×

เปิด ‘10 อันดับ’ รถยนต์ EV ที่ยอดจองสูงสุดจากงานมอเตอร์โชว์ 2023 ค่ายรถจีนกวาดเพียบ!

08.04.2023
  • LOADING...

แม้จะปิดฉากลงไปแล้วเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาสำหรับงานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 44 แต่ยังมีกลิ่นอายจากสีสันตลาดรถยนต์ไฟฟ้าให้กล่าวถึงต่อเนื่อง ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปีนี้ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แน่นอนว่าส่วนหนึ่งมาจากมาตรการอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้าจากภาครัฐ ทำให้ราคาลดลง ผู้บริโภคเองก็เริ่มให้ความเชื่อมั่นในมาตรฐานมากขึ้น ประกอบกับค่ายรถยนต์ต่างๆ เปิดตัวรถไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ ที่หลากหลาย รวมถึงแคมเปญกระตุ้นยอดขายกันอย่างคึกคัก โดยสองผู้ผลิต EV รายใหญ่จากจีนคือ GWM และ BYD มียอดจอง EV ของสองค่ายนี้คิดเป็น 14% ของยอดจองรถทั้งหมด และสูงถึง 63% ของยอดจอง EV รวมในงานนี้

 

ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ยอดจองรถยนต์ไฟฟ้าภายในงานมอเตอร์โชว์ครั้งนี้รวม 9,234 คัน คิดเป็น 21.5% จากปีก่อนหน้า 3,084 คัน +199.4% 

 

โดยปี 2566 ตลาดรถยนต์ในประเทศไทยคึกคักมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมรถยนต์กลับเข้าสู่สภาวะปกติ โดยเฉพาะกับตลาดรถยนต์พลังงานไฟฟ้าหรือรถยนต์ EV ที่คาดว่าจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดมากกว่าปีที่ผ่านมา จากกระแสความสนใจของผู้บริโภคที่ให้การยอมรับและมีความเชื่อมั่นในรถยนต์ EV มากขึ้น ตลาดรถยนต์ EV ในไทยยังเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุน 

 

นฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของไทยกำลังเดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว จะเห็นจากยอดจองรถ EV งานมอเตอร์โชว์ โดยภาครัฐมีมาตรการเชิงรุกในการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร ส่งผลให้แนวโน้มความต้องการยานยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะรถยนต์ BEV เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

 

โดยยอดจดทะเบียนรถยนต์ BEV ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้สูงถึงกว่า 11,000 คัน เพิ่มขึ้น 8 เท่าจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รวมถึงยอดจองรถยนต์ไฟฟ้าในงานมอเตอร์โชว์ครั้งล่าสุด กระแสตอบรับรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศมาแรง

 

และขณะนี้มีผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหม่ๆ ได้ทยอยเข้ามาลงทุนตั้งฐานการผลิตในไทย ทั้งผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น MG, Great Wall Motor, BYD, NETA, Foxconn รวมทั้งรายล่าสุดอย่าง GAC AION จากประเทศจีน

 

สิ่งที่น่าสนใจคือยอดคำขอส่งเสริมการลงทุนกิจการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) รวมทั้งแบตเตอรี่ ชิ้นส่วนสำคัญ และสถานีชาร์จ คิดเป็นมูลค่ารวมแล้วกว่า 114,000 ล้านบาท

 

โดยมีโครงการลงทุน อาทิ 1. การผลิตยานยนต์ไฟฟ้า มีโครงการลงทุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท ทั้งยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) และไฮบริด (HEV) รวมทั้งหมด 26 โครงการจาก 17 บริษัท รวมมูลค่าเงินลงทุน 86,800 ล้านบาท 

 

ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนจากทั้งค่ายรถยนต์จากจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และยุโรป ในจำนวนนี้เป็นการผลิตรถยนต์ BEV จำนวน 15 โครงการจาก 14 บริษัท กำลังการผลิตรวม 270,000 คัน 

 

นอกจากนี้ ขณะนี้มีการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภทออกสู่ตลาดแล้ว 11 บริษัท

 

2. การผลิตชิ้นส่วนสำคัญของยานยนต์ไฟฟ้า แบ่งเป็นการผลิตแบตเตอรี่สำหรับ EV 20 โครงการจาก 13 บริษัท เงินลงทุน 9,400 ล้านบาท การผลิตแบตเตอรี่ความจุสูงสำหรับ EV และ Energy Storage 8 โครงการจาก 8 บริษัท เงินลงทุน 9,300 ล้านบาท และการผลิตชิ้นส่วนสำคัญของรถไฟฟ้า เช่น Traction Motor ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (BMS) ระบบควบคุมการขับเคลื่อน (DCU) ระบบและอุปกรณ์อัดประจุไฟฟ้า 16 โครงการจาก 14 บริษัท เงินลงทุน 5,120 ล้านบาท 

 

3. กิจการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า มี 7 โครงการจาก 7 บริษัท เงินลงทุน 4,200 ล้านบาท โดยมีหัวจ่ายไฟฟ้ารวม 11,300 หัวจ่าย ซึ่งเป็นแบบ Quick Charge กว่า 5,400 หัวจ่าย

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


ภาพประกอบ: นิสากร ฤทธาภัย

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X