×

ปตท.สผ. เสนอโครงการดักจับและกักเก็บคาร์บอน มุ่งสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในภาคพลังงาน

25.11.2022
  • LOADING...

ชยงค์ บริสุทธิ์สวัสดิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล กิจการองค์กร และกำกับดูแล บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยบนเวที ‘THE ROAD TO NET ZERO กางแผนไทยสู่เป้าหมาย NET ZERO’ ในงาน THE STANDARD ECONOMIC FORUM 2022 ว่า ปตท.สผ. เดินหน้าศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยี Carbon Capture and Storage (CCS) หรือการดักจับและกักเก็บคาร์บอน นำร่องที่โครงการอาทิตย์ในอ่าวไทย เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

 

ปกติแล้วคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกแยกออกมาจากก๊าซธรรมชาติจะถูกปลดปล่อยออกไป ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก แต่ CCS จะเป็นการเก็บคาร์บอนไดออกไซด์เหล่านั้นให้อยู่ใต้พื้นดินอย่างถาวร ไม่ให้ปล่อยขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศ

 

โดยเมื่อแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากก๊าซธรรมชาติแล้ว ก็จะมีการส่งไปสู่อีก Facillity หนึ่ง เพื่ออัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่อยู่ในรูปกึ่งเหลวลงในชั้นใต้ดิน ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือการอัดกลับไปในชั้นใต้ดินที่ได้ผลิตก๊าซธรรมชาติออกมาแล้ว จนปัจจุบันลดน้อยลงและไม่สามารถผลิตก๊าซได้อีก และอีกส่วนหนึ่งคือการอัดเข้าไปในชั้นน้ำใต้ดินประมาณ 1,000 เมตรใต้พื้นดิน ซึ่งโครงการอาทิตย์นี้สามารถดักจับและกักเก็บคาร์บอนได้ถึงเกือบ 1 ล้านตันต่อปี

 

ชยงค์ระบุว่า ถ้าโครงการนี้สำเร็จก็จะสามารถขยายผลต่อไปในโครงการอื่นๆ ได้ แต่ยังมีปัญหาคือต้นทุนสูงมาก เพราะการอัดกลับคาร์บอนไดออกไซด์ลงสู่ชั้นใต้ดินใช้เงินถึง 40-50 ดอลลาร์ต่อคาร์บอนไดออกไซด์ 1 ตัน ยังไม่นับรวมการสร้าง Facillity เพื่อรองรับกระบวนการเหล่านี้ ซึ่งในอนาคต ปตท.สผ. อาจมีแผนที่จะรับคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ มาอัดกลับแบบนี้ด้วยเช่นกัน

 

ชยงค์มองว่า แม้เม็ดเงินที่ลงทุนจะสูงมาก แต่โครงการอาทิตย์สามารถทำให้คุ้มทุนได้ เพราะถ้ามีการแยกคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากก๊าซธรรมชาติได้มากขึ้น ก๊าซธรรมชาติก็จะมีค่าความร้อนมากขึ้น ราคาก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งก็จะนำไปสู่จุดคุ้มทุน แต่ถ้าเป็นโครงการใหม่ก็อาจจะต้องมาดูว่าเรื่องของความคุ้มทุนจะเป็นอย่างไร และภาครัฐก็จะต้องเข้ามาดูเกี่ยวกับกลไกราคาทางคาร์บอนว่า ภาคอุตสาหกรรมที่จะต้องดักจับคาร์บอนในรูปแบบนี้จะสามารถที่จะลงทุนร่วม หรือจะมีกลไกทางราคาคาร์บอนอย่างไรในการที่จะทำให้อุตสาหกรรมต่างๆ คุ้มทุนด้วยเช่นกัน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising