×

3 หัวใจสำคัญในการทำธุรกิจค้าปลีกให้ยั่งยืนและประสบความสำเร็จกับ CPN

08.03.2019
  • LOADING...

ถ้าพูดถึงศูนย์การค้าที่อยู่ในใจลูกค้าและประสบความสำเร็จมากที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองไทย เชื่อว่าชื่อแรกที่หลายคนนึกถึงต้องเป็น ‘เซ็นทรัล’ ศูนย์กลางไลฟ์สไตล์และการจับจ่ายใช้สอย ซึ่งมี CPN หรือบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เป็นผู้บริหารยาวนานกว่า 38 ปี ทำรายได้ต่อปีสูงถึงหมื่นล้านบาท

 

จากองค์ความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมมา CPN ต่อยอดหลักสูตร CPNlead คอร์สสำหรับ SMEs ที่พร้อมถ่ายทอดวิชาค้าปลีกเน้นๆ เหมือนเป็นสูตรลับแห่งความสำเร็จที่หาเรียนจากที่ไหนไม่ได้

 

เคน นครินทร์ คุยกับ ผศ.ปิติพีร์ รวมเมฆ Program Director ของคอร์ส CPNlead ในพอดแคสต์รายการ The Secret Sauce

 


สำหรับใครที่สนใจเรียนหลักสูตร CPNlead รุ่นที่ 3 (CPN Leading Entrepreneur Advanced Development) สามารถดูรายละเอียดพร้อมสมัครได้ที่ www.cpn.co.th/cpnlead สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 15 มีนาคม 2562


 

1. ลูกค้า (Customer)

 

เวลาทำธุรกิจต้องคิดด้วยว่าจะตอบลูกค้าได้อย่างไร เพราะพวกเขาเป็นทรัพย์สมบัติสำคัญ เราไม่ควรมองว่าลูกค้าเป็นแค่คนคนเดียวหรือเป็นปัจเจกบุคคล เราควรมองเขาเป็นครอบครัว เป็นเพื่อน เป็นคอมมูนิตี้ เพื่อความยั่งยืนของแบรนด์

 

อาจารย์มักแนะนำให้คนที่เข้ามาเรียนเก็บฐานข้อมูลของลูกค้าไม่ต้องทำรีเสิร์ชอย่างจริงจังก็ได้ แต่ขอให้รู้ว่าเป้าหมายของแบรนด์คืออะไร และจะทำอย่างไรให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า

 

เคยมีเคสหนึ่ง ลูกศิษย์ขายชานมไข่มุก อาจารย์ถามว่า “สินค้าของเขาแตกต่างกับแบรนด์อื่นอย่างไร” เขาตอบว่าไข่มุกนำเข้าจากเมืองนอก ไม่เหมือนเจ้าอื่น แต่นั่นเป็นความคิดที่มาจากคนขาย เขาอยู่กับมันมากเกินไป อาจารย์เลยให้ลองไปถามลูกค้าประจำดูว่าเพราะอะไรถึงกลับมาซื้อบ่อยๆ ลูกค้าตอบว่า “เป็นเพราะทุกครั้งที่เจาะหลอด กลิ่นชาจะหอมฟุ้งทะลุออกมา” มันเป็นมุมเล็กๆ ที่คนขายอาจมองไม่เห็น เรื่องนี้ทำให้เขารู้ว่าจุดขายมันเกิดจากคุณภาพของชาที่เสริมให้ไข่มุกยิ่งเคี้ยวสนุก ถือว่าได้ข้อมูลใหม่ที่คุ้มค่า คุ้มเวลา และแม่นยำ

 

ทำอย่างไรให้แบรนด์เข้าถึงความเป็น Customer Centric

  • เปลี่ยนความคิดตัวเอง
    เลิกพูดว่าสินค้าของฉันดีอย่างไร แต่ลองคิดในมุมลูกค้าว่าเขามองเห็นเสน่ห์อะไรจากแบรนด์ของเรา  
  • มองแบบ win-win เราได้ ลูกค้าก็ต้องได้
    ลองคิดว่าลูกค้าซื้อสินค้าเพื่ออะไร เช่น ซื้อไปเซอร์ไพรส์คนรัก ซื้อไปใช้ที่ต่างประเทศ หรือซื้อไปให้ลูกกิน และเราจะทำสินค้าอย่างไรให้เกิดประโยชน์หรือเข้าไปอำนวยความสะดวกของเขาได้มากที่สุด
  • เข้าใจ Customer Lifetime Value
    สร้างแบรนด์ให้เติบโตไปพร้อมกับลูกค้า ลองจินตนาการถึงลูกค้าที่เริ่มต้นรู้จักแบรนด์เราตอนยังโสด ต่อมาเขาแต่งงานมีสามี ขยับมาอีกนิดมีลูก เราจะทำอย่างไรให้แบรนด์ยังคงเข้าถึงเขา พัฒนาสินค้ามาตอบโจทย์เขา โตไปพร้อมๆ กัน เหมือนแบรนด์ที่ทำเสื้อผ้าคู่แม่ลูก เป็นต้น 

 

2. เอกลักษณ์ (Signature)

 

