×

ผ่า ‘คัมภีร์’ พา ‘ไทยออยล์’ เดินทางสู่องค์กร 100 ปี อย่างแข็งแกร่ง [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
08.10.2021
  • LOADING...
Thaioil

HIGHLIGHTS

5 Mins. Read
  • การจะเป็น ‘องค์กร 100 ปี’ ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะบนโลกใบนี้มีองค์กรเพียงหยิบมือที่เดินทางไปถึงจุดนั้นแล้ว ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะนำพาให้องค์กรใดก็ตามก้าวไปสู่จุดนั้นได้ คือการ ‘วางกลยุทธ์’ ที่ดี ซึ่งเปรียบเสมือนเป็น ‘คัมภีร์’ ที่จะนำองค์กรไปสู่หลักชัย
  • ‘ไทยออยล์’ คืออีกหนึ่งองค์กรของไทยที่วางเป้าหมายในการเป็น ‘องค์กร 100 ปี’ โดยปัจจุบันมีอายุได้ 60 ปีแล้ว ดังนั้น เพื่อให้เส้นทางเดินเป็นไปอย่างราบรื่น ‘ไทยออยล์’ จึงได้กำหนด ‘คัมภีร์’ ที่จะทำให้เป้าหมายของไทยออยล์เป็นไปดั่งที่วางไว้
  • เพื่อให้กลยุทธ์สัมฤทธิ์ผลตามวิสัยทัศน์ ไทยออยล์จึงได้มีแนวทางในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งได้กำหนดกลยุทธ์หลักไว้ 3 ด้าน ได้แก่ การบูรณาการสร้างคุณค่าสูงสุดให้แก่ทุกโมเลกุลที่ผลิตตลอดห่วงโซ่คุณค่าปิโตรเลียมถึงปิโตรเคมี, การบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่า ขยายสู่ตลาดภูมิภาค และการสร้างความมั่นคงด้านการเติบโตผ่านการกระจายพอร์ตการลงทุน (Portfolio) ของบริษัทไปยังธุรกิจใหม่ โดยจะมีการดำเนินการผ่านแนวทาง 4P ซึ่งประกอบด้วย บุคลากร ผู้มีอุปการคุณทางธุรกิจ พันธมิตรทางธุรกิจ และแพลตฟอร์ม 
  • ไทยออยล์ได้เดินหน้าลงทุนใน ‘อุตสาหกรรมปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์’ ซึ่งจะทำให้โครงสร้างธุรกิจของไทยออยล์มีความสมบูรณ์ ครอบคลุมธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมีอย่างครบวงจร
  • เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์องค์กร ‘สร้างสรรค์คุณภาพชีวิตด้วยพลังงานและเคมีภัณฑ์ที่ยั่งยืน’ ซึ่งมีเป้าหมายด้านความยั่งยืนโดยการเป็นบริษัท 100 ปี รวมทั้งการเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนในระดับสากล โดยการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) เพื่อตอบสนองความคาดหวังและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

Thai Oil

วิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

 

การจะเป็น ‘องค์กร 100 ปี’ ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะหากกวาดสายตาไปทั่วโลกใบนี้ เราจะพบว่ามีองค์กรเพียงหยิบมือที่แข็งแกร่งและปรับตัวให้อยู่รอด จนพาองค์กรให้เดินผ่านตัวเลข 1 ศตวรรษได้ 

 

สิ่งสำคัญที่จะนำพาให้องค์กรใดก็ตามก้าวไปสู่จุดนั้นได้ คือการ ‘วางกลยุทธ์’ ที่ดี ซึ่งเปรียบเสมือนเป็น ‘คัมภีร์’ ที่จะนำองค์กรไปสู่หลักชัย โดยผ่านความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงต่างๆ จากปัจจัยภายนอก 

 

‘ไทยออยล์’ คืออีกหนึ่งองค์กรของไทยที่วางเป้าหมายในการเป็น ‘องค์กร 100 ปี’ เหมือนดั่งองค์กรใหญ่ๆ ของไทยที่วันนี้ได้ก้าวไปถึงจุดนั้นแล้ว ทั้งไปรษณีย์ไทย, เบอร์ลี่ ยุคเกอร์, โอสถสภา, ธนาคารไทยพาณิชย์ และปูนซิเมนต์ไทย 

 

การเดินทางก้าวสู่องค์กร 100 ปีนั้น ต้องวาง ‘คัมภีร์’ ให้ดี ทั้งในส่วนที่เป็นธุรกิจและส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรัดกุมและรอบคอบ เพื่อให้เส้นทางนี้ของไทยออยล์เป็นไปอย่างราบรื่น สามารถรับมือกับความท้าทายต่างๆ ที่จะต้องเผชิญ

 

Thai Oil

 

สร้างสรรค์คุณภาพชีวิตด้วยพลังงานและเคมีภัณฑ์ที่ยั่งยืน

ไทยออยล์ได้กำหนด ‘วิสัยทัศน์’ ซึ่งจะเป็นภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของไทยออยล์ คือ ‘สร้างสรรค์คุณภาพชีวิตด้วยพลังงานและเคมีภัณฑ์ที่ยั่งยืน’ 

 

ปัจจุบันกลุ่มไทยออยล์อยู่ระหว่างการก่อสร้างโครงการพลังงานสะอาด (Clean Fuel Project: CFP) เพื่อขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอีก 45% เป็น 400,000 บาร์เรลต่อวัน และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เปลี่ยนผลิตภัณฑ์น้ำมันเตาให้เป็นน้ำมันอากาศยานและน้ำมันดีเซลซึ่งมีมูลค่าสูง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างโอกาสในการขยายสู่ธุรกิจใหม่ในห่วงโซ่คุณค่าของผลิตภัณฑ์ 

 

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ ไทยออยล์ได้วางแนวทางในการขับเคลื่อนองค์กรด้วยกลยุทธ์หลัก 3 ด้าน (3V) ผ่านแนวคิดการเติบโตจากรากฐานที่แข็งแกร่ง Building on Our Strong Foundation ได้แก่

 

  • Value Maximization: Integrated Crude to Chemicals 

การบูรณาการสร้างคุณค่าสูงสุดให้แก่ทุกโมเลกุลที่ผลิตตลอดห่วงโซ่คุณค่าปิโตรเลียมถึงปิโตรเคมี เพื่อเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้กับผลิตภัณฑ์ เสริมความสามารถและความยืดหยุ่นในการแข่งขัน โดยใช้ประโยชน์จากธุรกิจการกลั่น (Refinery) เป็นฐานการผลิตสำคัญ เพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์ไปสู่ธุรกิจปิโตรเคมี เช่น อะโรเมติกส์ โอเลฟินส์ และเคมีภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง (High Value Products: HVP) 

 

  • Value Enhancement: Integrated Value Chain Management 

การบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่าผ่านฐานลูกค้าทั้งในประเทศและในภูมิภาค โดยมุ่งให้ใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น เพื่อเข้าถึงความต้องการของลูกค้า สามารถกระจายผลิตภัณฑ์ได้ตามที่ตลาดต้องการ โดยเจาะลึกในตลาดภูมิภาคที่มีความต้องการสูง 

 

  • Value Diversification

การกระจายการเติบโตเพื่อสร้างความมั่นคงผ่านพอร์ตการลงทุน (Portfolio) ของบริษัท โดยการกระจายพอร์ตการลงทุนเพื่อสร้างรายได้ที่มั่นคง รองรับความผันผวนจากธุรกิจโรงกลั่นและปิโตรเคมี เช่น ธุรกิจไฟฟ้า รวมถึงแสวงหาโอกาสในธุรกิจใหม่ (New S-Curve) ที่สอดคล้องกับแนวโน้มอุตสาหกรรมและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้พลังงานในอนาคต 

 

เพื่อขยายห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์ ไทยออยล์ได้มีการลงทุนในบริษัท PT Chandra Asri Petrochemical Tbk (CAP) ประเทศอินโดนีเซีย โดยเข้าถือหุ้นที่สัดส่วนร้อยละ 15.38 ใช้เงินลงทุนมูลค่าประมาณ 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อก้าวเข้าสู่ธุรกิจโอเลฟินส์ โดย CAP มีแผนขยายกำลังการผลิตและก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีแห่งที่ 2 เพื่อรองรับปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์ที่สูงขึ้นของประเทศอินโดนีเซีย

 

ที่น่าสนใจ คือ การลงทุนในครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญของไทยออยล์ในการเดินหน้าสู่ ‘อุตสาหกรรมปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์’ จากเดิมที่มีธุรกิจสายอะโรเมติกส์อยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้โครงสร้างธุรกิจของไทยออยล์มีความสมบูรณ์ ครอบคลุมธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมีอย่างครบวงจร โดยสายโอเลฟินส์มีข้อได้เปรียบที่สามารถนำไปเป็นสารตั้งต้นของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ปลายน้ำต่างๆ ที่หลากหลายกว่าสายอะโรเมติกส์

 

กลยุทธ์การดำเนินงานด้วย 4P

และเพื่อให้กลยุทธ์สัมฤทธิ์ผลตามวิสัยทัศน์ ไทยออยล์จึงได้มีแนวทางในการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ด้วยแนวทาง 4P ซึ่งประกอบด้วย 

 

  1. People หรือบุคลากร 

การพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความสามารถในการขับเคลื่อนธุรกิจที่มีอยู่ในปัจจุบัน ควบคู่กับธุรกิจที่จะเติบโตในอนาคต

 

  1. Patronage หรือผู้มีอุปการคุณทางธุรกิจ 

การมอบคุณค่า ตอบสนองความต้องการและร่วมกันสร้างสรรค์ (Co-Creation) เพื่อต่อยอดธุรกิจ 

 

  1. Partner หรือพันธมิตรทางธุรกิจ 

การมี ‘พันธมิตรทางธุรกิจ’ ทั้งในและนอกประเทศที่จะเข้ามาสนับสนุน เพื่อสร้างธุรกิจร่วมกัน 

 

  1. Platform หรือแพลตฟอร์ม 

การใช้ประโยชน์สูงสุดจากแพลตฟอร์มทางธุรกิจที่มีอยู่ในปัจจุบันและในอนาคต เพื่อช่วยขยายธุรกิจไปให้มากยิ่งขึ้น

 

Thai Oil

 

แผนกลยุทธ์ด้านการบริหารความยั่งยืน

เนื่องจากการวางแผนด้านธุรกิจเพียงอย่างเดียวไม่อาจนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายระยะยาวที่วางไว้ได้ หากไม่ใส่ใจผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ดังนั้นแล้ว เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนโดยการเป็นบริษัท 100 ปี รวมทั้งการเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนในระดับสากล ไทยออยล์จึงมีการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Governance: ESG) เพื่อตอบสนองความต้องการและรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้

 

  1. ด้านสิ่งแวดล้อม (Enhance Environment) 

เพื่อบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยกำหนดเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิร้อยละ 15 เทียบกับกรณีปกติภายในปี 2573 ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง และการลงทุนในธุรกิจไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน และได้เตรียมการเพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในอนาคต นอกจากนี้ยังมุ่งรักษาสัดส่วนรายได้จากผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ของรายได้สุทธิ

 

  1. ด้านสังคม (Engage Society) 

สร้างความผูกพันและการเติบโตร่วมกับชุมชนและสังคมในระยะยาว 

  • มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนผ่านการสื่อสารเชิงรุก การรับฟังความเห็น การพัฒนาความสัมพันธ์ และโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งครอบคลุมทั้งการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค การยกระดับด้านบริการสาธารณสุข การจัดทำพื้นที่สีเขียว และการส่งเสริมอาชีพ เป็นต้น
  • การสร้างคุณค่าให้กับสังคม โดยการนำความรู้ความเชี่ยวชาญของบุคลากรและธุรกิจของบริษัทไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะด้านสุขภาพอนามัยและด้านสาธารณสุข เช่น การนำความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการใช้พลังงานทดแทนไปทำประโยชน์ให้กับสังคมผ่านหน่วยงานด้านสาธารณสุข โดยการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับโรงพยาบาล ซึ่งในอนาคตจะมีการต่อยอดสู่การพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ให้สอดคล้องกับธุรกิจใหม่ในอนาคตของบริษัท 

 

  1. ด้านบรรษัทภิบาล (Ensure Good Governance) 

การสร้างความเชื่อมั่นด้านบรรษัทภิบาลผ่านการบูรณาการ GRC (Governance, Risk and Compliance) โดยเน้นการสร้างสมดุลระหว่างความเข้มงวดของมาตรการควบคุมภายในและความยืดหยุ่นคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจ โดยมีเป้าหมายการปราศจากการฝ่าฝืนกฎหมายและกฎระเบียบขององค์กร

 

ทั้งหมดนี้คือ ‘คัมภีร์’ ที่ไทยออยล์ใช้ในการวางรากฐานที่แข็งแกร่ง สร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และพร้อมที่จะเดินทางสู่องค์กร 100 ปี ได้อย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนต่อไป

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising