อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวคำเตือนอย่างจริงจังระหว่างเข้าร่วมการประชุมสุดยอด COP27 ว่าโลกกำลังพ่ายแพ้การต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมเรียกร้องให้เลิกใช้ถ่านหินภายในปี 2040 โดยย้ำว่า โลกกำลังแพ้บนสังเวียนที่ต่อสู้เพื่อชีวิต
กูเตอร์เรสระบุว่า ขณะนี้ยังคงมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น ทำให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนโลกกำลังเข้าใกล้จุดเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้สภาพอากาศที่ปั่นป่วนไม่สามารถย้อนคืนมาได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เมื่อ ‘เป้าหมายสีเขียว’ และ ‘เป้ายอดขาย’ ไม่สอดคล้องกัน เปิดช่องโหว่นโยบาย สิ่งแวดล้อม ในอุตสาหกรรมแฟชั่น
- ธปท. เตรียมออก Standard Practice ด้านสิ่งแวดล้อมในไตรมาส 3 พร้อมกำหนดให้แบงก์ส่งแผนและเป้าสีเขียวที่จับต้องได้ต้นปีหน้า
- Brand & Marketing Trend 2022: เปิดเทรนด์ยุคใหม่ของโลกหลังโควิด แบรนด์ถึงเวลาต้องเปลี่ยนครั้งใหญ่
“เราอยู่บนทางหลวงสู่นรกแห่งสภาพอากาศโดยที่เท้าของเรายังเหยียบคันเร่งอยู่” กูเตอร์เรสกล่าว
อย่างไรก็ตาม กูเตอร์เรสมองว่าด้วยสถานการณ์นองเลือดรุนแรง และความขัดแย้งที่เกิดขึ้นตามที่ต่างๆ ทั่วโลก ทำให้ประเด็นการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ทั้งๆ ที่เป็นประเด็นเร่งด่วนที่สมควรต้องมีการจัดการภายใต้การทำงานร่วมกันอย่างเหนียวแน่น เพื่อสร้างสันติภาพและยุติความทุกข์ทรมานอันยิ่งใหญ่จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้ไทม์ไลน์ที่แตกต่างกันและในระดับที่แตกต่างกัน
ที่สำคัญ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เช่น สงครามรัสเซีย-ยูเครนยังเป็นชนวนที่ทำให้ปัญหามลภาวะเพิ่มมากขึ้น เพราะการขาดแคลนพลังงานจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในช่วงเวลาที่พลังงานสะอาดยังไม่เติบโตดี ทำให้หลายประเทศทั่วโลกใช้เป็นข้ออ้างในการหันมาใช้ถ่านหินเป็นพลังงานมากขึ้น
กูเตอร์เรสกล่าวว่า ปัญหาสภาพภูมิอากาศเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ดังนั้นวิธีแก้ปัญหาจึงอยู่ที่การกระทำของมนุษย์ ก่อนย้ำว่าเป้าหมายการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก 1.5 องศาเซลเซียส และการบรรลุการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ทั่วโลกภายในปี 2050 เป็นเพียงแค่การช่วยยืดอายุชีวิตให้ยาวไปอีกขั้นเท่านั้น
ทั้งนี้ เลขาธิการ UN ย้ำกับบรรดาผู้ที่เข้าร่วม COP27 ว่าโลกขณะนี้มาถึงจุดที่ไม่สามารถถอยกลับได้แล้ว และเพื่อหลีกเลี่ยงชะตากรรมที่เลวร้ายนี้ ประเทศ G20 ทั้งหมดจะต้องเร่งการเปลี่ยนแปลงในตอนนี้ โดยประเทศที่พัฒนาแล้วจะต้องเป็นผู้นำ พร้อมเรียกร้องให้มีการจัดทำข้อตกลง Climate Solidarity Pact ระหว่างเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา โดยเฉพาะเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วและกลุ่มเศรษฐกิจเกิดใหม่
กูเตอร์เรสย้ำว่า สนธิสัญญาจะทำให้ประเทศต่างๆ พยายามลดการปล่อยมลพิษในทศวรรษนี้ และยุติการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลและการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่ โดยจะยุติการใช้ถ่านหินในกลุ่มชาติสมาชิก OECD ภายในปี 2030 และชาติอื่นๆ ภายในปี 2040
อ้างอิง: