×

เศรษฐกิจ ‘สิงคโปร์’ โต 7.1% ในไตรมาส 3 อานิสงส์โลกฟื้น ขณะที่ภาครัฐเพิ่มประมาณการ GDP ปีนี้เป็น 7% ส่วนปีหน้าคาดขยายตัว 3-5%

24.11.2021
  • LOADING...
สิงคโปร์

ในไตรมาส 3 ปีนี้ GDP สิงคโปร์ขยายตัว 7.1% อานิสงส์เศรษฐกิจโลกฟื้น ขณะที่กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมเพิ่มคาดการณ์ GDP ปีนี้เป็น 7% ส่วนปีหน้าคาดขยายตัว 3-5% แต่ยังเฝ้าระวังอัตราเงินเฟ้อ 

 

กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์เปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจเมื่อเร็วๆ นี้ โดยระบุว่า GDP สิงคโปร์ขยายตัว 7.1% ในไตรมาสที่ 3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเติบโต 6.5% และเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ที่ผ่านมา GSP ขยายตัว 1.3%

 

การฟื้นตัวเร็วกว่าคาดการณ์ ทำให้กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมเพิ่มประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2564 เป็นประมาณ 7% ซึ่งเป็นกรอบบนสุดของช่วงการคาดการณ์ที่ 6-7%

 

การเติบโตของ GDP ครั้งนี้ มาจากภาคการผลิตขยายตัว 7.2% จากปีที่แล้ว ส่วนภาคการก่อสร้างขยายตัว 66.3% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วซึ่งเป็นฐานที่ต่ำ 

 

ขณะที่อุตสาหกรรมบริการ อสังหาริมทรัพย์ เติบโตขึ้น 16.8% จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยได้แรงหนุนหลักจากกิจกรรมในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัยของเอกชน

 

ส่วนภาคบริการอาหารและเครื่องดื่มหดตัว 4.2% จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากสิงคโปร์เข้มงวดการรับประทานอาหารในร้านและกิจกรรมต่างๆ เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของโควิด

 

ทั้งนี้ สิงคโปร์เป็นนครรัฐแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ต้องต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโควิดที่ระบาดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้ว่าประชากรราว 85% จะฉีดวัคซีนเสร็จสิ้นแล้วก็ตาม อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่สัปดาห์มานี้ รัฐบาลได้ค่อยๆ ผ่อนคลายข้อจำกัดภายในประเทศและชายแดน ทำให้กิจกรรมต่างๆ สามารถกลับมาดำเนินต่อได้อีกครั้ง

 

กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมได้ปรับเพิ่มประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2564 เป็นประมาณ 7% ซึ่งเป็นช่วงบนสุดของช่วงคาดการณ์ก่อนหน้าระหว่าง 6-7% ส่วนปี 2565 คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโต 3-5%

 

“การฟื้นตัวของภาคส่วนต่างๆ ของเศรษฐกิจในปี 2565 คาดว่าจะยังคงไม่เท่าเทียมกัน โดยภาคการผลิตและการค้าเพื่อการส่งออกจะเติบโตแข็งแกร่งตามอุปสงค์ภายนอก แต่ภาคธุรกิจการบิน การท่องเที่ยว จะฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากความต้องการเดินทางทั่วโลกต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว” ตัวแทนกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมกล่าว

 

ขณะเดียวกัน กระทรวงฯ ส่งสัญญาณเตือนเรื่องการหยุดชะงักของอุปทานที่ยืดเยื้อในขณะที่อุปสงค์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์พลังงานที่สูงขึ้น อาจนำไปสู่อัตราเงินเฟ้อที่คงอยู่มากขึ้น

 

โดยในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในประเทศเพิ่มขึ้น 1.5% จากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ที่สุดในรอบเกือบ 3 ปี

 

อ้างอิง:

 


 

ช่องทางติดตาม THE STANDARD WEALTH

  • LOADING...

READ MORE






Latest Stories

Close Advertising