วันนี้ (30 กรกฎาคม) เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ชี้แจงว่า วัคซีนโควิดชนิด mRNA จาก Pfizer ที่รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำโดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน ขนส่งถึงประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว เพื่อช่วยเหลือพันธมิตรที่เก่าแก่ในย่านอาเซียนอย่างไทยในการจัดการวิกฤตโควิดในปัจจุบันที่ผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ก่อนหน้านี้ แทมมี ดักเวิร์ธ วุฒิสมาชิกสหรัฐอเมริกาจากรัฐอิลลินอยส์ เผยว่า ทางการสหรัฐฯ เตรียมส่งมอบวัคซีนโควิดช่วยเหลือประเทศไทยจำนวนทั้งสิ้น 2.5 ล้านโดส โดยล็อตแรกจะจัดส่งมาไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านโดส โดยการส่งมอบวัคซีนในครั้งนี้ไม่ได้มีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดใดๆ หากเกิดขึ้นจากพื้นฐานความเข้าใจที่ว่า จะไม่มีประเทศไหนปลอดภัยอย่างสมบูรณ์จนกว่าทุกประเทศจะปลอดภัย เข้าถึงวัคซีนได้อย่างเท่าเทียม
คาดการณ์ว่า วัคซีนโควิดชนิด mRNA จาก Pfizer ที่รัฐบาลสหรัฐฯ มอบให้จะเดินทางถึงไทยในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมนี้ โดยคาดว่าจะได้รับการจัดสรรให้เป็นวัคซีนเข็มที่สามหรือวัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster Dose) ให้แก่กลุ่มเสี่ยงที่ทำงานอยู่ด่านหน้า โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่และบุคลาการทางด้านการแพทย์ พยาบาลและสาธารณสุขที่ยังไม่ได้รับวัคซีน AstraZeneca เป็นเข็มกระตุ้น ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค หญิงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป ในพื้นที่ที่มีการระบาดสูง ชาวต่างชาติที่อาศัยในไทยที่เป็นผู้สูงอายุ มีโรคเรื้อรัง รวมถึงผู้เดินทางไปต่างประเทศและจำเป็นต้องเข้ารับวัคซีน ซึ่งทางรัฐบาลสหรัฐฯ จะเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การกระจายวัคซีนเป็นไปอย่างโปร่งใสและยุติธรรม
บทความที่เกี่ยวข้อง:
- สำรวจแนวทางการใช้วัคซีน mRNA เป็น ‘วัคซีนเข็มที่ 3’ ในประเทศที่ใช้วัคซีน Sinovac
- สำรวจ ‘วัคซีนเข็มกระตุ้น’ หรือ ‘วัคซีนเข็มที่ 3’ ที่น่าสนใจในประชาคมโลก
- เปรียบเทียบประสิทธิภาพล่าสุด วัคซีน Sinovac vs. Pfizer-BioNTech ในชิลี
- โควิด-19 กลายพันธ์ุสายพันธ์ุต่างๆ มีชื่อเรียกใหม่ว่าอย่างไร
- สำรวจราคาวัคซีนต้านโควิด-19 ในประชาคมโลก โดสละเท่าไร
- ผลข้างเคียงวัคซีนต้านโควิด-19 ในประชาคมโลก อาการเป็นอย่างไรบ้าง
- เช็กประสิทธิภาพวัคซีนต้านโควิด-19 ล่าสุด
ภาพ: U.S. Embassy Bangkok
อ้างอิง: