×

จับตาเลือกตั้งสหรัฐฯ 2020 เปลี่ยนทิศการค้าโลก เร่งไทยสร้างสมดุลกับมหาอำนาจ-ประเทศเพื่อนบ้าน

04.11.2020
  • LOADING...
สมภพ มานะรังสรร จับตาเลือกตั้งสหรัฐฯ 2020 เปลี่ยนทิศการค้าโลก เร่งไทยสร้างสมดุลกับมหาอำนาจ-ประเทศเพื่อนบ้าน

สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า

 

การเลือกตั้งสหรัฐอเมริกาครั้งนี้ ผู้นำที่ชนะการเลือกตั้งจะส่งผลต่อการค้าโลก จากนโยบายที่แตกต่างกัน โดยหากโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับพลิกันชนะ จะยิ่งส่งผลให้เกิดความแตกต่างทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และความมั่นคงพร้อมๆ กัน ซึ่งจะทำให้ไทยดำเนินมาตรการต่างๆ ยากขึ้น ภายใต้นโยบายของสหรัฐฯ ที่จะมีมิติซับซ้อนยิ่งขึ้น

 

ที่ผ่านมาจะเห็นชัดในหลายกรณี โดยทรัมป์จะมุ่งสนใจในสหรัฐฯ เป็นหลัก และเมื่อยอมรับระบบการเมืองที่แตกต่างไม่ได้ จะส่งผลต่อนโยบายด้านอื่นๆ เช่น กรณี Huawei ที่เกี่ยวพันกับปัญหาเรื่องความมั่นคง หรือการใช้นโยบายทางเศรษฐกิจเพื่อรองรับนโยบายด้านความมั่นคง ซึ่งทำให้เกิดความซับซ้อนยิ่งขึ้น  

 

ขณะที่โจ ไบเดน จากพรรเดโมแครต มีนโยบายที่จะนำสหรัฐฯ กลับสู่เวทีโลก เช่น WTO, CPTPP, WHO ฯลฯ ซึ่งหากไบเดนชนะการเลือกตั้ง จะมีนโยบาย The Green New Deal ที่จะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความยั่งยืนไปพร้อมกัน นอกจากนี้ยังมีการลงทุนระยะสั้น มูลค่า 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน, โอบามาแคร์ รวมถึงพลังงานทางเลือก ซึ่งสอดคล้องกับหลายประเทศที่มีเป้าหมายในการลดปัญหาโลกร้อนและอื่นๆ 

 

นอกจากนี้มองว่า หากไบเดนชนะการเลือกตั้ง จะเกิดความร่วมมือเรื่องวัคซีนขึ้นมา ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงใหญ่ของโลก ดังนั้นมองว่ากรณีภูมิศาสตร์การเมืองจะลดลง

 

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าใครจะชนะการเลือกตั้งผู้นำสหรัฐฯ ครั้งนี้ การค้าระหว่างประเทศจะเปลี่ยนไป ส่วนหนึ่งเพราะแต่ละประเทศมีการป้องกันตนเองมากขึ้น (นโยบายเติบโตจากภายในประเทศ) รวมถึงจีนที่จะออกมาลงทุนนอกประเทศมากขึ้น ย่อมมีโอกาสที่จะทำให้การค้าระหว่างประเทศลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญให้การค้าโลกขยายตัว ดังนั้นความท้าทายหลักของไทยคือ จะร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน และสร้างความสัมพันธ์กับหลากหลายประเทศ รวมถึงการสมดุลกับประเทศมหาอำนาจในหลายมิติ (รวมถึงเศรษฐกิจ) หลังจากนี้อย่างไร 

 

โดยเฉพาะประเทศจีน ที่มุ่งเน้นนโยบาย Dual Circulation การหมุนเวียนสองทาง ซึ่งจะมุ่งเน้นบทบาทในประเทศเป็นหลัก โดยมีปัจจัยรอบนอกเพื่อรับใช้กลไลในประเทศ ดังนั้นจะเห็นการเร่งพัฒนาและกระตุ้นเศรษฐกิจในจีนอย่างต่อเนื่อง เช่น การพัฒนาภาคบริการ, การเงิน, การเชื่อมโครงสร้างพื้นฐานในแต่ละมณฑล 

 

ที่ผ่านมา ประเทศจีนมีการส่งออก 34% ต่อจีดีพี โดยปี 2562 ที่ผ่านมา ลดลงมาสู่ระดับ 17% ต่อจีดีพี และตั้งเป้าหมายในระยะสั้นว่าจะลดการส่งออกให้เหลือหลักเดียวต่อจีดีพีเท่านั้น

 

จากทั้งหมดนี้จะสร้างให้เกิดการพึ่งพาตนเอง และเกิดจุดคุ้มทุนในประเทศได้ แต่จะส่งผลให้เกิดการตั้งการ์ดสูงขึ้นทั่วโลก ที่จะเริ่มมองแนวทางอย่างจีน ที่จะเน้นเรื่องในประเทศ อาจจะมากกว่าการส่งออก ซี่งทำให้การค้าทั่วโลกชะลอตัว ซึ่งปัจจัยที่สนับสนุนนโยบายนี้มาจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้ต้องพึ่งในประเทศอยู่แล้ว

ดังนั้น ประเทศไทยต้องปรับตัวในหลายด้าน ซึ่งรวมถึงการพึ่งพาตนเอง หรือปัจจัยในประเทศอย่างการบริโภคยิ่งขึ้น โดยจะพึ่งพิงแต่การส่งออกและการท่องเที่ยวที่เป็นสัดส่วนหลักของจีดีพี หรือพึ่งพิงสินค้าและการผลิตอย่างเดียวไม่ได้ เพราะหากเกิดสถานการณ์ที่ต่างประเทศซบเซา ไทยจะได้รับผลกระทบด้วย 

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อไทยยังต้องพึ่งพาต่างประเทศ หากต้องตอบโจทย์การบริโภค ตลาดหลักคงหนีไม่พ้นประเทศจีน ดังนั้นมี 2 ตัวแปรที่ต้องติดตามคือ พฤติกรรมการบริโภค และไลฟ์สไตล์การบริโภคของคนจีน ซึ่งไทยอาจจะต่อยอดเพิ่มมูลค่าในสิ่งที่มีอยู่เดิมได้มากขึ้น โดยต้องเกิดจากจุดแข็งของประเทศไทยด้วย เช่น 

 

  • อุตสาหกรรมอาหารกับสินค้าเกษตรต้องเพิ่มมูลค่า
  • ธุรกิจเฮลท์แคร์ ต้องมุ่งการเพิ่มมูลค่า เช่น เวชภัณฑ์ เครื่องมือต่างๆ 
  • เทรนด์การพักผ่อนหย่อนใจที่จะขยายตัว เช่น Wellness ฯลฯ
  • เทรนด์เทคโนโลยีต่างๆ 
  • และอื่นๆ

 

พิสูจน์อักษร: วรรษมล สิงหโกมล

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising