×

รู้จัก Peer-to-Peer Lending ธุรกรรมการขอสินเชื่อหรือลงทุนให้กู้ไร้ตัวกลาง ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในโลกลงทุน [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
02.05.2023
  • LOADING...
Peer-to-Peer Lending

HIGHLIGHTS

9 min read
  • แนวคิดของ Peer-to-Peer Lending (P2P Lending) คือการ ‘กู้ยืม’ ระหว่างบุคคลกับบุคคล ผ่าน ‘แพลตฟอร์มออนไลน์’ โดยไม่มีสถาบันการเงินหรือธนาคารเป็นตัวกลาง 
  • P2P Lending เป็นเครื่องมือที่เข้ามามาแก้ Pain Point ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมให้ดีขึ้น แก้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการเงิน ด้วยโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน 
  • ในต่างประเทศ P2P Lending โตไวและประสบความสำเร็จอย่างมาก ทั้งในยุโรป อเมริกา และเอเชีย มีแพลตฟอร์มกระจายตัวอยู่มากกว่า 3,000 แพลตฟอร์ม      
  • บริษัท NestiFly ผู้ให้บริการสินเชื่อออนไลน์รูปแบบ Peer-to-Peer Lending (P2P) แห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง ภายใต้การกำกับโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ส่งแอปพลิเคชัน StockLend  by NestiFly แพลตฟอร์ม P2P Lending ผู้ให้บริการธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล เพิ่มทางเลือกการเข้าถึงสินเชื่อและโอกาสการลงทุน ลดความเหลื่อมล้ำทางการเงิน โดย #ให้หุ้นเชื่อมทุกโอกาสการลงทุน

ถ้าให้อธิบายว่า ‘Peer-to-Peer Lending’ (P2P Lending) คืออะไร มีหลักการอย่างไร ‘ยืมเงินเพื่อน’ น่าจะทำให้เห็นภาพชัดที่สุด เพราะโดยแนวคิด มันคือการ ‘กู้ยืม’ ระหว่างบุคคลกับบุคคล ผ่าน ‘แพลตฟอร์มออนไลน์’ โดยไม่มีสถาบันการเงินหรือธนาคารเป็นตัวกลาง 

 

แพลตฟอร์มออนไลน์จึงทำหน้าที่เป็นเครื่องมือเชื่อมระหว่างบุคคล (ผู้กู้) กับบุคคล (ผู้ให้กู้) โดยเป็นสินเชื่ออเนกประสงค์ เช่น กู้ไปต่อยอดธุรกิจ กู้ไปจ่ายค่าเล่าเรียน หรือค่าใช้จ่ายส่วนตัวอื่นๆ ขณะเดียวกันผู้ให้กู้ก็มีสิทธิ์เลือกได้ว่าจะนำเงินไปลงทุนให้กู้ตามความเสี่ยงที่ตนเองกำหนด

 

 

ปัจจุบันแพลตฟอร์ม P2P Lending อยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของแพลตฟอร์มในการประเมินความน่าเชื่อถือของผู้กู้ ประเมินความเหมาะสมของผู้ให้กู้ ไปจนถึงเป็นผู้จัดหาคนกลาง เช่น บริษัทหลักทรัพย์ หรือธนาคารพาณิชย์ ในการเก็บรักษาเงินและหลักประกัน 

 

ฟากผู้ให้กู้ นอกจากจะเป็นช่องทางในการกระจายความเสี่ยงของเงินลงทุน ยังได้รับผลตอบแทนมากกว่าการฝากออมทรัพย์ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงสูงกว่าในกรณีที่ผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้  

 

แม้จะมีความเสี่ยงอยู่บ้าง แต่ P2P Lending ก็เป็นตัวเลือกที่เข้ามาแก้ Pain Point ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมได้ดีที่สุด แก้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการเงินด้วยโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน  

 

 

ไม่แปลกที่ P2P Lending จะเป็นเครื่องมือการเข้าถึงสินเชื่อที่โตไวและประสบความสำเร็จอย่างมากในต่างประเทศ นับตั้งแต่ Zopa บริษัท P2P Lending เจ้าแรกของโลกจากประเทศอังกฤษ ถือกำเนิดขึ้นในปี 2005 (ปิดตัวไปเมื่อปี 2021) ปัจจุบันมีบริษัทเกิดใหม่มากมาย อาทิ RateSetter สตาร์ทอัพด้าน Digital Lending ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2010 ให้บริการแบบ P2P รวมแล้วเป็นเม็ดเงินกว่า 4 พันล้านปอนด์ และได้ควบรวมกับธนาคารชั้นนำของอังกฤษอย่าง Metro Bank ในปี 2020 รวมถึงขยับขยายผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นให้หลากหลาย

 

ในสหรัฐอเมริกา P2P Lending เริ่มต้นในปี 2006 และเริ่มประสบความสำเร็จอย่างมากหลังเกิดภาวะเศรษฐกิจซบเซา ธนาคารปฏิเสธการให้สินค้า ธุรกิจ P2P Lending ในขณะนั้นจึงมีส่วนสำคัญที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจเดินหน้าได้อีกครั้ง กลายเป็นโมเดลการเงินแบบใหม่ที่ได้รับความนิยมจนถึงตอนนี้ 

 

อย่าง Kabbage สตาร์ทอัพฟินเทคที่ก่อตั้งในปี 2009 จนถึงตอนนี้ปล่อยกู้ไปแล้วกว่า 7 พันล้านดอลลาร์ และได้รับเลือกให้เป็น Top 10 Most Innovative Companies in Finance จากนิตยสาร Fast Company  

 

ด้านเกาหลีใต้ ธุรกิจ P2P Lending ก็ประสบความสำเร็จอย่างมาก และมีกว่า 40 บริษัทที่ได้เป็นสมาชิกของสมาคม Korea P2P Financial Associate อย่าง PeopleFund หนึ่งในบริษัทผู้บุกเบิก P2P Lending ในเกาหลีใต้ โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาสินเชื่อส่วนบุคคลที่ขาดความน่าเชื่อถือและยุ่งยาก ภายในปีแรกสามารถสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนสูงถึง 13 ล้านดอลลาร์ ล่าสุดสามารถระดมทุนเพิ่ม 20 ล้านดอลลาร์ เป็น 63.4 ล้านดอลลาร์ใน Series C

 

ปัจจุบัน P2P Lending แพร่หลายทั้งในยุโรป อเมริกา และเอเชีย มีจำนวน P2P Lending Platform กระจายตัวอยู่มากกว่า 3,000 แพลตฟอร์ม มูลค่าการตลาดทั่วโลกปี 2021 อยู่ที่ 83.79 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 705.81 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2030 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่ 26.7% ตั้งแต่ปี 2022-2030 

 

แต่ในประเทศไทย P2P Lending ยังเป็นโมเดลที่ใหม่สำหรับตลาด โดยปี 2019 ธนาคารแห่งประเทศไทยเพิ่งประกาศข้อกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการประกอบธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกรรมสินเชื่อระหว่างบุคคลกับบุคคล (Peer-to-Peer Lending Platform) และอนุญาตให้ผู้ให้บริการทำธุรกรรม P2P Lending ได้ โดยทุกรายจะต้องผ่านการทดสอบใน Regulatory Sandbox กับธนาคารแห่งประเทศไทย 

 

ปัจจุบันบริษัท เนสท์ติฟลาย จำกัด (NestiFly) ผู้ให้บริการสินเชื่อออนไลน์รูปแบบ Peer-to-Peer Lending (P2P) รายแรกในเมืองไทยที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย    

 

StockLend by NestiFly

 

NestiFly เกิดขึ้นจากความต้องการสร้างความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางการเงินของคนไทย โดยอยู่บนความปลอดภัยและโปร่งใสในการให้บริการ เพราะเชื่อว่าการเข้าถึงแหล่งเงินทุนมีส่วนสำคัญในการต่อยอดธุรกิจ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อยหรือผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ มีรายได้ไม่สม่ำเสมอ และไม่มีสลิปเงินเดือน 

 

เป็นที่มาของการพัฒนาแอปพลิเคชัน ‘StockLend by NestiFly’ สินเชื่ออเนกประสงค์ที่ใช้หุ้นใน SET เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันผ่านระบบ Peer-to-Peer Lending (P2P) ทางเลือกใหม่สำหรับผู้กู้และผู้ให้กู้ สามารถทำธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชันได้ โดยใช้ Smart Contract ผ่านเทคโนโลยี Blockchain เพื่อความปลอดภัยของผู้กู้และผู้ให้กู้ และสามารถทราบผลอนุมัติภายใน 1 วันทำการ เมื่อระบบ Auto-Invest สามารถจับคู่ได้สำเร็จ 

 

โดยผู้ให้กู้จะยังได้รับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยเงินกู้ และผู้กู้ยังคงมีสิทธิประโยชน์จากหุ้นเหมือนเดิม   

 

StockLend by NestiFly

 

จุดเด่นของการขอสินเชื่อผ่านแอปพลิเคชัน StockLend by NestiFly คือ ดำเนินขั้นตอนผ่านออนไลน์ร้อยเปอร์เซ็นต์ ทราบผลอนุมัติภายใน 1 วันทำการ เมื่อระบบ Auto-Invest จับคู่ระหว่างผู้กู้และนักลงทุนสำเร็จ โดยที่ข้อมูลส่วนบุคคลของทั้งสองฝ่ายจะถูกปกป้อง ซึ่งเป็นไปตามกฎเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ยกเว้นในกรณีที่มีความจำเป็นทางกฎหมาย เช่น ผิดนัดชำระหนี้ จึงจะเปิดเผยข้อมูลแก่คู่สัญญา 

 

เพื่อความรัดกุมในการปล่อยกู้และการบริหารจัดการความเสี่ยง จึงกำหนดวงเงินสูงสุดไม่เกิน 60% ของมูลค่าหลักทรัพย์ค้ำประกัน ระยะเวลาขอกู้ตั้งแต่ 3, 6, 9 และ 12 เดือน วงเงินกู้ตั้งแต่ 50,000-50,000,000 บาท ดอกเบี้ยเริ่มต้น 5.75%*ต่อปี ช่วยให้ผู้กู้เพิ่มสภาพคล่องและเข้าถึงเงินก้อนฉุกเฉินอย่างง่ายดายและปลอดภัย ช่วยวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น     

 

สำหรับนักลงทุน แอปพลิเคชัน StockLend by NestiFly ตอบโจทย์คนที่ต้องการลงทุนระยะสั้นตั้งแต่ 3, 6, 9 และ 12 เดือน ลงทุนในสินเชื่อที่มีหุ้นเป็นหลักประกันผลตอบแทนสูงสุด 7.60%* ต่อปี ไม่มีค่าธรรมเนียมการลงทุน 

 

โดยนักลงทุนสามารถกำหนดเงื่อนไขการลงทุนได้ด้วยตัวเอง เช่น ระยะเวลาการลงทุน หรือ LTV คือ อัตราส่วนมูลค่าสินเชื่อต่อหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อดูว่าสามารถขอสินเชื่อได้สูงสุดกี่เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าหลักทรัพย์ค้ำประกัน

 

ที่สำคัญ ข้อดีของสินเชื่ออเนกประสงค์คือ ผู้ขอสินเชื่อสามารถนำเงินที่ได้ไปใช้จ่ายได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็นใช้จ่ายในกรณีที่ต้องการใช้เงินเร่งด่วน จำเป็นต้องใช้เงินก้อนใหญ่ เช่น ค่าเทอม ค่าผ่อนรถ หรือค่าเบี้ยประกัน ไปต่อยอดธุรกิจ หรือแม้แต่สร้างธุรกิจใหม่  

 

StockLend by NestiFly

 

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถขอสินเชื่อหรือลงทุนได้ง่ายๆ เพียง 6 ขั้นตอน ดังนี้

 

  1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน StockLend by NestiFly 
  2. สร้างบัญชีและยืนยันตัวตน
  3. เชื่อมต่อบัญชีหลักทรัพย์ Liberator ซึ่งทำหน้าที่เป็น Custodian กับแอปพลิเคชัน
  4. เลือกสถานะผู้ใช้งานระหว่าง ‘ผู้กู้’ กับ ‘ผู้ให้กู้’
  5. สร้างคำขอสินเชื่อ (ผู้กู้) หรือกำหนดเกณฑ์การลงทุน (ผู้ให้กู้)
  6. รอระบบจับคู่

 

ดาวน์โหลดได้เลยทั้ง App Store และ Google Play ที่ https://onelink.to/downloadstocklend 

 

ศึกษารายละเอียดหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่:

Facebook: https://www.facebook.com/NestiFly 

Website: https://www.nestifly.com 

LINE Official Account: @nestifly

 

หมายเหตุ:

  • บริษัทฯ อาจมีการปรับอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะตลาด
  • การลงทุนในสินเชื่อ StockLend by NestiFly มิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงจากการลงทุน ผู้ให้กู้อาจได้รับเงิน และ/หรือ ผลตอบแทนไม่เป็นไปตามสัญญา หรือไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง หรือน้อยกว่าที่คาดไว้ หากเกิดเหตุการณ์ เช่น ผู้กู้ผิดนัดชำระหนี้ การเปลี่ยนแปลงภาวะอัตราดอกเบี้ยในตลาด การเปลี่ยนแปลงภาวะตลาดหุ้น เป็นต้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนของผู้ให้กู้ 
  • สินเชื่อ StockLend by NestiFly ไม่มีตลาดรองรับการซื้อ-ขายสินเชื่อก่อนครบกำหนด ดังนั้นผู้กู้ควรศึกษารายละเอียดและพิจารณาตัดสินใจลงทุนในสินเชื่อ StockLend by NestiFly ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้จากการลงทุนของผู้ให้กู้

 

อ้างอิง: 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising