×

#unmutedproject นิทรรศการศิลปะต่อต้านเผด็จการจากศิลปินมากกว่า 200 คน เข้าชมได้ถึง 5 ก.ย. นี้

29.08.2020
  • LOADING...
Unmuted Project นิทรรศการศิลปะ

เนื่องด้วยสถานการณ์สังคมในปัจจุบันจะพบได้ว่างานศิลปะไม่สามารถแสดงออกได้อย่างชัดเจนหรือถูกลิดรอนการแสดงออกที่พึงมี ซึ่งในความเป็นจริงแล้วศิลปะเป็นการแสดงออกอย่างหน่ึงที่ทุกคนพึงจะแสดงออกได้อย่างอิสระ มีเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดเห็น เป็นสิ่งพื้นฐานที่ทุกคนสามารถทำได้ในประเทศประชาธิปไตย ศิลปะไม่ใช่แค่เพียงแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งหน่ึงเท่าน้ัน งานศิลปะยังสะท้อนถึงเหตุการณ์ที่เกิดข้ึนในสังคม ณ ขณะนั้น สร้างความตระหนักรู้และก่อคำถามต่อยอดไปยังตัวผู้รับสาร 

 

กลุ่ม Unmuted Project จึงลุกขึ้นมาขอเป็นอีกหนึ่งเสียงที่จะสะท้อนความต้องการของประชาชนที่แท้จริงผ่านผลงานศิลปะจากศิลปินกว่า 200 ชีวิตที่ร่วมนำส่งผลงานในนิทรรศการ ‘Unmuted Project’ ณ สวนครูองุ่น ตั้งแต่เวลา 11.00-18.00 น. ระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม ถึง 5 กันยายน 2563

 

“ด้วยเหตุประการน้ีจึงสมควรแก่เวลาแล้วที่ประชาชนที่ถูกลิดรอนสิทธิการแสดงออกจากศิลปะแขนงต่างๆ จะได้ก้าวข้ึนมาแสดงผลงานของตนเอง เรียกร้องสิ่งที่ตนเองพึงมี ลบล้างวลีต่างๆ รวมถึงข้อห้ามที่ทำให้สังคมประชาธิปไตยถูกกลบปิด ทำให้ประชาชนทุกคนกล้าแสดงออกผ่านศิลปะเพื่อวิพากษ์วิจารณ์สังคมอย่างมีเสรีภาพ”

 

ภายในงานมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย ได้แก่

  • วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม เวลา 17.00 น. จะมีละครสั้นเรื่อง ‘ต้นไม้แขวนคอ (The Hanging Tree)’
  • วันพุธที่ 2 กันยายน เวลา 15.00-16.00 น. เสวนาเรื่อง ‘สุสานสยาม-สยามกำลังจะกลายเป็นสุสานของงานศิลปะหรือไม่ในยุคนี้’ กับ ปราปต์-ชัยรัตน์ พิพิธพัฒนาปราปต์ ผู้ประพันธ์ กาหลมหรทึก
  • วันเสาร์ที่ 5 กันยายน เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป มีการแสดงเรื่อง ‘Happy Birthday’ จากกลุ่ม Blitz Theater ละครสั้นว่าด้วยการรักษาความสัมพันธ์ภายใต้บริบททางการเมืองในช่วง กปปส. และหลังจากนั้นจะมีการจัดแสดงภาพยนตร์สั้นจากศิลปินที่ส่งเข้ามาร่วมงาน และ Boundary: ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง จาก นนทวัฒน์ นำเบญจพล ภาพยนตร์ที่ได้ชื่อว่า ‘คนไทยห้ามดู’

 

สำหรับวิธีการเดินทางที่สะดวกที่สุด แนะนำเป็นเส้นทาง BTS สถานีทองหล่อ ทางออก 3 ลงจาก BTS เดินย้อนไปที่แยกทองหล่อแล้วเลี้ยวซ้าย ประมาณ 500 เมตรจะเจอสวนครูองุ่นอยู่ข้างๆ สถาบันปรีดี พนมยงค์ นั่นเอง

 

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X