Company

ตอบคำถามตัวเองให้ได้ก่อนว่าแกนหลักของแบรนด์คืออะไร บางครั้งลูกค้าบอกจะเอาแบบนั้นแบบนี้ แต่เช็กให้ดี มันไม่ใช่ทางของแบรนด์เลย ต้องรับคนเพิ่ม ต้องพัฒนาเทคโนโลยีที่เสียค่าใช้จ่ายมหาศาล ไม่คุ้มการลงทุน ฉะนั้นกลับมาดูที่ตัวเองก่อน เป้าหมายธุรกิจต้องการอะไร และจะดึง ‘จุดขาย’ ที่ตัวเองเก่งออกมาสร้างสรรค์จนเป็นซิกเนเจอร์ของแบรนด์ได้อย่างไร อาจารย์ไม่ชอบใช้คำว่า ‘จุดแข็ง’ เพราะเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็มี แต่ ‘จุดขาย’ เป็นสิ่งที่สร้างได้และมีความเฉพาะตัว

 

ต่อมาเป็นเรื่อง Execution หรือการลงมือทำจริง อาจารย์มักให้โจทย์ว่าทำอย่างไรให้ธุรกิจ Quick Win ไม่ต้องโลกสวย ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีล้ำสมัย แต่ทำอย่างไรให้ลดค่าใช้จ่าย แต่เพิ่มยอดขายมากขึ้น การคิดแบบนี้จะทำให้เจ้าของธุรกิจเหนื่อยน้อยลง ได้ผลตอบแทนดีขึ้น เพราะทุกอย่างมีการวางแผนที่ดีล่วงหน้าไว้ก่อนแล้ว

 

Customer

เจ้าของธุรกิจสามารถบริหารจัดการประสบการณ์ที่ลูกค้ามีกับแบรนด์ได้ อาจารย์เรียกว่า ‘Touch Point’ เหมือนเป็นสิ่งที่แบรนด์อื่นไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ เพราะมันคือความสัมพันธ์ที่ลูกค้าสัมผัสและเอ็นเกจกับแบรนด์โดยตรง เหมือนเป็น Signature Experience เรื่องนี้รวมไปถึงบรรยากาศการตกแต่งและการบริการของพนักงานอีกด้วย

 

3. ระบบปฏิบัติการ (Operation) ที่ดีเป็นอย่างไร 

 

  • ต้องรันได้ด้วยตัวเองโดยไม่พึ่งพาคน
    ยกตัวอย่างร้านค้าแห่งหนึ่ง ทันทีที่ลูกค้าเดินเข้าร้าน พนักงานจะพูดว่า “รับขนมจีบซาลาเปาเพิ่มไหมคะ” นี่คือการสร้างระบบให้พนักงาน ไม่ได้เกิดมาจากความต้องการสื่อสารของพวกเขาเอง แสดงให้เห็นว่าระบบไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องเฉพาะเทคโนโลยีหรือไอที แต่มันเป็นเรื่องของคน
  • ช่วยทำให้ชีวิตดีขึ้น
    เมื่อไรที่ใช้ระบบในระยะยาวแล้วทำให้กระบวนการทำงานแย่ลง สิ่งนั้นไม่เรียกว่าระบบ เพราะระบบมันต้องรันง่าย ควบคุมได้ ทุกคนเห็นตรงกันว่าทำให้ชีวิตสะดวก คุ้มค่าการลงทุน
  • ผสมผสานกับองค์กร
    ทำให้คนและงานเป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่ขัดขวางหรือทำให้เกิดจังหวะสะดุด  

 

ส่วนผสมของธุรกิจค้าปลีกที่ดี

 

1. ธุรกิจที่ดีต้องยั่งยืน เราเจอหลายคนในวันที่เขาประสบความสำเร็จ ณ ตอนนั้น มีสินค้าตามกระแสจนฮิตขึ้นมา แต่เขาจะต่อยอดอย่างไรให้ความนิยมนี้อยู่ไปได้นานๆ สิ่งนี้เป็นความท้าทายของธุรกิจ เพราะฉะนั้นทำอะไรอย่าคิดแค่ขั้นแรก แต่ให้มองไปข้างหน้าเสมอ

 

2. เลือกโฟกัสให้ถูกต้อง คนทำธุรกิจมักเจอทางเลือกของโอกาส มีคนเสนอสิ่งนี้ จะทำหรือไม่ทำ อาจารย์ว่าทุกอย่างต้องวางแผน ลองผิดลองถูกได้ แต่ไม่สะเปะสะปะ สร้างเส้นทางด้วยตัวเอง

 

รู้จักคอร์ส CPNlead คอร์สนี้น่าสนใจอย่างไร

 

1. เปิดโอกาสให้คิดนอกกรอบจากการแชร์ประสบการณ์ในคลาส รวมถึงการผลักดันให้ทำ Co-creation ระหว่างแบรนด์

 

2. ผลักดันให้ลงมือทำจริงจากการทำ Pop-up Market ได้ทดลองไอเดียว่าเวิร์กไหม รวมถึงได้รับฟีดแบ็กจริงจากลูกค้าทันที พร้อมเปิดพื้นที่ให้ทดลองขายจริงในศูนย์การค้าเซ็นทรัล

 

3. โอกาสเข้าสู่ ‘Retail Eco-system’ อันแข็งแกร่งของ CPN ทั้งช่องทางการขายทั้งออฟไลน์และออนไลน์ (JD Central) และการขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ 

 


 

สามารถฟังพอดแคสต์ The Secret Sauce
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย

 


 

 

Credits

 

The Host นครินทร์ วนกิจไพบลูย์

The Guests ผศ.ปิติพีร์ รวมเมฆ, กุลวัชร ภูริชยวโรดม,

ธนิสา วีระศักดิ์ศรี



Show Creator นครินทร์ วนกิจไพบูลย์

Show Producers เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์, ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Marketing & Coordinator อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์

Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

Podcast Intern วริษฐ์ โกศลศุภกิจ

  • LOADING...

READ MORE

MOST POPULAR



Close Advertising
X