาน นำโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NARIT) ซึ่งหนึ่งในเป้าหมายของโครงการ TSC คือการสร้าง ‘ดาวเทียมสำรวจดวงจันทร์’ ด้วยเทคโนโลยีฝีมือคนไทย เพื่อบุกเบิกการวิจัยวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมขั้นสูง ด้วยการสนับสนุนของกลุ่มธุรกิจ TCP

 

 

โครงการความร่วมมือไทย-จีน ด้านการสำรวจทรัพยากรของดวงจันทร์ในครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนานวัตกรรมอวกาศยานไทย เนื่องจากเป็นการพัฒนาขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงของนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรวิจัยชาวไทย ให้ได้มีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาด้านวิศวกรรมระบบอวกาศยานสำหรับการสำรวจอวกาศห้วงลึก

 

ทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ไทยมีระบบแจ้งเตือนภัยจากสภาพอวกาศแก่สาธารณะ ในกรณีที่อนุภาคพลังงานสูงผ่านสนามแม่เหล็กโลกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศที่อาจเกิดขึ้นจากพายุสุริยะ หรือรังสีคอสมิกจากอวกาศห้วงลึก ถือเป็นการผลักดันให้ไทยเร่งพัฒนาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูงและสามารถนำมาใช้ในโครงการความร่วมมือด้านอวกาศไทย-จีน ในอนาคต

 

 

 

ถึงบูธนี้จะมี ‘ดินดวงจันทร์’ จากยานฉางเอ๋อ 5 เป็นไฮไลต์ แต่เทคโนโลยีอวกาศอื่นๆ ที่มีส่วนช่วยในการสำรวจดวงจันทร์ก็น่าสนุกและได้รับความสนใจจากว่าที่นักวิทยาศาสตร์ตัวน้อยไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นกล้องโทรทรรศน์ความแม่นยำสูง, เทคโนโลยีอวกาศต้นแบบดาวเทียมวิจัยฝีมือคนไทย, เทคโนโลยีทัศนศาสตร์และโฟโตนิกส์, เทคโนโลยีแมคคาทรอนิกส์, เทคโนโลยีคลื่นวิทยุและสัญญาณดิจิทัล วิทยาศาสตร์บรรยากาศ และเทคโนโลยีการขึ้นรูปชิ้นงานความละเอียดสูง โดยมีทีมงานของ NARIT คอยให้ความรู้อย่างใกล้ชิด

 

 

นอกจากภารกิจปลุกพลัง สร้างแรงบันดาลใจ ให้คนไทยหันมาสนใจวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ภายในบูธกิจกรรมกลุ่มธุรกิจ TCP ยังนำเครื่องดื่มกระทิงแดง (เรดบูล), เรดดี้, โสมพลัส, สปอนเซอร์, แมนซั่ม, ไฮ่! และเพียวริคุ มาแจกเพื่อปลุกพลังความสดชื่นให้กับผู้ที่เดินในงานอีกด้วย

 

 

บูธ Empowering Thailand through FRONTIER RESEARCH presented by TCP Group ในงาน อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND จะพาคุณเข้าใกล้ดวงจันทร์แบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นในเมืองไทยมาก่อน ตั้งแต่วันนี้ – 28 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 09.00-20.00 น. ไม่มีค่าใช้จ่าย

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

X
Close Advertising