×

ARTIFICIAL POET SOCIETY: เมื่อ AI กลายร่างเป็นนักเขียนนิยาย!

21.08.2018
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

Time Index

02:33 ประเภทของ AI

07:50 เมื่อคนกับ AI แต่งนิทานก่อนนอน

18:00 AI แต่งนิทานได้อย่างไร

20:35 วรรณกรรมเรื่องนี้ AI หรือคน เป็นผู้แต่ง

25:22 จุดอ่อนของ AI กับเส้นทางสู่วรรณกรรมระดับโลก

27:35 นักเขียนจะตกงานไหม

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้านิยายที่แต่งโดย AI กลายเป็นหนังสือระดับ Best Seller ที่ครองใจนักอ่านทั่วโลกไม่แพ้ Harry Potter เป็นไปได้แค่ไหนที่ผลงานของ AI จะขึ้นแท่นนิยายคลาสสิกตลอดกาลเหมือนกับผลงานขึ้นหิ้งของ วิลเลียม เชกสเปียร์ เมื่อถึงตอนนั้นแล้ว เราจะยังมอง AI เป็นเครื่องจักรกลที่ไม่มีหัวใจ ไร้ความคิดสร้างสรรค์อยู่หรือเปล่า

 

Tomorrow is Now เอพิโสดนี้ ซู่ชิง-จิตต์สุภา ฉิน ชวน อาจารย์อาร์ท-อรรถพล ปะมะโข จากภาควิชาภาษาอังกฤษและภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ผู้เขียนบทความวิจัยเกี่ยวกับวรรณกรรมดิจิทัล มาพูดคุยถึงบทบาทของ AI ในวงการวรรณกรรมว่าก้าวหน้าไปถึงไหน แล้วนักเขียนจะตกงานกันไหม

 

รู้จักประเภทของ AI

เราสามารถแบ่งประเภทของ AI ตามระดับของความฉลาด 3 ระดับ คือ

    • Artificial Narrow Intelligence (ANI)

หมายถึง AI ที่ถูกพัฒนาให้มีความสามารถเฉพาะทาง และทำงานได้บางอย่างเท่านั้น แต่ยังไม่มีระบบความคิดที่ซับซ้อนแบบมนุษย์ เรียกกันว่า ‘Weak AI’

    • Artificial General Intelligence (AGI)

หมายถึง AI ที่มีระดับสติปัญญาใกล้เคียงกับมนุษย์ ปัจจุบันยังไม่มีใครที่สามารถพัฒนา AI ไปถึงขั้นนี้ได้สำเร็จ แต่มีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ เรียกกันว่า ‘Strong AI’

    • Artificial Super Intelligence (ASI)

หมายถึง AI ที่ก้าวข้ามระดับสติปัญญาและขีดความสามารถของมนุษย์ไปสู่ขั้นที่เหนือกว่ามนุษย์ที่ฉลาดที่สุดในโลก เรียกว่า ‘SuperIntelligence’ ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้คนกังวลกันมากที่สุดว่า สุดท้าย AI จะกลายเป็นภัยคุกคามต่อมวลมนุษยชาติ

 

 

เมื่อคนจับมือกับ AI แต่งนิทานสไตล์พี่น้องตระกูลกริมม์

The Princess and The Fox นิทานก่อนนอนในแอปพลิเคชัน Calm เป็นผลงานของสตูดิโอ Botnik ที่นำโปรแกรม AI-Generated Text Prediction มาใช้แต่งนิทานให้มีกลิ่นอายและสไตล์การเขียนเหมือนกับพี่น้องตระกูลกริมม์ (The Grimm Brothers) ซึ่งขึ้นชื่อเรื่อง ‘ความดาร์ก’ เป็นพิเศษ แต่รู้หรือไม่ว่า AI ยังมีจุดบกพร่องด้านการใช้ภาษาที่ไม่เป็นธรรมชาติ (Natural Language) เนื้อหาและภาษาจึงดูแปลกประหลาดหรือไม่เมกเซนส์อยู่บ้าง

 

Botnik ใช้โปรแกรม Text Prediction เลือกคำในการแต่งนิยาย
Photo: Botnik

 

รู้หรือไม่ AI แต่งนิยายมานานกว่า 60 ปีแล้ว

ที่จริงแล้ววรรณกรรมที่แต่งโดย AI เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคแรกๆ ของการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก เช่น

– Love Letter ของคริสโตเฟอร์ สเตรชีย์ ซึ่งพัฒนาโปรแกรมเขียนจดหมายรักขึ้นมาในปี 1952

– Eliza เป็นโปรแกรมแชตบอตยุคแรกๆ ที่ประดิษฐ์ขึ้นในปี 1966

– โปรแกรม Tale-Spin ผลงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของ เจมส์ มี-ฮัน เป็นระบบอัลกอริทึมที่สร้างขึ้นในปี 1976 มาเพื่อเล่านิทาน มีความซับซ้อนสูงมาก

 

Human or Bot?

เมื่อวรรณกรรมญี่ปุ่นเรื่อง The Day a Computer Writes a Novel ที่แต่งโดย AI ผ่านเข้ารอบการประกวดรางวัล Nikkei’s Shinichi Hoshi Literary Award นำไปสู่การตั้งคำถามว่า เราจะสามารถแยกแยะได้ไหมว่าวรรณกรรมเรื่องไหนเป็นฝีมือของ AI หรือมนุษย์ อ.อรรถพลได้อธิบายวิธีสังเกตความแตกต่างแบบง่ายๆ ไปจนถึงการทดสอบของทัวริง ซึ่งเป็นแนวคิดที่ อลัน ทัวริง นักคณิตศาสตร์ชื่อดังของโลก เสนอขึ้นเพื่อทดสอบว่า เครื่องจักรสามารถคิดได้อย่างมนุษย์หรือไม่

 

นิยายของ AI จะเป็นผลงานคลาสสิกระดับโลกได้ไหม

งานศิลปะหรืองานวรรณกรรมทุกแขนงถูกเขียนขึ้นโดยอ้างอิงจากประสบการณ์ของมนุษย์ ซึ่งเกิดจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 นั่นคือ รูป รส กลิ่น เสียง แต่ที่ผ่านมา AI ยังมีจุดอ่อนด้านความคิดสร้างสรรค์ เพราะไม่สามารถรับรู้อารมณ์ความรู้สึก หรือเข้าใจความคิดซับซ้อนได้ จึงเป็นที่ถกเถียงกันว่า เราจะยอมรับคุณค่าทางวรรณกรรมที่เครื่องจักรสร้างสรรค์ขึ้น เช่นเดียวกับวรรณกรรมทั่วไปหรือไม่ หรือถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องใช้ ‘เกณฑ์อื่น’ ในการตัดสิน

 

ถ้านักเขียนไม่อยากตกงานต้องทำอย่างไร

จริงๆ แล้ววรรณกรรมเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน หนทางที่ดีที่สุดก็คือ การปรับตัวและเปิดใจรับใช้ AI เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์งานศิลปะนั่นเอง


via GIPHY

 


Credits

 

The Host จิตต์สุภา ฉิน
The Guests อรรถพล ปะมะโข

 

Show Creator ภูมิชาย บุญสินสุข

Episode Producer  ปิยพร อรุณเกรียงไกร

Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ
Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์
Proofreader ภาวิกา ขันติศรีสกุล

Webmaster รพีพรรณ เกตุสมพงษ์

  • LOADING...

READ MORE

MOST POPULAR



Close Advertising
X