×

ได้เวลาสำรวจสำมะโนประชากร ‘กระรอก’ ในเซ็นทรัลพาร์ก

10.10.2018
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

2 MINS READ
  • โครงการ ‘The Squirrel Census’ จัดขึ้นโดยกลุ่มคนในชื่อเดียวกัน ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวมตัวกันเพื่อออกไปสำรวจประชากรกระรอกที่มีอยู่มากมายภายในสวนสาธารณะของเมืองใหญ่ ก่อนกลับมาวิจัยถึงพฤติกรรม และแหล่งที่อยู่อาศัยของเจ้ากระรอก จากนั้นค่อยนำมาประมวลผลและนำเสนอในรูปแบบมัลติมีเดีย
  • ครั้งหนึ่งพวกเขาเคยลงพื้นที่สำรวจประชากรกระรอกในสวน Inman Park ของเมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจียในปี 2012 ปัจจุบันพวกเขากำลังทำงานกับเจ้ากระรอกในเซ็นทรัลพาร์ก

คนเราจะมีเวลาว่างขนาดที่สามารถนั่งนับกระรอกในสวนใหญ่ๆ ว่ามีกี่ตัวได้เหรอ ถ้าคุณไม่ว่างพอ ในนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา มีกลุ่มคนที่กำลังทำหน้าที่อันทรงเกียรติและเป็นมิตรต่อสัตว์โลกให้คุณอยู่ กับโครงการที่มีชื่อว่า ‘The Squirrel Census’ ที่จัดขึ้นโดยกลุ่มคนชื่อเดียวกัน ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวมตัวกันเพื่อออกไปสำรวจประชากรกระรอก ที่มีอยู่มากมายในสวนสาธารณะตามเมืองใหญ่ ก่อนกลับมาวิจัยถึงพฤติกรรมและแหล่งที่อยู่อาศัยของเจ้ากระรอกเหล่านั้น จากนั้นค่อยนำมาประมวลผลและนำเสนอในรูปแบบมัลติมีเดีย ซึ่งครั้งหนึ่งพวกเขาเคยลงพื้นที่สำรวจประชากรกระรอกในสวน Inman Park ของเมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจียในปี 2012 มาแล้ว ตอนนี้เจ้ากระรอกน้อยๆ ในเซ็นทรัลพาร์ก สวนสาธารณะที่มีชื่อที่สุดแห่งหนึ่งของโลกคือเป้าหมายต่อไปของพวกเขา

 

 

คำถามคือพวกเขาทำสิ่งนี้กันไปทำไม แน่นอนว่ามันมีหลากหลายเหตุผล แต่หนึ่งในเหตุผลสำคัญคือ พวกเขาต้องการศึกษาพฤติกรรมของเจ้ากระรอกเหล่านี้เพื่อเป็นพื้นฐานด้านงานวิจัยอื่นๆ เช่น ก่อนหน้านั้นพวกเขาพบว่ากระรอกสายพันธุ์ Eastern Grey นั้นสามารถปลอมถั่วเพื่อป้องกันการถูกแย่งอาหารจากกระรอกอีกฝ่ายได้ หรือการแบ่งอาหารที่หามาได้ แยกเป็นประเภท (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นถั่ว) โดยพฤติกรรมนี้อาจเชื่อมโยงกับความสามารถของกระรอกที่สามารถแยกแยะโภชนาการจากถั่วได้ แน่นอนว่าแหล่งข้อมูลเหล่านี้ยังเป็นประโยชน์ต่องานศึกษาชิ้นอื่นๆ ในอนาคต นอกจากนี้ยังมีหนึ่งเหตุผลที่พวกเขาตั้งใจทำกิจกรรมนี้ขึ้นมา ซึ่งก็เกิดจากคำถามง่ายๆ ที่ว่า ‘ในเซ็นทรัลพาร์กมีกระรอกอยู่กี่ตัว’

 

“การศึกษาพฤติกรรมของสัตว์อย่างใกล้ชิดอาจส่งผลต่อวิธีคิดของผู้คนที่มีต่อธรรมชาติที่พวกเขาอาศัยอยู่” โคลิน เจอรอลมัค (Colin Jerolmack) คณบดีภาควิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก กล่าวกับ New York Times ถึงลักษณะของการวิจัยดังกล่าว ซึ่งการทำงานของทีมสำรวจสำมะโนประชากรกระรอกนั้น แบ่งสัดส่วนเซ็นทรัลพาร์กทั้งหมดออกเป็น 350 พื้นที่ แต่ละพื้นที่มีขนาด 2.5 เอเคอร์ หรือประมาณ 10.1 ตารางเมตร โดย ‘Squirrel Sighters’ หรือผู้เฝ้าดูพฤติกรรมกระรอกจะใช้เวลาประมาณ 20 นาทีต่อพื้นที่แต่ละพื้นที่ เริ่มจากเดินรอบแรกเพื่อนับจำนวน ก่อนค่อยๆ สังเกตดูว่ากระรอกตัวไหนมีท่าทาง ‘แอ็กทีฟ’ ที่สุดในช่วงเช้าและช่วงบ่าย และสำรวจพฤติกรรมของกระรอกในการวิ่ง ไล่ล่า กระโดด หรือกิน รวมไปถึงระบุสีขนและคอยสังเกตการส่งเสียงของพวกมัน  “ผมเคยได้ยินเสียงกระรอกครางออกมาคล้ายเสียงเศร้าๆ และมักได้ยินแทบทุกครั้งเวลาฝนตก” เจมี อัลเลน (Jamie Allen) ผู้ริเริ่มโปรเจกต์นับกระรอกทั้งในปี 2012 ที่แอตแลนตา และครั้งนี้ที่เซ็นทรัลพาร์กกล่าวถึงพฤติกรรมของกระรอกที่เคยพบเจอมา

 

 

 
 
 
 
 
View this post on Instagram
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

Nat’s map from the Ramble today, where he counted 23 squirrels in a single hectare. ? #centralparksquirrelcensus #squirrelcensus

A post shared by Squirrel Census (@squirrelcensus) on

 

แต่ใช่ว่าจะไม่เคยมีใครทำแบบนี้มาก่อน เพราะในปี ค.ศ. 1974 ยูจีน คินคีด (Eugene Kinkead) นักเขียนชาวนิวยอร์กเคยออกสำรวจจำนวนประชากรกระรอกในเซ็นทรัลพาร์กอย่างไม่เป็นทางการมาแล้ว ตอนนั้นเขาประเมินได้ราว 400 ตัว ซึ่งทีม The Squirrel Census ให้ความเห็นว่า ‘น้อยเกินไป’ ปัจจุบันพวกเขาเพิ่งจะปิดรับสมัครอาสาสมัครเพื่อร่วมนับกระรอกด้วยกัน หลังจากที่ก่อนหน้าพวกเขาเคยระดมทุนในเว็บไซต์ Kickstarter.com แต่ไม่ได้รับผลตอบรับที่ดีเท่าที่ควร พวกเขาจึงเลือกวิธีรับบริจาคและได้รับงบสนับสนุนส่วนหนึ่งจากองค์กรท้องถิ่น รวมถึงเงินสนับสนุนจากออฟฟิศต่างๆ ในย่าน Upper East Side อีกด้วย ซึ่งผลงานวิจัยทั้งหมดเหล่านี้ มีแผนจะออกสู่สายตาสาธาณชนภายในฤดูใบไม้ร่วงที่กำลังมาถึง

 

ถ้าเราว่างพอ ไปลองนับกระรอกที่สวนลุมฯ เล่นๆ กันดูมั้ย

 

พิสูจน์อักษร: ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising