×

ชมคลิป: ควบรวม TRUE-DTAC หวั่นผูกขาด สู่ภาระ ‘ประชาชน’ | THE STANDARD NOW

โดย THE STANDARD TEAM
20.10.2022
  • LOADING...

LIVE: ควบรวม TRUE-DTAC หวั่นผูกขาด สู่ภาระ ‘ประชาชน’

 

นับตั้งแต่ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) หรือ TRUE และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ประกาศควบรวมกิจการอย่างเป็นทางการ พร้อมแจ้งตลาดหลักทรัพย์ ถึงความประสงค์ในการสนับสนุนการพิจารณาดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้และดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการควบบริษัทไปเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564

 

จนถึงวันนี้การพิจารณากินเวลาเกือบ 1 ปีแล้ว ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ และแรงต่อต้านจากภาคต่างๆ เนื่องด้วยดีลนี้จะนำไปสู่การผูกขาดด้านการสื่อสารมากขึ้น จากผู้ประกอบการ 3 รายจะเหลือเพียง 2 รายเท่านั้น จนมีความกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคโดยตรง เพราะเมื่อการแข่งขันน้อย ค่าบริการอาจสูงขึ้น และคุณภาพอาจต่ำลง ตามที่มีรายงานผลการศึกษาจากต่างประเทศออกมา

 

ที่ผ่านมา กสทช. มีความพยายามสื่อสารว่า ไม่มีอำนาจในการพิจารณาและผู้ควบรวม มีหน้าที่เพียงรายงานให้ทราบเท่านั้น โดยอ้างอิงมาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2561 ข้อ 5 ระบุว่า ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตรายงานต่อ กสทช. โดยมีกำหนดไม่น้อยกว่า 90 วันก่อนดำเนินการ แต่ไม่มีอำนาจในปฏิเสธการควบรวม

 

ขณะเดียวกันในประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 8 ระบุว่า การถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกัน ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม จะกระทำมิได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ กรณีส่งผลให้เกิดการผูกขาด ลด หรือจำกัดการแข่งขัน คณะกรรมการอาจสั่งห้ามการถือครองได้

 

จึงทำให้การประชุม กสทช. เพื่อลงมติการพิจารณาวาระการรายงานการรวมธุรกิจระหว่าง TRUE-DTAC เป็นที่น่าจับตาถึงผลที่ออกมาจะออกมาทิศทางใด และหลังจากนี้จะเป็นอย่างไรต่อไป

 

ร่วมพูดคุยกับ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า และ สุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ก่อตั้ง Cofact Thailand และอดีตกรรมการ กสทช.

 

พบกันในรายการ THE STANDARD NOW กับ อ๊อฟ ชัยนนท์ วันนี้ 20 ตุลาคม เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป ทาง Facebook และ YouTube ของ THE STANDARD

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising