×

สิงห์อมควันเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าและจิตเภท

13.11.2019
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

3 MINS. READ
  • นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาข้อมูลจากคนจำนวน 462,690 คน ซึ่งเป็นคนที่มีเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษฝั่งยุโรป โดยการสุ่มวิธีแบบเมนเดเลียน ซึ่งเป็นวิธีการที่ช่วยระบุความแปรปรวนทางพันธุกรรม ที่อาจชี้ให้เห็นถึงภาวะซึมเศร้าหรือโรคจิตเภท จากนั้นจึงทดสอบความแปรปรวนเหล่านั้นเข้าพฤติกรรมภายนอก อาทิ สูบบุหรี่ วิธีนี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เห็นถึงความสัมพันธ์ของสองสิ่งว่ามีส่วนเกี่ยวข้องก่อให้เกิดโรคหรือไม่

การศึกษาชิ้นใหม่ชี้ คนที่สูบบุหรี่อาจเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าและโรคจิตเภทกว่าคนไม่สูบ 

 

ผลสรุปที่ว่านี้มาจากกลุ่มนักวิจัยที่นำโดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบริสตอล ประเทศอังกฤษ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ยิ่งสนับสนุนหลักฐานที่บ่งชี้ว่า การสูบบุหรี่ทำร้ายนอกจากร่างกายแล้ว ยังรวมถึงสภาพจิตใจเช่นกัน

 

นักวิจัยใช้ข้อมูลทางพันธุกรรม เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุและผลกระทบกับการสูบบุหรี่ “คนที่มีความเจ็บป่วยทางจิตมักถูกมองข้ามในเรื่องของความสัมพันธ์และผลกระทบที่บุหรี่ทำร้ายสุขภาพโดยรวม” โรบิน วูตตัน ผู้นำการศึกษา ระบุในแถลงการณ์

 

“การศึกษาของเราแสดงให้เห็นว่า เราควรทำทุกวิถีทางเพื่อป้องกันปัญหาจากการสูบบุหรี่ตั้งแต่เริ่มต้น ไปจนเลิกสูบให้ได้ในที่สุด เพราะบุหรี่มีความเกี่ยวโยงกันกับเรื่องปัญหาทางจิตและทางร่างกาย”

 

วาเนสซา เคอร์บี กับบทเจ้าหญิงมาร์กาเรต ใน The Crown ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องฉากสูบบุหรี่และดื่มเหล้า จนอาจชักจูงผู้ชมไปในทางที่ผิด

Photo: Netflix

 

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาข้อมูลจากคนจำนวน 462,690 คน ซึ่งเป็นคนที่มีเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษฝั่งยุโรป โดยการสุ่มวิธีแบบเมนเดเลียน ซึ่งเป็นวิธีการที่ช่วยระบุความแปรปรวนทางพันธุกรรม ที่อาจชี้ให้เห็นถึงภาวะซึมเศร้าหรือโรคจิตเภท จากนั้นจึงทดสอบความแปรปรวนเหล่านั้นเข้าพฤติกรรมภายนอก อาทิ สูบบุหรี่ วิธีนี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เห็นถึงความสัมพันธ์ของสองสิ่งว่ามีส่วนเกี่ยวข้องก่อให้เกิดโรคหรือไม่

 

นักวิจัยสรุปว่า ขณะที่การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าและจิตเภทแล้ว คนที่ป่วยด้วยโรคดังกล่าวยังมักสูบบุหรี่อีกด้วย อย่างไรก็ตามผู้เขียนงานวิจัยนี้ยังเสริมอีกว่า ความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่อาจใช้ไม่ได้กับกลุ่มที่เป็นจิตเภทเสมอไป เพราะนักวิจัยกลุ่มเดียวกันยังพบอีกว่า การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นไบโพลาร์ ซึ่งระบุอยู่ในชิ้นศึกษาที่ตีพิมพ์ไปเมื่อเดือนกันยายน 2019 ที่ผ่านมา

 

ซึ่งการศึกษาแบบฉบับเต็มที่ตีพิมพ์ในวารสาร Psychological Medicine นักวิทยาศาสตร์ยังแนะนำอีกว่า โรงพยาบาลจิตเวชควรเป็นเขตปลอดบุหรี่ เพื่อหลีกเลี่ยงผลเสียต่อสุขภาพจิต 

 

Photo: Spelling Films International

 

ทั้งนี้ เดวิด เคอร์ติส จิตแพทย์ที่ปรึกษา และศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน และมหาวิทยาลัยควีนแมรี กรุงลอนดอน ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษา กลับมองต่างออกไป โดยเผยกับ CNN ว่า เขาไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ที่การสูบบุหรี่จะส่งผลโดยตรงกับสมอง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคจิตเภท และผลการศึกษาที่ได้ยังแสดงให้เห็นว่า มีความเสี่ยงในมารดาที่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ 

 

“สิ่งที่เราบอกได้คือ แม่ของกลุ่มคนที่เป็นจิตเภทมีความเสี่ยงทางพันธุกรรม ซึ่งทำให้พวกเขาสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ อันเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นจิตเภทในเด็ก” เขากล่าวในแถลงการณ์ “ซึ่งแน่นอนว่า มารดาได้ส่งต่อพันธุกรรมเสี่ยงดังกล่าวไปในลูกๆ ต่อด้วย”

 

จากการรายงานเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาของ Lancet Psychiatry Commission พบว่า ปัจจุบันทั่วโลกมีกลุ่มผู้เจ็บป่วยทางจิตเสียชีวิตเร็วกว่าคนทั่วไปถึง 20 ปี และเมื่อต้นปี 2018 มีผลศึกษาอีกชิ้นที่สรุปว่า กลุ่มวัยรุ่นที่สูบกัญชาหรือบุหรี่ เสี่ยงต่อภาวะใกล้เคียงกับโรคจิตเภท ซึ่งโรคจิตเภทนั้นเป็นโรคที่สภาพจิตใจสูญเสียความรู้ความเป็นจริง จึงทำให้เห็นภาพหลอนหรืออาการหลงผิด

 

อ่านเรื่อง ไขปริศนามืดมนของโรคซึมเศร้า ตอนที่ 1: ทำไมคนยุคนี้ถึงซึมเศร้า ได้ที่ 

 

 

ภาพ: Miramax Films

พิสูจน์อักษร: ภาวิกา ขันติศรีสกุล

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X