นับตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 1931 ที่นิตยสาร National Geographic ยอมเทพื้นที่มากกว่า 60 หน้าให้กับ ดร.โจเซฟ ร็อก ได้เขียนเรื่องราวทุกแง่มุมและเผยภาพถ่ายสวยบริสุทธิ์ของเขตอนุรักษ์ธรรมชาติย่าติง (Yading Nature Reserve) โลกก็ได้รู้จักกับชื่อของย่าติงอย่างเป็นทางการ
เสน่ห์อันเร้นลับของย่าติงที่ชาวทิเบตซุกซ่อนอยู่ในหุบเขาหิมะนานหลายร้อยปีถูกคลี่ออกให้ชาวโลกได้เห็นความงดงามอันผุดผ่องอย่างหมดเปลือก นับแต่นั้นมา ย่าติงก็หัวกระไดไม่แห้ง อย่าว่าแต่นักเดินทางจากทั่วมุมโลกเลย แม้แต่ลูกหลานชาวมังกรยังแห่แหนมาที่นี่กันชนิดหัวกระไดย่าติงไม่เคยแห้ง
นักสำรวจและนักพฤกษศาตร์ชาวอเมริกันที่เข้ามาสำรวจแถวอนุรักษ์ธรรมชาติย่าติงตั้งแต่ปี 1928 ก็ถือว่าเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่เข้ามาป้วนเปี้ยนสำรวจแถวมณฑลยูนนานและเสฉวนอย่างจริงจัง แต่สำหรับชาวทิเบตในแคว้นคัม (Kham) แห่งมณฑลเสฉวนแล้ว พวกเขาต่างรู้กันดีมานานแล้วว่าย่าติงนั้นงดงามแค่ไหน
เมื่อสาวงามถูกแหวกผ้าคลุมออก คำถามมากมายจึงเกิดขึ้นกับย่าติงว่าจะสามารถรักษาความบริสุทธิ์ผุดผ่องไว้ได้นานแค่ไหน
หรือที่นี่จะเป็นแชงกรีลา (Shangri-La) สวรรค์บนดิน ตามที่เจมส์ ฮิลตัน นักเขียนชาวอังกฤษได้ร่ายตัวอักษรลงบนหนังสือเรื่อง Lost Horizon เมื่อปี 1933 เขาได้เอื้อนเอ่ยถึงดินแดนลี้ลับที่ซ่อนตัวอยู่ในหุบเขาจนโลกภายนอกไม่เคยล่วงรู้ถึงความงดงามของสถานที่แห่งนี้
แต่นับจากวันนั้นถึงวันนี้ เกือบ 90 ปีแล้วที่นักเดินทางรู้จักและเข้าถึงเนื้อถึงตัวย่าติง แต่ย่าติงก็ยังคงปรนเปรอธรรมชาติอันงดงามให้นักเดินทางได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง
ในเวลาเดียวกัน ยิ่งผู้คนรู้จักย่าติงมากขึ้น ย่าติงก็ถูกตั้งคำถามว่า หรือที่นี่จะเป็นแชงกรีลา (Shangri-La) สวรรค์บนดินตามที่เจมส์ ฮิลตัน นักเขียนชาวอังกฤษได้ร่ายตัวอักษรลงบนหนังสือเรื่อง Lost Horizon เมื่อปี 1933 ตอนนั้นเขาได้เอื้อนเอ่ยถึงดินแดนลี้ลับที่ซ่อนตัวอยู่ในหุบเขาจนโลกภายนอกไม่เคยล่วงรู้ถึงความงดงามของสถานที่แห่งนี้
จะใช่หรือไม่ใช่ก็ช่าง แต่เมืองหน้าด่านของการทำความรู้จักกับย่าติงที่เดิมทีเคยชื่อยื่อหวา (Riwa) ก็ถูกทางการจีนเปลี่ยนเป็นแชงกรีลาทาวน์ (Shangri-La Town) ไปเรียบร้อยโรงเรียนจีนแล้ว
ที่จริงประตูด่านแรกของย่าติงน่าจะเป็นเมืองเต้าเฉิง (Daocheng) เสียมากกว่า เพราะไม่ว่าใครจะมาจากเฉินตู ซีอาน หรือฉงชิ่ง และมาด้วยวิธีไหน ทั้งรถบัสไปยันเหาะเหินเดินอากาศ ก็ต้องมาแลนดิ้งที่เมืองเต้าเฉิงก่อน เมืองนี้น่ากลัวมาก
แต่เมื่อเห็นความงดงามของทะเลสาบไข่มุก น้ำสีเขียวๆ ยอดเขาสูงกว่า 6,000 เมตร และริ้วธงมนตรา แค่นี้ความเหนื่อยล้าก็ยอมสลายตัว
ไม่ได้มีโจรขโมยชุกชุมอะไร แต่ระดับความสูงของเต้าเฉิงที่มากกว่า 3,700 เมตรจากระดับน้ำทะเล ทำให้เมืองนี้ไม่น่าคบหาน่านอนสักเท่าไร ยิ่งตอนบินมาถึง เมื่อสองเท้าของฉันทาบลงบนสนามบินเต้าเฉิงที่สูงกว่า 4,400 เมตร หายใจแทบไม่ทันกันเลยทีเดียว อย่างเดียวที่ทำได้คือทำอะไรให้ช้าที่สุด และหายใจเข้าออกให้ลึกสุดหยั่ง
จีนประกาศเสียงดังมากว่านี่คือสนามบินที่สูงที่สุดในโลก ไม่มีใครกล้าเถียงลูกหลานท่านประธานเหมา เพราะสนามบินเอล อัลโตแห่งโบลิเวียที่เคยสูงที่สุดในโลก 4,000 เมตร เป็นแค่อดีตเจ้าของสถิติไปแล้ว
นักเดินทางส่วนใหญ่เมื่อมาถึงย่าติงจึงรีบเผ่นหนีความสูงของเต้าเฉิงไปนอนพักกันที่ยื่อหวาที่สูงน้อยกว่า จะให้ดีอย่ารีบมารีบไปรีบเที่ยว เผื่อเวลาไว้บ้างจะดีมาก เพราะหลายคนมาแล้วป่วยหลังจากถูกอาการ Attitude Sickness โจมตี กลายเป็นหมดสนุกไป จะให้ดีเผื่อเวลาไว้สัก 4 วัน 3 คืนกำลังดี วันแรกมาถึงนอนเอกเขนกปรับตัวให้คุ้นชินกับความสูงเสียก่อน ทำอะไรช้าๆ ใช้ชีวิตเนิบนาบ พอวันรุ่งขึ้นค่อยมุ่งหน้าเข้าสู่เขตอนุรักษ์ย่าติง
ด้านในของย่าติงค่อนข้างกว้างมาก และมีเส้นทางเดินเท้าศึกษาธรรมชาติหลายเส้นทาง ต้องวางแผนให้ดี แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น ต้องฝ่าด่านนักท่องเที่ยวชาวจีนไปขึ้นรถของย่าติงให้ได้ก่อน
จากจุดซื้อตั๋วต้องเดินไต่ความสูงขึ้นไปจุดจอดรถ ที่นี่ห้ามรถส่วนตัวขึ้น นักท่องเที่ยวทุกคนต้องขึ้นรถของทางศูนย์ไปอีก 1 ชั่วโมง เพื่อไปถึงมุมที่เป็นศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยว แต่อย่าหวังว่าเจ้าหน้าที่จะให้ข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษได้ เพราะทุกคนสปีกไชนีสกันหมด
แล้วทะเลสาบน้ำนมก็สมนาคุณคนเดินช้าด้วยวิวทิวทัศน์ที่เห็นแล้วพูดได้คำเดียวว่า โลกทั้งใบเกือบหยุดหมุน
จากจุดนี้ ถ้าวันแรกเอาแบบซอฟต์ๆ ก่อน ก็เดินขึ้นวัด Chong Gu ที่สูงกว่า 3,900 เมตร ระยะทางอาจจะไม่ค่อยไกลมากแค่ร้อยสองร้อยเมตร แต่พูดเลยว่าตอนเดินขึ้นนี่หัวใจจะเต้นโครมครามจนข้างๆ อาจได้ยินเสียงได้
อารามอายุเกือบ 800 ปีแห่งนี้ตั้งอยู่ตั้งตีนเขา มีพระจำวัดอยู่ไม่กี่รูป สมัยก่อนนักเดินสะพายเป้สามารถพักที่วัดนี้ได้ แต่เดี๋ยวนี้ไม่อนุญาตให้ทำอย่างนั้น ด้านในของอารามแห่งนี้มีความงดงามปรากฏอยู่รอบตัว ทั้งผนัง เพดาน ประตู หน้าต่าง เป็นภาพวาดในเชิงศาสนาและความเชื่อของชาวทิเบต และบังเอิญเข้าวัดไปในจังหวะดี จึงได้เห็นพระทิเบตกำลังนั่งสวดมนต์อยู่ในห้องสวดมนต์ เพียงเท่านี้ก็สัมผัสได้ถึงความเข้มขลังของวัด Chong Gu
ด้านหน้าของวัดจะมีกองหินและริ้วธงมนตราที่ชาวทิเบตนำมาวางไว้เพื่อบูชาเทพเจ้าของพวกเขา มองไปรอบวัดก็จะรู้เลยว่าวัดนี้ตั้งอยู่ท่ามกลางทิวเขาที่งดงามมาก และแค่ไม่ถึง 200 เมตรจากตีนเขาไปจนถึงวัดก็หอบไม่เป็นทรงแล้ว เพราะสองเท้ากำลังย่างลงบนระดับความสูงราว 3,900 เมตร แน่นอนว่าจุดหมายข้างหน้าคือทะเลสาบไข่มุกที่สูงกว่า 4,000 เมตร
ตัวเลขระยะทางอาจไม่เท่าไร แต่การเดินไต่อยู่บนความสูงระดับนี้ แค่ 3 ก้าวก็ต้องหยุดหายใจแล้ว สำหรับคนที่คุ้นชินกับสภาพความสูงแล้ว เขามักทำเวลากันไว้ที่ราวๆ 1 ชั่วโมง แต่สำหรับคนหัวใจเต้นโครมครามง่ายดายอย่างฉัน ขนาดว่าอยู่มาหลายวันจนน่าจะคุ้น ยังใช้เวลาไปชั่วโมงเศษ
แต่เมื่อเห็นความงดงามของทะเลสาบไข่มุก น้ำสีเขียวๆ ยอดเขาสูงกว่า 6,000 เมตร และริ้วธงมนตรา แค่นี้ความเหนื่อยล้าก็ยอมสลายตัว นอกจากทะเลสาบไข่มุกแล้ว อีกเส้นทางหนึ่งที่นักเดินเขามาย่าติงแล้วมักเดินเท้าไปหาคือทะเลสาบน้ำนมที่สูงเกือบ 4,500 เมตร และจุดที่เริ่มต้นออกเดินเท้าไปหาทะเลสาบน้ำนมคือทุ่งหญ้าลั่วหลง
แค่ทุ่งหญ้าลั่วหลงยังรั้งทุกคนเอาไว้นานสองนาน เพราะที่นี่สวยงามเกินคำบรรยาย ยิ่งในวันดินฟ้าอากาศเป็นใจด้วยแล้วล่ะก็ ที่นี่จะทำให้นักท่องเที่ยวขลุกอยู่มุมนี้กันครึ่งค่อนวัน ก่อนจะเดินไต่เขาขึ้นไปหาทะเลสาบน้ำนมที่หากใครเดินไม่ไหวจะนั่งม้าขึ้นไปก็ได้
ส่วนฉันน่ะเหรอ ค่อยๆ เดินค่อยๆ ไต่ หายใจลึกสุดหยั่ง และตระหนักอยู่เสมอว่า ในโลกของนักเดินเขา เราไม่ได้ต่อสู้กับตัวเลขระยะทางสูงๆ หรือเนินอันสูงชันของภูเขา แต่เรารบรากับระดับความสูงที่ไม่ปกติต่างหาก แล้วทะเลสาบน้ำนมก็สมนาคุณคนเดินช้าด้วยวิวทิวทัศน์ที่เห็นแล้วพูดได้คำเดียวว่า โลกทั้งใบเกือบหยุดหมุน
- เส้นทางสู่ย่าติง สายการบินแอร์เอเชียมีเที่ยวบินเข้าซีอาน คุนหมิง ดูรายละเอียดที่ www.airasia.com จากนั้นมีเที่ยวบินราคาถูกบินไปลงเต้าเฉิง หรือจะนั่งบัสไปก็ได้ไปตั้งหลักที่จงเตี้ยนก่อน ที่นั่นมีรถบัสวิ่งไปเต้าเฉิงทุกวัน
- ที่พักที่ย่าติงมีเยอะมาก ทั้งที่ยื่อหวา และด้านหน้าทางเข้าย่าติง คลิกไปเลือกได้ที่ www.booking.com หรือ www.agoda.com ดูกันได้