องค์การอนามัยโลก (WHO) ประเมินว่า ในแต่ละปีทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร เพราะ มลพิษทางอากาศ สูงถึง 7 ล้านคน โดยประชากรโลกเกือบ 99% เผชิญปัญหาคุณภาพอากาศย่ำแย่กว่าเกณฑ์มาตรฐานของ WHO ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง
โดยผู้มีปัญหาด้านสุขภาพจำนวนไม่น้อยเกี่ยวข้องกับ ‘ฝุ่นละอองขนาดเล็ก’ (Particulate Matter) โดยเฉพาะ PM2.5 ซึ่งมีส่วนเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคหัวใจ มะเร็งปอด รวมถึงโรคทางเดินหายใจที่รุนแรงและเรื้อรัง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของวิกฤตฝุ่นมาจากภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตร ทั้งจากฝีมือมนุษย์และเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
WHO ระบุว่า เมื่อเดือนเมษายน 2022 ความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 ในไทยสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานของ WHO ถึง 4 เท่า นอกจากนี้ WHO ยังเคยประเมินว่า ยอดผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศในไทยพุ่งสูงกว่า 33,000 คนในปี 2016
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
- พบฝุ่น PM2.5 คุกคามร้ายแรง อนุภาคสะสมอยู่ในสมองจริง
- ปัญหา มลพิษทางอากาศ ทำอายุขัยคนในเอเชียใต้หดสั้นลงมากกว่า 5 ปี
- รายงานเผย มลพิษทางอากาศ ส่งผลกระทบต่อทุกช่วงชีวิตของมนุษย์
ภาพประกอบ: กันยกร กาญจนวิไล
อ้างอิง: