วันนี้ (20 ธันวาคม) จากงานศึกษาของมหาวิทยาลัย Shanghai Jiao Tong University และห้องแล็บด้านโรคติดต่อทางเดินหายใจในเซี่ยงไฮ้ของจีน ที่ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัคซีนโควิดชนิดเชื้อตายจาก Sinopharm ในฐานะวัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster Shot) หรือวัคซีนเข็มที่ 3 ต่อโควิดสายพันธุ์ดั้งเดิมจากอู่ฮั่นและสายพันธุ์โอไมครอน
พบว่า ประสิทธิภาพวัคซีนเข็มกระตุ้นจาก Sinopharm อาจไม่เพียงพอต่อการรับมือเชื้อโอไมครอน ระดับภูมิคุ้มกันลดลง 20.1 เท่าเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม
โดยศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 292 ราย ที่มีประวัติเข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นแล้ว หลังจากที่เข้ารับวัคซีนเข็มที่ 2 ไปแล้ว 8-9 เดือน หลังจากนั้น 4 สัปดาห์ พบว่ามีประสิทธิภาพอยู่ที่ราว 78% และมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ซึ่งงานศึกษาดังกล่าวยังไม่ได้รับการตรวจสอบ Peer Reviewed แต่อย่างใด
แต่อย่างไรก็ตาม ช่วงระยะเวลาที่ทิ้งช่วงนานระหว่างเข็ม 2 และเข็ม 3 ที่แทบตรวจไม่พบระดับภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นภายหลังจากการฉีดวัคซีนชนิดเชื้อตายเข็ม 2 แล้ว ก็อาจส่งผลต่อการศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนในภาพรวมได้ ไม่เพียงแต่ Sinopharm แต่วัคซีนโควิดจาก Johnson & Johnson และ Sputnik V ก็มีแนวโน้มที่ประสิทธิภาพอาจไม่เพียงพอต่อการรับมือเชื้อโอไมครอนที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ เมื่อเทียบกับการเข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นที่เป็นวัคซีน mRNA
บทความที่เกี่ยวข้อง:
- รู้จัก Omicron โควิดสายพันธุ์ใหม่ที่น่ากังวล
- WHO ประกาศให้ ‘โอไมครอน’ เชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธ์ุ เป็นสายพันธ์ุระดับที่น่ากังวลตัวใหม่
- A Pandemic of the Unvaccinated คืออะไร ทำไมผู้ติดเชื้อในยุโรปถึงพุ่งอีกครั้ง
- เทียบประสิทธิภาพยาเม็ดรักษาโควิดของ Merck vs. Pfizer
ภาพ: Flowersandtraveling / Shutterstock
อ้างอิง: