เริ่มจากการเข้าถึงแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ ‘Circular Economy’ ภายใต้แนวปฏิบัติ ‘SCG Circular Way’ เข้าใจการแยกขยะ จนกระทั่งมาถึงขั้นตอนการจัดการขยะผ่านการลงมือทำจริง ชาวชุมชนตำบลบ้านสาและตำบลเมืองมาย ในอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง จึงรับรู้ได้ว่าขยะไม่ไร้ค่าอีกต่อไป หากแต่เป็นสิ่งของสร้างรายได้ หนุนเกื้อให้มนุษย์และธรรมชาติพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันยังเปรียบเสมือนเครื่องมือสร้างความสามัคคีให้กับชุมชนและสังคมจากโครงการและกิจกรรมเปี่ยมประโยชน์มากมายที่เกิดขึ้น
เหตุจากการแยกขยะนำไปสู่การจัดการขยะอย่างเป็นระบบ เช่น โครงการธนาคารขยะรีไซเคิล – คัดแยกขยะรีไซเคิล ก่อเกิดรายได้ทำให้ชุมชนเห็นประโยชน์ที่จับต้องได้จริง เช่น รายได้จากการขายขยะที่คัดแยกอย่างถูกต้อง การนำขยะอันตรายมาแลกไข่ การนำขยะเปียกมาทำเป็นปุ๋ย และการนำขยะมาแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงขยะ หรือ RDF (Refuse Derived Fuel) เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน ที่ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด ในเครือเอสซีจี
ทุกวันนี้เราจึงได้เห็นภาพชินตา เมื่อชาวบ้านในตำบลบ้านสาพร้อมใจกันขนขยะกองใหญ่ที่รวบรวมไว้ในแต่ละเดือน ไม่ว่าจะเป็นขวดพลาสติก กล่องกระดาษ ขวดแก้ว ฯลฯ ที่คัดแยกแล้วจากที่บ้านเพื่อนำมาขาย ณ จุดรับซื้อของโครงการธนาคารขยะรีไซเคิลที่จัดขึ้นในชุมชน
ไม่เพียงเท่านั้น ทางเทศบาลตำบลบ้านสายังทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้กับชาวบ้านสำหรับการจัดการขยะภายในชุมชนตามโครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วยความมุ่งมั่นและทุ่มเท
เช่น สองตัวแทนจากเทศบาลตำบลบ้านสาผู้ขับเคลื่อนวงจรการรับซื้อขยะให้เป็นระบบ ในแต่ละเดือนเทศบาลจะมารับซื้อขยะที่ชาวบ้านแยก ณ จุดรับซื้อประจำของแต่ละหมู่บ้าน และชาวบ้านจะมีสมุดบัญชีธนาคารขยะบันทึกข้อมูลและปริมาณขยะที่นำมาขาย โดยสามารถนำมาแลกรางวัลพิเศษได้ในช่วงสิ้นปี
อย่างเช่น นฤมล สัตย์ต่อชาติ และวรรณี เมฆอุตส่าห์ ตัวแทนเทศบาลฯ ในโครงการขยะแลกไข่ ที่เริ่มต้นจากแนวคิดอยากให้คนในชุมชนทิ้งขยะอันตรายให้ถูกที่ เพื่อให้การกำจัดเป็นไปอย่างถูกวิธี
นอกจากนี้ขยะรีไซเคิลบางส่วนที่คัดแยกไว้ยังเป็นส่วนส่งเสริมจินตนาการสร้างสรรค์ผสานฝีมือเชิงหัตถกรรม โดยถูกนำมาแปลงโฉมเพิ่มมูลค่าตามแนวคิด Upcycling ภายใต้แนวปฏิบัติ ‘SCG Circular Way’ จนเกิดเป็นโปรดักต์เก๋ไก๋ไม่เหมือนใคร
ลองมาดูผลงานสร้างสรรค์จากเศษวัสดุเหลือใช้หลังจากการคัดแยกในครัวเรือนของป้าเพ็ญและวรรณี เช่น หมวกและแจกันดอกไม้จากกล่องกระดาษ หรือจะเป็นผ้ากันเปื้อนที่สามารถใช้งานได้จริงจากซองน้ำยาปรับผ้านุ่มและน้ำยาซักผ้า ที่นอกจากจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนแล้ว ยังช่วยให้ผู้สูงวัยมีกิจกรรมทำยามว่างอีกด้วย
ตามด้วยป้าจินตนา กับฝีมืองานหัตถกรรมจากสิ่งของเหลือใช้และขยะ โดยการนำเศษวัสดุจากที่เปิดฝากระป๋องอะลูมิเนียมมาประดิษฐ์เป็นที่รองแก้วที่มีดีไซน์เป็นเอกลักษณ์
และพระครูวิธานสาธุกิจ เจ้าอาวาสวัดบ้านแป้นและเจ้าคณะตำบลบ้านสา หลวงพ่อนักประดิษฐ์ผู้ซึ่งเรียนรู้การสร้างประติมากรรมจากเศษเหล็ก อะไหล่เหลือใช้จากมอเตอร์ไซค์ และรถยนต์หุ่นยนต์จากสิ่งของเหลือใช้ผ่านช่องทางออนไลน์
รวมถึงสองพ่อลูกสายศิลปินอย่าง พงษ์ศักดิ์ ถนอมจิตต์ นักดนตรีประจำหมู่บ้าน และทิพาพร ถนอมจิตต์ เจ้าของร้านกาแฟในหมู่บ้าน กับไอเดียสร้างสรรค์ที่นำเอาเศษวัสดุเหลือใช้ เช่น ฝาแก้วพลาสติกใช้แล้วมาเป็นกระถางปลูกต้นไม้สุดน่ารัก หรือการใช้ไม้ฝาบ้านเก่ามาสร้างสรรค์เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมือง
“เดี๋ยวนี้ชาวบ้านขี่รถไปเจอขวดแก้วหรือพลาสติกที่ไหนก็ต้องหยุดเก็บ เพราะขยะเหล่านี้เป็นขยะทองคำทั้งนั้น”
ประโยคข้างต้นคงไม่ใช่ถ้อยคำเกินเลย เมื่อโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นทำให้การบริหารจัดการขยะมีความครบวงจรมากยิ่งขึ้น เมื่อผสานเข้ากับความร่วมมือและสนับสนุนจากหน่วยงานราชการท้องถิ่น เรื่องราวดังกล่าวก็ได้สร้างโมโดลน่าทึ่ง พร้อมต่อยอดออกไปสู่ชุมชนทั่วประเทศในอนาคต
สามารถเข้าไปอ่านเรื่องราวของตอนที่ 1 ทำความรู้จักตำบลบ้านสาและตำบลเมืองมาย กับการยืนหนึ่งวิถีชุมชนจัดการขยะ ที่ https://thestandard.co/scg-circular-economy-2/
และตอนที่ 2 การแยกขยะในชุมชน เพิ่มมูลค่า รักษาสิ่งแวดล้อม ทุกคนทำได้ ที่ https://thestandard.co/waste-separation-2/
เราทุกคนสามารถร่วมมือกันช่วยสร้างโลก เพียงเปลี่ยนวิธีคิด ปรับวิธีการแยกขยะ เรียนรู้แนวปฏิบัติของ ‘SCG Circular Way’ ได้ที่ http://bit.ly/FBSCGCES028
พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์