ทำไมธุรกิจต้องสร้างแพลตฟอร์มเป็นของตัวเอง บางธุรกิจเหมาะกับการสร้างแพลตฟอร์มหรือไม่ และทำไมบางคนถึงบอกว่าแพลตฟอร์มคือภัยคุกคามที่ร้ายแรงของธุรกิจดั้งเดิม
เคน นครินทร์ สรุปเนื้อหาจากการบรรยายในหัวข้อ The Business of Platforms จัดโดยวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ SET เนื่องในโอกาสเข้าปีที่ 9 ของหลักสูตร Strategy and Innovation for Businesses in Asia (SIBA) เป็นหลักสูตรที่ร่วมมือกับ MIT Sloan การบรรยายในครั้งนี้เป็นเหมือนการเกริ่นนำของหลักสูตรโดย ศาสตราจารย์ไมเคิล คูซูมาโน ผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ ธุรกิจแพลตฟอร์ม และการพัฒนาผลิตภัณฑ์
สนใจสมัครหลักสูตร SIBA หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 09 9336 5966
คุณคูซูมาโนแนะว่า การดูว่าสิ่งนั้นเป็นแพลตฟอร์มหรือไม่ ให้ดูว่ายิ่งมีคนใช้จำนวนมากขึ้นเท่าไร แพลตฟอร์มจะมีคุณค่ามากขึ้นเท่านั้น ยกตัวอย่าง Airbnb ถ้าไม่มีคนเปิดบ้านให้มาพัก และไม่มีนักท่องเที่ยวมาพัก ไม่เกิดการบอกต่อกัน Airbnb ก็จะไม่มีคุณค่า หรือ Grab เองถ้าไม่มีคนขับ ไม่มีคนเรียกรถที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะไม่เกิดคุณค่าเช่นเดียวกัน
3 จุดร่วมของสิ่งที่เป็นแพลตฟอร์ม
1. Market Sides เป็นตลาดตรงกลาง ที่เอาลูกค้าและผู้สร้างในแพลตฟอร์มมาแชร์สิ่งที่มีร่วมกันได้
2. ต้องเพิ่มคุณค่าจนเกิดเป็น Network Effect
3. ต้องแก้ไขปัญหาประเภท ‘ไก่กับไข่ อะไรเกิดก่อน’ ยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับ Grab คนขับรถกับคนเรียกรถ อะไรควรเกิดก่อนกัน หรืออย่าง Airbnb คนปล่อยห้องให้เช่ากับคนมาพัก อะไรควรเกิดก่อน คุณคูซูมาโนเฉลยในตอนหลังว่า คนขับรถและคนปล่อยห้องให้เช่าควรเกิดก่อน คนใช้ก็จะตามมา
ประเภทของแพลตฟอร์ม
1. Transaction Platform เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนอะไรบางอย่าง และจะเกิดผลดีได้จาก Network Effect เช่น Snapchat, Instagram, Twitter, Pinterest, LinkedIn, Airbnb, Uber, Alibaba, Google Play, App Store, WeChat, Amazon Marketplace ฯลฯ
2. Innovation Platform แพลตฟอร์มที่ทำตัวเองเป็นเหมือน Technological Foundation และมีคนมาพัฒนานวัตกรรมในแพลตฟอร์มของตัวเอง เช่น Facebook for developers, Microsoft Azure, Amazon Web Services ฯลฯ
แพลตฟอร์มแบบไหนเหมาะกับธุรกิจคุณ
ถ้าธุรกิจของคุณมีสินค้าแล้วสามารถสร้างคุณค่าจากการให้ Third Party มาสร้างนวัตกรรมได้ ให้ลองทำ Innovation Platform Strategy ยกตัวอย่าง Apple iOS และ Google Android ที่มีสินค้าที่ดีอยู่แล้ว ยิ่งถ้าเปิดให้คนมาพัฒนาเท่าไร ยิ่งทำให้สินค้าเราพัฒนาขึ้น แต่ที่สำคัญสินค้าของคุณต้องดีก่อน
ถ้าธุรกิจของคุณเน้นเรื่องบริการ และสามารถสร้างคุณค่าได้มากขึ้นจากตลาดที่ใหญ่ขึ้น ให้ทำ Transaction Platform Strategy เช่น Airbnb และ Grab แน่นอนบริการของคุณต้องดีก่อนเช่นกัน รวมถึงการควบคุมคุณภาพ ประสบการณ์ และความปลอดภัยของผู้ใช้
ทำไมการทำแพลตฟอร์มมักเป็นการเผาเงินทิ้ง
เพราะเกมของเขาคือการหาคนใช้ให้ได้เยอะที่สุด เก็บข้อมูลให้ได้เยอะที่สุด เพื่อให้วันหนึ่งเกิด Network Effect ทำให้เราไม่สามารถหนีไปใช้แพลตฟอร์มอื่นได้ง่ายนัก
ตัวอย่างเคส Uber ที่ไม่ประสบความสำเร็จนัก และกำลังอยู่ช่วงขาลง คุณคูซูมาโนให้เหตุผลดังนี้
1. Over Subsidize ให้ส่วนลดหรือให้ใช้ฟรีมากเกินไปทั้งคนขับรถและคนที่มาใช้บริการ
2. มี Network Effect ที่อ่อนแอเกินไป Demand กับ Supply ไม่ตรงกัน
บทสรุปและคำแนะนำ
1. ไม่ใช่สินค้าหรือบริการทุกอย่างจะทำแพลตฟอร์มได้ ต้องสำรวจตัวเองว่าเหมาะหรือไม่
2. แพลตฟอร์มที่จะอยู่รอดต้องไม่ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ต้องไม่เป็นเจ้าของสินทรัพย์หรือคนทำงานในแพลตฟอร์มนั้น และยังมีทางที่จะทำเงินหรือเสียเงินอีกมาก
3. ถ้าอยากจะทำแพลตฟอร์ม ให้เริ่มจากสินค้าและบริการที่ดี ดูช่องว่างทางการตลาด มีอะไรที่คนต้องการแล้วเราเข้าไปเติมเต็มได้บ้าง รวมถึงเลือก subsidize ให้ถูกทางและพอดี และเติบโตด้วย Network Effect เช่น การบอกต่อกัน มากกว่าการ subsidize
4. หลีกเลี่ยงข้อผิดพลาด เช่น การตั้งราคาที่บิดเบี้ยวกับตลาดมากเกินไป อย่าเข้าไปในตลาดที่อิ่มตัวแล้ว
อนาคตของแพลตฟอร์ม
1. บริษัทแบบลูกผสม (Hybrid) ระหว่าง Transaction และ Innovation จะเพิ่มมากขึ้น
2. เกิดสิ่งที่จะมาช่วยเพิ่มศักยภาพและคุณภาพให้แพลตฟอร์ม เช่น AI, Blockchain, IoT ฯลฯ
3. ถ้าตลาดไหนมีแพลตฟอร์มที่เป็นเจ้าตลาดอยู่แล้ว ก็จะมีอยู่แค่นั้น และเกิดการผูกขาดได้ง่าย
4. แพลตฟอร์มแบบเปิดจะถูกตรวจสอบมากขึ้น ยกตัวอย่าง Libra ของ Facebook ที่ถูกตรวจสอบมากขึ้นด้วยผู้คุมกฎที่เข้มงวด
สามารถฟังพอดแคสต์ The Secret Sauce
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย
Credits
The Host นครินทร์ วนกิจไพบลูย์
Show Creator นครินทร์ วนกิจไพบูลย์
Show Producers เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์, ปวริศา ตั้งตุลานนท์
Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ
Marketing & Coordinator อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค
Art Director นิสากร ฤทธาภัย
Proofreader พรนภัส ชำนาญค้า
Webmaster รพีพรรณ เกตุสมพงษ์