×

พินิจงานคราฟต์มุมใหม่กับโครงการ ‘SACICT Concept 2020’ ต่อยอดภูมิปัญญาไทยสู่งานหัตถศิลป์ที่คนทุกเจนจับต้องได้ [Advertorial]

โดย THE STANDARD TEAM
27.08.2020
  • LOADING...
SACICT Concept 2020

HIGHLIGHTS

  • SACICT Concept 2020 หรือโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบัน โดยศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาต้นแบบงานศิลปหัตถกรรมไทยให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน เน้นการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีการต่อยอดจากภูมิปัญญาดั้งเดิมให้มีความร่วมสมัย เพื่อให้งานศิลปหัตถกรรมสามารถจำหน่าย สร้างรายได้ให้ผู้ผลิตและชุมชนที่สร้างชิ้นงานได้อย่างแท้จริง  
  • ร่วมชม 40 ผลงานศิลปหัตถกรรมร่วมสมัยได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 สิงหาคม 2563 ชั้น G สามย่านมิตรทาวน์

ดูเหมือนโลกของศิลปหัตถกรรมก็ยังต้องปรับตัวให้ทันกระแสโลกธุรกิจ การปรับนั้นเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนคนทำงานศิลปะก็ส่วนหนึ่ง แต่ผลตอบแทนที่คุ้มค่ายิ่งกว่าคือความยั่งยืนของศิลปหัตถกรรมไทยที่จะอยู่คู่กับคนไทยอย่างแท้จริง  

 

โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบัน
โดยศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)

 

THE STANDARD มองเห็นความเป็นไปได้ของความยั่งยืนนี้ ในขณะที่ยืนอยู่ภายในงานเปิดตัวโครงการ SACICT Concept 2020 หรือโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตปัจจุบัน ที่จัดขึ้นโดยศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) ภายใต้คอนเซปต์ ‘พลิกมุมมองงานคราฟต์ ทันกระแสโลกธุรกิจ’ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาต้นแบบงานศิลปหัตถกรรมไทยให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน เน้นการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีการต่อยอดจากภูมิปัญญาดั้งเดิมให้มีความร่วมสมัย เพื่อให้งานศิลปหัตถกรรมสามารถจำหน่าย สร้างรายได้ให้ผู้ผลิตและชุมชนที่สร้างชิ้นงานได้อย่างแท้จริง 

 

 

ภายในงานมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมร่วมสมัย 40 ผลงาน ถือเป็นการพลิกมุมมองศิลปหัตถกรรมจากภูมิปัญญาไทยให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยหลากหลายรูปแบบ มุ่งเน้นไปที่การสร้างมูลค่าโดยชิ้นงาน หาใช่มูลค่าที่เกิดจากวัตถุดิบ โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ผลิตงานหัตถศิลป์ (สมาชิกของ ศ.ศ.ป.) ที่มีทักษะฝีมืออันมีเอกลักษณ์ และ 5 สตูดิโอออกแบบชั้นนำของเมืองไทย ต่อยอดผลงานศิลปหัตถกรรมทั่วทุกภูมิภาคจากภูมิปัญญาดั้งเดิม อาทิ กลุ่มงานของตกแต่งบ้าน, ของที่ระลึกและของชำร่วย, เสื้อผ้า, แอ็กเซสซอรี ฯลฯ โดยชิ้นงานยังมีความหลากหลายแตกแขนงของศิลปะทั้งงานเซรามิก งานผ้า งานไม้ งานโลหะ ฯลฯ 

 

อดิศักดิ์ จันทร์วิทัน รองผู้อำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)

 

อดิศักดิ์ จันทร์วิทัน รองผู้อำนวยการ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดงาน เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาต้นแบบงานศิลปหัตถกรรมไทยให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน เน้นการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมด้วยการต่อยอดจากภูมิปัญญาดั้งเดิมให้มีความร่วมสมัย เพื่อให้ผู้ผลิตและชุมชนมีรายได้  

 

โครงการ SACICT Concept 2020 เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ 3 กลุ่มพันธมิตรหลัก ได้แก่ กลุ่มพันธมิตรทางการค้าที่มาพร้อมโจทย์ความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงตั้งแต่กระบวนการพัฒนา กลุ่มที่สองคือ กลุ่มผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรม 40 ราย และสุดท้ายคือ กลุ่มผู้สร้างสรรค์หรือนักออกแบบที่มากด้วยประสบการณ์ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกระบวนการทำงาน  

 


 

กว่าจะได้ 40 ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมร่วมสมัยที่เห็นนี้ นักออกแบบได้ลงพื้นที่เพื่อศึกษาขั้นตอนการผลิตและดึงเอาศักยภาพของผู้ผลิตที่เข้าร่วมโครงการมาออกแบบผลิตภัณฑ์สินค้าในรูปแบบต่างๆ ที่ทันสมัย และยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้จริง งานดีไซน์ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ อาทิ เก้าอี้อาร์มแชร์รูปทรงร่วมสมัยตกแต่งด้วยผ้าปักลวดลายของชาวอาข่า, กระเป๋าถือที่ผลิตจากยีนส์และเสื้อผ้ามือสอง รวมถึงวัสดุรีไซเคิลอย่างถุงปูนซีเมนต์ตราเสือ, ชุดกาน้ำชา Nill และ Teo การผสมผสานระหว่างดินปั้นเบญจรงค์จากปัตตานีกับเบญจรงค์ไทยสายเลือดชุมพร, กล่องใส่เครื่องสำอาง ภูมิปัญญาชาวบ้าน และเทคนิคการทำบานพับแบบเข้าเดือยของช่างไม้ชาวญี่ปุ่น สอดรับกับงานไม้แบบไทยอย่างลงตัว ตกแต่งด้วยแผ่นหนังเพิ่มความร่วมสมัย เป็นต้น

บนเวทีเสวนายังได้เชิญนักออกแบบมืออาชีพ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของโครงการ และช่างฝีมือผู้ผลิตงานศิลปหัตถกรรมมากประสบการณ์ ซึ่งมีทักษะฝีมืออันเป็นเอกลักษณ์ มาร่วมพูดคุยถึงคอนเซปต์งานในครั้งนี้ ‘พลิกมุมมองงานคราฟต์ ทันกระแสโลกธุรกิจ’

 

เวทีเสวนาภายใต้คอนเซปต์ ‘พลิกมุมมองงานคราฟต์ ทันกระแสโลกธุรกิจ’

 

พิพิธ โค้วสุวรรณ นักออกแบบแห่ง Salt and Pepper Studio มองว่า การทำงานระหว่างตนเองกับชุมชนก็เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมร่วมสมัยให้เข้าสู่ตลาด เช่นเดียวกับที่ อนุพล อยู่ยืน ดีไซน์ไดเรกเตอร์จากแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ Mobella ก็เล่าถึงสิ่งที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการ ได้ลงพื้นที่ทำงานกับช่างฝีมือ นอกจากจะได้เรียนรู้ศิลปะแขนงใหม่ๆ ยังได้เรียนรู้วิธีการทำงานของช่างฝีมือมากประสบการณ์

 

ธนินทร์ธร รักษาวงศ์ ครูช่างหัตถศิลป์ ผู้สืบทอดการทำผ้าบาติกโบราณรุ่นที่ 3 แห่งดาหลาบาติก ก็ยอมรับว่า โครงการนี้ทำให้กล้าหลุดออกจากกรอบงานแบบเดิมๆ อัตลักษณ์ของผ้าบาติกสามารถหลอมรวมให้กลายเป็นงานหัตถศิลป์ร่วมสมัยได้ ในขณะที่ วินัย บุญศรีสวัสดิ์ แห่งศศินา หัตถศิลป์ชุมชน ตอกย้ำให้เห็นถึงการก้าวข้ามประตูบานเดิม แค่เพียงเปิดใจ เรียนรู้สิ่งใหม่ ย่อมนำไปสู่การต่อยอดภูมิปัญญาดั้งเดิมให้มีความร่วมสมัยและสร้างความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง 

 

 

ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่ชื่นชอบงานคราฟต์ หลงใหลเสน่ห์ศิลปหัตถกรรมไทย หรือมองหาของใช้ ของแต่งบ้าน ของที่ระลึกและของชำร่วย เสื้อผ้า หรือแม้แต่แอ็กเซสซอรี คุณจะต้องอิ่มใจกับการเดินชม 40 ผลงานที่จัดแสดง เพราะมีการจัดทำเนื้อหาบอกเล่าเรื่องราวคุณค่าและที่มาของผลิตภัณฑ์ อาทิ แนวคิด ภูมิปัญญา หรือเรื่องราวของชุมชน แฝงอยู่ในผลงานแต่ละชิ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างความน่าสนใจให้ผลิตภัณฑ์นำวัสดุวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์จากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นงานดีไซน์รูปแบบใหม่ อาทิ ผ้าทอมือ ผ้าชาวเขา เสื่อปาหนัน เป็นต้น

 

คลิกเพื่อดูข้อมูลผลิตภัณฑ์ได้ที่ (ใส่ Link) https://www.sacict.or.th/th/detail/2020-08-21-10-34-23?event-project=1 

 

ร่วมชมและสนับสนุนงานศิลปหัตถกรรมไทยได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 30 สิงหาคม 2563 ณ ชั้น G สามย่านมิตรทาวน์ 

 

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ sacict.or.th และ www.facebook.com/sacict 

 

#SACICTCONCEPT2020 #ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ #SACICT #คุณค่าความเป็นไทย #SACICTอ่านว่าศักดิ์สิทธิ์ #ศิลปหัตถกรรมไทย #หัตถศิลป์ #ArtandCraft #วิถีชีวิตปัจจุบัน #CONCEPT2020 #ร่วมสมัย  #InnovativeCraft

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising