×

TISCO – 3Q65 ผลประกอบการเป็นไปตามคาด

18.10.2022
  • LOADING...
TISCO

เกิดอะไรขึ้น:

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565 บมจ.ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป (TISCO) รายงานกำไรสุทธิ 3Q65 จำนวน 1.77 พันล้านบาท (ลดลง 4%QoQ แต่เพิ่มขึ้น 14%YoY) เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ โดยสะท้อนถึงคุณภาพสินทรัพย์ที่ทรงตัวพร้อมกับ Credit Cost ระดับต่ำต่อเนื่อง การเติบโตของสินเชื่อที่ฟื้นตัว, NIM ที่ดีขึ้น และ Non-NII ที่ลดลง (จากขาดทุนจากเงินลงทุนที่เกิดขึ้นครั้งเดียว)

 

รายการสำคัญในผลประกอบการ 3Q65 ดังนี้ 

 

  1. คุณภาพสินทรัพย์: NPL อยู่ในระดับทรงตัว QoQ Credit Cost ลดลง 5 bps QoQ สู่ 0.23% LLR Coverage ลดลงจาก 253% ณ 2Q65 สู่ 248% ณ 3Q65

 

  1. การเติบโตของสินเชื่อ: เพิ่มขึ้น 4.8%QoQ, 4.3%YoY, 5%YTD ดีกว่าคาด การเติบโตของสินเชื่อได้แรงหนุนจากสินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อ SMEs (ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อเพื่อผู้แทนจำหน่ายรถยนต์) และสินเชื่อจำนำทะเบียน 

 

  1. NIM: NIM เพิ่มขึ้น 9 bps QoQ เพราะผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น 11 bps QoQ ขณะที่ต้นทุนทางการเงินขยับขึ้น 2 bps QoQ 

 

  1. Non-NII: ลดลง 14%QoQ (เพิ่มขึ้น 13%YoY) เพราะขาดทุนจากเครื่องมือทางการเงิน รายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิเพิ่มขึ้น 8%QoQ (เพิ่มขึ้น 12%YoY) 

 

  1. อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้: ลดลง 5 bps QoQ  (ลดลง 26 bps YoY) 

 

กระทบอย่างไร:

เมื่อวานนี้ (17 ตุลาคม) ราคาหุ้น TISCO ปรับลดลง 0.53%DoD อยู่ที่ระดับ 93.25 บาท ขณะที่ SET Index ปรับเพิ่มขึ้น 0.02%DoD สู่ระดับ 1,561.15 จุด 

 

แนวโน้มผลประกอบการปี 2565-2566:

InnovestX Research คาดการณ์กำไร 4Q65 จะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างทรงตัวทั้ง YoY และ QoQ เนื่องจากคาดว่าการเติบโตของสินเชื่อและรายได้ค่าธรรมเนียมที่เร่งตัวขึ้นตามฤดูกาลจะถูกหักล้างโดย NIM ที่แคบลง (ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย) และ Credit Cost ที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ กำไร 9M65 คิดเป็นสัดส่วน 75% ของประมาณการกำไรปี 2565

 

ส่วนกำไรปี 2566 คาดว่าจะลดลง 3% โดยเกิดจากสินเชื่อที่เติบโต 5% NIM ที่แคบลง 20 bps (เกิดจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยและการปรับอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนฟื้นฟูฯ เพิ่มขึ้น 23 bps สู่ระดับปกติที่ 0.46%) Credit Cost ในระดับทรงตัวที่ 0.5% และ Non-NII ที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1%

 

สำหรับปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญ: การปรับอัตรานำส่งเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูฯ ที่จะสิ้นสุดตอนปลายปี 2566 ซึ่งเชื่อว่ามีแนวโน้มที่จะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อชดเชยการปรับเพิ่มอัตรานำส่งเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูฯ รวมถึงความเสี่ยง Downside ต่อคุณภาพสินทรัพย์จากแรงกดดันเงินเฟ้อและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising