×

ส่องกรณีศึกษาการเติบโตของ เศรษฐกิจสิงคโปร์ ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่รออยู่ข้างหน้า

26.08.2022
  • LOADING...
เศรษฐกิจสิงคโปร์

ในช่วงครึ่งแรกของปี 2022 เศรษฐกิจสิงคโปร์ ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องภายหลังจากการระบาดของโรคโควิด โดยสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าบางประเทศที่ลักษณะทางเศรษฐกิจคล้ายคลึงกัน ซึ่งมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) สูงกว่าระดับก่อนเกิดวิกฤต 

 

ด้วยนโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เข้มงวด เช่น มาตรการเยียวยาช่วยเหลือแรงงานของประเทศสิงคโปร์ การระดมฉีดวัคซีนโควิดอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้สิงคโปร์มีอัตราการฉีดวัคซีนสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประกอบกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งมายาวนาน ช่วยให้สิงคโปร์สามารถรับมือกับปัญหาระดับโลก อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การท่องเที่ยว การบิน การก่อสร้าง และบริการส่วนบุคคล ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่


ข่าวที่เกี่ยวข้อง:


ปัจจุบันสงครามในรัสเซีย-ยูเครน ยังคงมีความไม่แน่นอน และความท้าทายต่อผู้กำหนดนโยบายการเงิน เนื่องจากการรุกรานของรัสเซีย และมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของชาติตะวันตก เป็นผลทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอาจช้าลง และอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น

 

แม้ว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสิงคโปร์คาดว่าจะยังคงแข็งแกร่ง และอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ความไม่แน่นอนที่ยังคงมีอยู่ ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นในสหรัฐฯ และอุปสงค์ที่อ่อนแอจากคู่ค้ารายใหญ่ 

 

การดำเนินนโยบายการเงินหลังจากนี้จึงต้องคำนึงถึงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ในส่วนของนโยบายการคลังควรค่อยๆ ปรับให้เข้าสู่ภาวะปกติใน 1-2 ปีข้างหน้า ในขณะที่ขยายการฟื้นตัวผ่านการสนับสนุนเป้าหมายไปยังภาคส่วนต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดใหญ่ หากความเสี่ยงเกิดขึ้นมากกว่าที่คาดไว้ สิงคโปร์สามารถใช้กันชนทางการคลัง (Fiscal Buffers) ที่เพียงพอเพื่อรองรับผลกระทบทางเศรษฐกิจได้

 

ธนาคารกลางสิงคโปร์ได้ปรับนโยบายการเงินเพื่อชะลอเงินเฟ้อเป็นครั้งแรกในเดือนตุลาคม 2021 ถัดมาในเดือนมกราคมและเมษายน 2022 และจะประกาศนโยบายครั้งต่อไปในเดือนตุลาคม 2022 สะท้อนให้เห็นถึงการพิจารณาอย่างรอบคอบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันและรวดเร็วในแนวโน้มเงินเฟ้อทั่วโลกและในประเทศ  

 

อย่างไรก็ตาม หากเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่สูงอย่างต่อเนื่อง ธนาคารกลางสิงคโปร์จำเป็นต้องมีความเข้มงวดด้านการเงิน เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาและรักษาอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ ซึ่งความรัดกุมดังกล่าวจะต้องรวดเร็วและรับผิดชอบต่อความล่าช้าที่เกี่ยวข้องกับการส่งผ่านนโยบายการเงิน ท่ามกลางเศรษฐกิจที่เผชิญกับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนต่างๆ อยู่ตลอดเวลา

 

ในขณะเดียวกัน นโยบายเศรษฐกิจมหภาคควรป้องกันความเสี่ยงต่อระบบการเงินต่อไป ซึ่งรวมถึงความเปราะบางจากราคาบ้านที่ผันผวนจากปัจจัยพื้นฐาน ประกอบกับหนี้ครัวเรือนและหนี้ภาคเอกชนที่เพิ่มสูงขึ้นท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

 

นอกจากนี้ ผู้กำหนดนโยบายของสิงคโปร์ได้มุ่งเน้นในการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัลให้มีความครอบคลุมและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผ่านแผนการเร่งนำเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมมาใช้ในประเทศ ขณะเดียวกันก็มีมาตรการป้องกันที่เหมาะสมเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน ซึ่งจะช่วยรักษาสถานะที่โดดเด่นของสิงคโปร์ในฐานะศูนย์กลางนวัตกรรมที่สำคัญระดับภูมิภาค

 

อ้างอิง:

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH


Twitter: twitter.com/standard_wealth
Instagram: instagram.com/thestandardwealth
Official Line: https://lin.ee/xfPbXUP

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising