×

ม.หอการค้า เผยดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ส.ค. แตะจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ แนะรัฐเพิ่มวงเงินโครงการคนละครึ่ง

09.09.2021
  • LOADING...
Consumer Confidence Index

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค หรือ Consumer Confidence Index (CCI) เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยพบว่า ดัชนีปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 39.6 จุด จาก 40.9 จุดในเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ดัชนีแตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 22 ปี 11 เดือน นับตั้งแต่เริ่มทำการสำรวจในเดือนตุลาคม 2541 เป็นต้นมา

 

ขณะที่การสำรวจดัชนีอื่นๆ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 33.8 จุด ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวมอยู่ที่ระดับ 36.3 จุด และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 48.6 จุด โดยดัชนีเกือบทุกรายการปรับลดลงเมื่อเทียบกับในเดือนกรกฎาคม 2564 และแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เริ่มทำการสำรวจมา

 

ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนสิงหาคมปรับตัวลดลง คือ ความกังวลต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตา ที่ทำให้ภาครัฐต้องประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์เพิ่มจาก 13 จังหวัด เป็น 29 จังหวัด ซึ่งครอบคลุมขนาดเศรษฐกิจประมาณ 80% ของ​ GDP ส่งผลเชิงจิตวิทยาต่ออารมณ์การใช้จ่ายของประชาชน

 

ขณะเดียวกันยังพบว่าประชาชนเริ่มมีความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางการเมืองและการชุมนุมทางการเมือง ซึ่งอาจทำให้ไทยต้องเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองบนถนนเหมือนเช่นในอดีต

 

อย่างไรก็ดี การประกาศคลายล็อกดาวน์ของภาครัฐ รวมถึงอัตราการฉีดวัคซีนที่ดีขึ้น ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่ออนาคตในช่วงปลายเดือนสิงหาคมปรับตัวดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจจึงได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปีนี้ จากที่เคยมองว่าจะเติบโต -2 ถึง 0% เป็นขยายตัว 0.8 ถึง 1.2% และมีโอกาสที่เศรษฐกิจอาจขยายตัวได้ถึง 2% หากภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม

 

“เรายังเสนอให้ภาครัฐขยับเพดานหนี้สาธารณะเป็น 65-70% ของ GDP เพื่อกู้เงินมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ โดยหนึ่งในมาตรการที่เรามองว่ารัฐควรทำคือการเพิ่มวงเงินในโครงการคนละครึ่งอีกรายละ 3,000 บาท เพราะจะช่วยเพิ่มเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบได้ถึง 1.8 แสนล้านบาท” ธนวรรธน์กล่าว

 

นอกจากนี้ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจยังได้เปิดเผยผลการสำรวจผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ที่มีต่อภาคประชาชนและภาคธุรกิจ ซึ่งจัดทำระหว่างวันที่ 3-6 กันยายนที่ผ่านมา โดยพบว่า 67.2% ของประชาชนกลุ่มตัวอย่างได้รับผลกระทบในเชิงลบจากมาตรการล็อกดาวน์ 64% ของประชาชนกลุ่มตัวอย่างมองว่าภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือไม่เพียงพอหรือน้อยเกินไป และ 46.3% ของประชาชนกลุ่มตัวอย่างไม่พอใจต่อมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล 

 

ขณะที่การสำรวจในภาคธุรกิจพบว่า มีภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากมาตรการล็อกดาวน์ถึง 92.8% เมื่อถามถึงความเพียงพอใจของมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ 87.46% ตอบว่าไม่เพียงพอและน้อยเกินไป และ 70% ตอบว่าไม่พอใจหรือพอใจน้อยต่อมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ

 


 

เตรียมพบกับฟอรัมที่ผู้บริหารต้องดูก่อนวางแผนกลยุทธ์ปีหน้า! The Secret Sauce Strategy Forum คัมภีร์กลยุทธ์ฝ่าวิกฤตปี 2022


📌
เฟรมเวิร์กกลยุทธ์ใช้ได้จริง
📌
ฉากทัศน์เศรษฐกิจไทยโลก
📌
เทรนด์ผู้บริโภคการตลาด
📌
เคสจริงจากผู้บริหาร

 

ซื้อบัตรได้แล้วที่ www.zipeventapp.com/e/the-secret-sauce

 

#TheSecretSauceStrategyForum2022

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X