×

ชิมช้อปใช้ กระตุ้นเศรษฐกิจจริงหรือ ใครได้ประโยชน์ ประเทศได้อะไร

16.10.2019
  • LOADING...

‘ชิมช้อปใช้’ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มีมูลค่าการลงทุนเกือบ 20,000 ล้านบาท ผลลัพธ์ในวันนี้ออกมาเป็นอย่างไร กระตุ้นได้จริงไหม ใครได้ประโยชน์ แล้วประเทศได้อะไร

 

เคน นครินทร์ ชวน เป็นหลิว-ชุตินันท์ สงวนประสิทธิ์ นักข่าวเศรษฐกิจประจำ THE STANDARD มาร่วมพูดคุยและวิเคราะห์ทั้งในมุมของคนทำงานและผู้ประกอบการ ในพอดแคสต์ The Secret Sauce: Executive Espresso

 

หมายเหตุ: บันทึกเสียงเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2562 ตัวเลขปัจจุบันได้มีการเพิ่มขึ้นแล้ว

 


 

มาตรการ ‘ชิมช้อปใช้’ คืออะไร 

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศของรัฐบาล โดยจะให้สิทธิ์ 10 ล้านคนแรกที่ลงทะเบียนในเว็บไซต์ จำกัดวันละ 1 ล้านสิทธิ์ ซึ่งผู้มีสิทธิ์จะต้องใช้จ่ายในร้านค้าที่ร่วมรายการ และไม่ได้อยู่ในจังหวัดตามทะเบียนบ้าน สิทธิ์ที่ได้แบ่งเป็น 2 แบบ คือ 

 

  1. ได้รับเงินจำนวน 1,000 บาท ผ่านแอปพลิเคชัน ‘เป๋าตัง’ 
  2. รับเงินคืน 15% สูงสุด 4,500 บาท เมื่อเติมเงินเข้ากระเป๋า G-Wallet และใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชัน ‘เป๋าตัง’ 

 

ทำไมถึงต้องมีมาตรการ ‘ชิมช้อปใช้’

กระตุ้นให้เกิดการบริโภคภายในประเทศ กระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน การลงทุนภาครัฐ การส่งออกสุทธิ รัฐบาลมีเป้าหมายว่ามาตรการนี้จะทำให้มีเงินหมุนเวียน 3 แสนล้านบาท ในกรณีที่ใช้งบการลงทุนถึง 19,000 ล้านบาท แต่ในกรณีที่ใช้งบประมาณไม่หมด จะมีเงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจเพียงแค่ 60,000 ล้านบาท เนื่องจากประชาชนมีค่าเฉลี่ยในการท่องเที่ยวอยู่เพียง 5,000 บาทต่อทริป (ผลการวิเคราะห์จาก TMB Analytics)

 

ผลลัพธ์ที่ได้

จากข้อมูลในวันที่ 10 ตุลาคม 2562 ยอดใช้จ่ายอยู่ที่ 5,634 ล้านบาท มีคนมาใช้สิทธิ์ประมาณ 5.9 ล้านคน คนนิยมนำไปใช้จ่ายในการ ‘ช้อป’ มากที่สุดจำนวนกว่า 3,000 ล้านบาท รองลงมาคือ ‘ชิม’ หมวดร้านอาหารทั่วไป จำนวนประมาณ 741 ล้านบาท และ ‘ใช้’ อีกประมาณ 72 ล้านบาท รวมถึงร้านอื่นๆ ทั่วไป ที่ไม่ได้รวมอยู่ในหมวดชิมช้อปใช้ จำนวน 1,578 ล้านบาท ซึ่ง 20% ถูกใช้จ่ายไปกับร้านค้ารายใหญ่ และอีก 80%ใช้กับร้านค้ารายย่อย เช่น ร้านในกลุ่ม OTOP ร้านวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งร้านธงฟ้าประชารัฐ 

 

มีการใช้สิทธิ์ในแบบแรกเป็นจำนวน 5,577 ล้านบาท และแบบที่สองเพียง 57 ล้านบาท 

 

โดยจังหวัดที่มีการใช้จ่ายมากที่สุด ได้แก่ กรุงเทพฯ 700 ล้านบาท, ชลบุรี 300 ล้านบาท, สมุทรปราการ 235 ล้านบาท และรองลงมาคือ ปทุมธานี 172 ล้านบาท 

 

ปัญหาต่างๆ ที่เกิด

  • การระบุตัวตนผ่านแอปพลิเคชัน ต้องถ่ายรูปยืนยันตัวตนผ่านโทรศัพท์ให้ตรงกับหน้าบัตรประชาชน ซึ่งบางคนมีปัญหาบัตรประชาชนรูปไม่ชัด สีซีด ทำให้ไม่สามารถระบุตัวตนได้
  • ปัญหาด้านเทคนิคระบบแอปพลิเคชัน ไปถึงหน้าร้านค้าที่ต่างจังหวัดแล้ว แต่ไม่สามารถจ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชันได้
  • การลงทะเบียน เปิดให้ลงทะเบียนในเวลาเที่ยงคืน ซึ่งบางท่านไม่สะดวกตื่นขึ้นมาลงทะเบียนได้
  • ปัญหาจากผู้ประกอบการ ลูกค้าจ่ายเงินผ่านแอปพลิเคชันแล้วเงินไม่เข้าบัญชี ส่งผลให้มีร้านค้าบางร้านถอนตัว
  • ปัญหาจากจุดรับชำระเงินของร้านค้าใหญ่ เกิดภาพการต่อแถวยาวและทิ้งรถเข็นช้อปปิ้งในห้างขนาดใหญ่ในกระแสโซเชียล เนื่องจากทางธนาคารกรุงไทย จำกัดจุดชำระเงินของร้านค้าขนาดใหญ่ เพื่อให้รายได้กระจายตัวไปสู่ร้านค้ารายย่อย
  • ปัญหาจากการส่งเสริมการขายจากร้านค้า ร้านค้ารายย่อยกระตุ้นให้ลูกค้ามาใช้เงินกับร้านค้าโดยให้เงินสดกลับทันที 1,000 บาท
  • ร้านค้ารายใหญ่ ให้คูปองส่วนลดกับลูกค้าที่มาใช้เงินกับทางร้าน ซึ่งรัฐบาลก็ออกมาแถลงว่าไม่อนุมัติ

 

ประเทศได้อะไรจากสิ่งนี้

ค่าใช้จ่ายในการบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้น แต่เป็นการอัดฉีดแบบระยะสั้น สภาพคล่องทางการเงินทางเศรษฐกิจดีขึ้น ผู้ประกอบการรู้จักวิธีการใช้ระบบการเงินออนไลน์มากขึ้น ส่งเสริม Cashless Society และยังมีผลประกอบการที่ชัดเจนใน Statement ส่งผลให้การทำธุรกรรมทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็น กู้ยืมธนาคาร หรือการลงทุน เป็นไปได้ง่ายขึ้น

 


 

สามารถฟังพอดแคสต์ The Secret Sauce
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย

 


 

Credits

 

The Host นครินทร์ วนกิจไพบลูย์

Co-host ชุตินันท์ สงวนประสิทธิ์

Show Creator นครินทร์ วนกิจไพบูลย์

Show Producers เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์, ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor อสุมิ สุกี้คาวา

Shownote ณัฏฐนิช ผิวสว่าง

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Marketing & Coordinator อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์

Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

  • LOADING...

READ MORE

MOST POPULAR



Close Advertising
X