×

สถิติบริษัทล้มละลายปีนี้พุ่ง 25-30% หลังอัตราดอกเบี้ยลอยอยู่ในระดับสูง ธุรกิจที่ใช้แรงงานเยอะเสี่ยงมากกว่า

18.12.2023
  • LOADING...
สถิติบริษัทล้มละลาย

จำนวนของบริษัทที่ล้มละลายทั่วโลกกำลังเพิ่มสูงขึ้นในอัตราเลขสองหลัก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่ได้ชื่อว่ามีเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว หลังจากที่ต้นทุนทางการเงินเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่รัฐบาลแต่ละประเทศต่างเลิกให้การสนับสนุนทางการเงินกับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด

 

อย่างในสหรัฐฯ สถิติของบริษัทที่ยื่นล้มละลายเพิ่มขึ้น 30% ใน 12 เดือนที่ผ่านมา (จนถึง ณ สิ้นเดือนกันยายน) ขณะที่เยอรมนี ประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรปเปิดเผยว่า การล้มละลายเพิ่มขึ้น 25% ระหว่างเดือนมกราคมถึงกันยายนที่ผ่านมา 

 

Destatis ระบุว่า นับแต่เดือนมิถุนายน สถิติการล้มละลายในแต่ละเดือนเพิ่มขึ้นในอัตรามากกว่า 10% จากเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า

 

Neil Shearing หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ Capital Economics ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น พร้อมกับการล้มละลายของ ‘Zombie Companies’ หรือบริษัทที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่ยังสามารถอยู่ได้ก่อนหน้านี้ด้วยการช่วยเหลือจากภาครัฐ แต่บริษัทเหล่านี้เริ่มล้มหายไปมากขึ้น พร้อมกับการช่วยเหลือที่หมดไป ทำให้การล้มละลายของธุรกิจในปีนี้สูงขึ้น 

 

Shearing มองว่า แนวโน้มของการล้มละลายจะยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากธุรกิจต่างๆ จำเป็นจะต้องรีไฟแนนซ์ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะถูกประเมินว่าถึงจุดพีคไปแล้ว 

 

ขณะที่ Moody บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ คาดว่าหุ้นกู้ที่อยู่ระดับต่ำกว่าลงทุนได้ทั่วโลก จะมีอัตราการผิดนัดชำระหนี้มากขึ้นในปี 2024 หลังจากที่ 12 เดือนที่ผ่านมา (จนถึงเดือนตุลาคม 2023) อัตราการผิดนัดชำระหนี้แตะระดับ 4.5% สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 4.1% 

 

Allianz บริษัทด้านการเงินของเยอรมนีคาดการณ์ว่า อัตราการเพิ่มขึ้นของการล้มละลายทั่วโลกจะแตะระดับ 10% ในปีหน้า หลังจากที่เพิ่มขึ้น 6% ในปีนี้ 

 

ส่วนประเทศอย่างฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และญี่ปุ่น การล้มละลายเพิ่มขึ้นกว่า 30% เช่นเดียวกับประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ได้แก่ เดนมาร์ก สวีเดน และฟินแลนด์ รวมทั้งประเทศอย่างอังกฤษและเวลส์ การล้มละลายของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้นสูงกว่าช่วงปี 2008-2009 ซึ่งเกิดวิกฤตการเงินโลก

 

Allianz เตือนว่า กลุ่มธุรกิจที่ต้องพึ่งพิงแรงงานจำนวนมาก เช่น ภาคบริการด้านที่พัก การขนส่ง และค้าปลีก จะเป็นกลุ่มที่ถูกกระทบรุนแรงที่สุด รวมทั้งธุรกิจที่อ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ย เช่น อสังหาริมทรัพย์และรับเหมาก่อสร้าง เป็นอีกกลุ่มที่จะถูกกดดันอย่างหนัก 

 

อย่างไรก็ตาม นโยบายอุดหนุนราคาพลังงาน และมาตรการช่วยเหลือต่างๆ จากภาครัฐ จะช่วยให้ธุรกิจยังอยู่ต่อไปได้ และขณะนี้สถานการณ์ยังไม่ได้แย่ถึงขั้นจะเกิดเป็นคลื่นยักษ์ของการล้มละลายต่อๆ กัน 

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising