×
SCB Omnibus Fund 2024

สรุปประเด็นการลงทุนที่ต้องจับตาในช่วง 14-18 มิถุนายน 2564 พร้อมทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ

14.06.2021
  • LOADING...
สรุปประเด็นการลงทุนที่ต้องจับตาในช่วง 14-18 มิถุนายน 2564 พร้อมทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ

HIGHLIGHTS

  • จับตาการประชุม Fed ช่วงกลางสัปดาห์ ว่าจะมีการส่งสัญญาณ QE Tapering รวมถึงตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ อย่างไร
  • หุ้นยุโรปยังเป็นตลาดที่น่าสนใจลงทุนสุด ทั้งในเชิงของความผันผวนที่ต่ำกว่าตลาดอื่น และ EPS มีแนวโน้มเติบโตโดดเด่น ขณะที่ ECB ยังผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อเนื่อง
  • ทองคำยังมีความเสี่ยงจากเงินดอลลาร์ที่มีแนวโน้มแข็งค่า หลังเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวดีขึ้นชัดเจน ทำให้ Fed อาจใช้นโยบายการเงินตึงตัวเร็วขึ้น

เหตุการณ์สำคัญรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

เงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือนพฤษภาคมพุ่ง 5% สูงเกินคาด

 

ตัวเลขเงินเฟ้อที่ออกมาแม้จะสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้ และเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2008 แต่ตลาดการเงินไม่ตกใจ สะท้อนภาพจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ลดลงต่ำกว่า 1.5% ต่ำสุดในรอบ 3 เดือน ซึ่งอาจสะท้อนมุมมองของตลาดว่า 

 

  1. เงินเฟ้อสูงเป็นเรื่องชั่วคราว 

 

  1. แนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคตยังคงไม่แข็งแกร่ง นโยบายการเงินยังคงจะผ่อนคลายต่อไป 

 

อย่างไรก็ตามความเสี่ยงเงินเฟ้อยังไม่จบ โดยตลาดคาดเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือนมิถุนายนจะ +5.7% ทำสถิติสูงสุดใหม่อีกครั้ง

 

ประเด็นการลงทุนที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

 

  1. การประชุมคณะกรรมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ โดยต้องติดตามการส่งสัญญาณ QE Tapering รวมถึงตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ

 

  1. การประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของจีน (Date Dump) เดือนพฤษภาคม ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงจากเดือนเมษายน

 

  1. การประชุม G7 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 11-13 มิถุนายน โดยจะมีการหารือเรื่องการแบ่งปันวัคซีนโควิด-19 จำนวน 1 พันล้านโดสให้ประเทศยากจน

 

มุมมองต่อตลาดต่างๆ 

 

ตลาดหุ้นพัฒนาแล้ว

 

 

ตลาดยังได้รับแรงหนุนจากการดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่ผ่อนคลาย ความคืบหน้าการฉีดวัคซีน และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่มีแนวโน้มออกมาดีกว่าที่คาด

 

อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นพัฒนาแล้วมีแนวโน้มผันผวนในระยะสั้นจากการเกิด Sector Rotation หลัง Valuation ในบาง Sector ที่เริ่มตึงตัว และความกังวลต่ออัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น รวมถึง Bond Yield อายุ 10 ปีของสหรัฐฯ ที่ยังมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น

 

กองทุนแนะนำ

 

 

  • SCB Global Experts Fund หรือ SCBGEX(A) 

กองทุน SCBGEX(A) เป็นกองทุนหุ้นทั่วโลกที่ลงทุนในสไตล์ Core-Satellite Portfolio คัดเลือกกองทุนโดยบริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ ซึ่งกองทุนหลัก (Core) ลงทุนในกองทุน Julius Baer Global Excellence Equity เน้นลงทุนในหุ้นคุณภาพ เติบโต และกำไรสูง และกองทุนเสริม (Satellite) ในหุ้นธีมเมกะเทรนด์หลักของโลก

 

 

  • TMB Global Quality Growth Fund หรือ TMBGQG 

กองทุน TMBGQG ลงทุนในกองทุน Wellington Global Quality Growth Fund ซึ่งเป็นกองทุนหุ้นของบริษัทขนาดใหญ่คุณภาพดีทั่วโลก คัดเลือกหุ้นที่มีโอกาสเติบโตสูง กระแสเงินสดอิสระ (Free Cash Flow) มีคุณภาพ มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ

 

 

ดัชนีมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากความคืบหน้าการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 การทยอยเปิดเมือง และข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวดีขึ้น รวมทั้งมาตรการกระตุ้นจากแผนการลงทุนระยะยาวของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ซึ่งจะส่งผลบวกกับหุ้นกลุ่มวัฏจักรที่ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ 

 

ขณะที่ความเสี่ยงในการขึ้นภาษีตามข้อเสนอประธานาธิบดีไบเดนเริ่มลดลง อย่างไรก็ตามตลาดหุ้นสหรัฐฯ โดยเฉพาะกลุ่ม Growth มีแนวโน้มถูกกดดันจากความกังวลแรงกดดันเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ Fed อาจส่งสัญญาณลดการผ่อนคลายทางการเงินลง และทำให้ Bond Yield ระยะยาวสหรัฐฯ มีแนวโน้มทยอยปรับเพิ่มขึ้น

 

กองทุนแนะนำ

 

 

  • SCB US Equity DJI Fund หรือ SCBDJI(A)

กองทุน SCBDJI(A) เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ โดยลงทุนเพื่อให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนี Dow Jones Industrial Average ประกอบด้วยหุ้นขนาดใหญ่ 30 บริษัท ซึ่งเป็นธุรกิจชั้นนำของประเทศและผู้นำในอุตสาหกรรมต่างๆ

 

 

  • KTAM Thematic Trigger Fund6 หรือ KT-TMT6

กองทุน KT-TMT6 (IPO 15-21 มิถุนายน) เป็นกองทุน Trigger Fund ที่ตั้งเป้าหมายผลตอบแทน 7% ภายในระยะเวลา 7 เดือน เน้นลงทุนในหุ้นทั่วโลก โดยลงทุนแบบ Thematic Investment ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนตามผู้จัดการกองทุนที่มีการวิเคราะห์หาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก (Mega Trend) โดยเบื้องต้นในกองทุนนี้จะลงทุนธีม Post COVID-19 Recovery 

 

ตลาดหุ้นยุโรป

 

 

มูลค่าตลาดหุ้นยุโรปยังน่าสนใจ และมีความผันผวนต่ำกว่าเมื่อเทียบกับตลาหุ้นพัฒนาแล้ว อีกทั้งอัตราส่วนกำไรต่อราคาหุ้น (EPS) ในปี 2021 และ 2022 มีแนวโน้มเติบโตโดดเด่น เศรษฐกิจได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นการคลัง และ ECB ยังคงซื้อสินทรัพย์ผ่านมาตรการ PEPP ต่อเนื่อง

 

นอกจากนี้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) คาด GDP ของยูโรโซนในปีนี้และปีหน้าจะขยายตัว 4.2% และ 4.1% ตัวเลขเศรษฐกิจ เช่น PMI ภาคการผลิตที่ฟื้นตัวชัดเจน ความคืบหน้าการฉีดวัคซีนเด่นชัด และแผนการเปิดประเทศ รวมทั้งการท่องเที่ยวที่หนุนการฟื้นตัวภาคบริการ

 

กองทุนแนะนำ

 

 

  • SCB European Equity Fund หรือ SCBEUEQ

กองทุน SCBEUEQ เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นทวีปยุโรป โดยลงทุนเพื่อให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนี STOXX Europe 600 ซึ่งประกอบด้วยหุ้นในทวีปยุโรปจำนวน 600 บริษัท ทั้งหุ้นขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่

 

 

  • MFC Continental European Equity Fund หรือ MEURO

กองทุน MEURO ลงทุนในกองทุน BGF Continental European Flexible Fund ซึ่งลงทุนในหุ้นยุโรปภาคพื้น (ไม่รวมสหราชอาณาจักร) โดดเด่นในการสร้างผลตอบแทนย้อนหลัง รวมทั้งลงทุนแบบยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนสไตล์การลงทุนและขนาดของหุ้นได้ตามสภาวะตลาด

 

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น

 

 

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ประเมินเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวขึ้นแล้วในหลายภูมิภาค และยังได้รับอานิสงส์จากวัฏจักรเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการผลิตโลกที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) มีแนวโน้มออกมาดี 

 

ขณะที่การปรับเพิ่มขึ้นของ Bond Yields ไม่ส่งผลต่อตลาดหุ้นญี่ปุ่น เนื่องจาก BOJ ใช้มาตรการ Yield Curve Control 

 

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากเงินเยนที่อ่อนค่าที่ช่วยหนุนหุ้นกลุ่มส่งออกของญี่ปุ่น และแนวโน้มการจัดโตเกียวโอลิมปิกในระยะต่อไป

 

กองทุนแนะนำ

 

 

  • SCB Japan Equity Fund หรือ SCBNK225

กองทุน SCBNK225 เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นญี่ปุ่น โดยลงทุนเพื่อให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนี Nikkei 225 ซึ่งประกอบด้วยหุ้นของบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมต่างๆ ของญี่ปุ่น จำนวน 225 บริษัท

 

ตลาดหุ้นจีน

 

 

ทางการจีนมีแนวโน้มทยอยออกมาตรการต่างๆ ที่สอดรับตามแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน (บจ.) จีนในไตรมาสแรกปี 2021 ที่ออกมาดีกว่าคาด รวมทั้ง Sentiment ของนักลงทุนรายย่อยจีนที่ดีขึ้น และอานิสงส์จากการปรับปรุงดัชนี HSI และ HSCEI (เพิ่มสัดส่วนกลุ่ม New Economy) ช่วยหนุนภาพการฟื้นตัวทั้ง A-shares และ H-shares 

 

ประกอบกับแรงกดดันเงินเฟ้อที่มาจากการเร่งตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์เริ่มลดลง และค่าเงินหยวนที่มีแนวโน้มทยอยแข็งค่าขึ้นเทียบเงินดอลลาร์สหรัฐ แม้ความไม่แน่นอนในการออกกฎระเบียบที่เข้มงวดขึ้นในประเด็น Education/Fintech/Antitrust ยังคงมีอยู่ แต่ตลาดได้ซึมซับความเสี่ยงดังกล่าวไปพอสมควรแล้ว สะท้อนจากการลดลงของดัชนีและ Valuation ของหุ้นในช่วงที่ผ่านมา

 

กองทุนแนะนำ

 

 

  • SCB China A-Shares Fund หรือ SCBCHA

กองทุน SCBCHA เป็นกองทุนที่ลงทุนในหุ้นจีน A-Shares โดยลงทุนเพื่อให้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนี CSI 300 ซึ่งประกอบด้วยหุ้นของบริษัทที่มีการซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้และเซินเจิ้น ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดจำนวน 300 บริษัท คาดหวังผลตอบแทนใกล้เคียงกับผลตอบแทนโดยรวมของหุ้นจีน A-Shares

 

  • SCB Active All China Equity Fund หรือ SCBCHINA

 

กองทุน SCBCHINA ลงทุนในกองทุน UBS (Lux) Equity SICAV – All China Fund ซึ่งลงทุนในหุ้นจีน ทั้งที่ซื้อขายในประเทศจีน (Onshore) และนอกประเทศจีน (Offshore) เช่น ฮ่องกง มีความยืดหยุ่นในการเลือกลงทุน เน้นคัดเลือกหุ้นที่มีศักยภาพเติบโตได้สูงในอนาคตจำนวน 20-50 บริษัท

 

ตลาดหุ้นไทย

 

 

ตลาดหุ้นไทยยังมีความน่ากังวลจากการระบาดรอบใหม่ของโรคโควิด-19 และ Valuation เริ่มตึงตัว ขณะที่การฉีดวัคซีนยังล่าช้า อย่างไรก็ดีนักลงทุนคาดหวังต่อการทยอยเปิดเศรษฐกิจ มาตรการกระตุ้นและการเร่งฉีดวัคซีนภายในประเทศ 

 

ทั้งนี้ ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ไทยในไตรมาสแรกปี 2021 ยังมีแนวโน้มออกมาดี นอกจากนี้ ตลาดหุ้นไทยยังมีสัดส่วนหุ้นกลุ่ม Value และ Cyclical ค่อนข้างสูง ทำให้ดัชนีได้รับอานิสงส์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ รวมทั้งราคาน้ำมันดิบที่มีแนวโน้มทยอยฟื้นตัว

 

 

การลงทุนทางเลือก

 

ทองคำ

 

 

ราคาทองคำมีแนวโน้มถูกกดดันจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อาจทำให้ค่าเงินดอลลาร์เริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้น ความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้ Fed กลับมาใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวเร็วกว่าที่คาด และจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้น

 

 

  • ไม่มีกองทุนแนะนำ

 

น้ำมัน

 

 

อุปสงค์น้ำมันที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นหลังการฉีดวัคซีนมีความคืบหน้า โดยเฉพาะในสหรัฐฯ และยุโรปที่เริ่มคลายล็อกดาวน์ และกิจกรรมการเดินทางทยอยฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติ 

 

รวมทั้งมติการประชุม OPEC+ ที่จะปรับเพิ่มกำลังการผลิตอย่างค่อยเป็นค่อยไป และ OPEC+ คาดการณ์ว่า ความต้องการน้ำมันจะเพิ่มขึ้นอีก 6 ล้านบาร์เรลต่อวันภายในปีนี้

 

อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันอาจปรับเพิ่มขึ้นจำกัดจากความกังวลการแพร่ระบาดในอินเดีย และบริษัทน้ำมันรายใหญ่ยังถูกกระแสกดดันให้มีมาตรการในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้นกว่านี้

 

กองทุนแนะนำ

 

 

  • SCB Oil Fund หรือ SCBOIL

กองทุน SCBOIL ลงทุนในกองทุน Invesco DB Oil Fund ซึ่งลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบ West Texas Intermediate (WTI) โดยมุ่งหวังผลตอบแทนจากการลงทุนให้ใกล้เคียงกับการลงทุนในน้ำมันดิบ West Texas Intermediate (WTI)

 

REITs และ Infrastructure Fund

 

 

ผลประกอบการของ REITs เริ่มมีสัญญาณบวกมากขึ้นจากการที่ประเทศต่างๆ เริ่มทยอยกลับมาเปิดประเทศ สำหรับ REITs ไทยได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว Valuation ยังไม่แพง หากพิจารณาจาก Dividend Yield Gap ราคาปัจจุบันยัง Laggard REITs ต่างประเทศและหุ้นไทยอยู่มาก 

 

นอกจากนี้ Dividend Yield ยังมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น หากไม่เกิด Hard Lockdown ที่รุนแรง อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อและความล่าช้าในการฉีดวัคซีนยังเป็นปัจจัยกดดันราคาในระยะสั้น

 

กองทุนแนะนำ

 

 

  • SCB Property and Infrastructure Flexible Fund หรือ SCBPINA

กองทุน SCBPINA เป็นกองทุนที่คัดเลือกลงทุนใน Property Fund REITs และ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานทั้งของไทยและสิงคโปร์ โดยคัดเลือกกองทุนในกลุ่มอุตสาหกรรม (Sector) ที่มีโอกาสเติบโต มีสภาพคล่อง และคาดว่าจะสามารถจ่ายเงินปันผลได้อย่างสม่ำเสมอ 

 

ผู้เขียน

 

ศรชัย สุเนต์ตา, CFA 

กรรมการผู้จัดการ Chief Investment Office, SCBS

 

สุกิจ อุดมศิริกุล

กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย

นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

 

ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์

ผู้อำนวยการอาวุโส

นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

 

สิทธิชัย ดวงรัตนฉายา

ผู้อำนวยการอาวุโส

นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

 

ณัฏฐ์วริน ไตรภพสกุล

ผู้อำนวยการอาวุโส

นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

 

เรวัฒิ เจริญเชื้อ

ผู้ช่วยนักวิเคราะห์

ฝ่ายวิจัยการลงทุน

 

รุ่งโรจน์ เสกสรรค์วิริยะ, CFA 

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ Chief Investment Office, SCBS

 

เกษรี อายุตตะกะ CFP®

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ Chief Investment office, SCBS

 

ดร.ธนพล ศรีธัญพงศ์ AFPTTM

ผู้อำนวยการอาวุโส Chief Investment office, SCBS

 

จตุรภัทร ทนาบุตร 

ผู้จัดการ Chief Investment office, SCBS

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising