×

Visualisation เคล็ดลับฝึกสมอง จินตนาการ ‘ความท้าทาย’ ให้กลายเป็น ‘ความสำเร็จ’

27.06.2021
  • LOADING...

“ยิ่งคุณจินตนาการภาพได้ชัดเจนเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งเข้าใกล้ความสำเร็จได้มากขึ้นเท่านั้น”

เปิดวิธีฝึกสมองของนักกีฬาระดับโลก กับเทคนิคจินตนาการภาพเสมือนจริง เพื่อสร้างบรรยากาศความคุ้นเคยก่อนลงแข่งขันให้ได้มากที่สุด พร้อมแจกขั้นตอนทดลองทำตามอย่างค่อยเป็นค่อยไป ปรับใช้ได้กับทุกเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของคุณ

ติดตามทุกความเคลื่อนไหวของ Tokyo Olympics 2020 ได้ที่ https://thestandard.co/tokyo2020/



Visualisation คืออะไร

เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ที่ต้องมีช่วงเวลาจินตนาการถึงสิ่งที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นจริง อาจเป็นภาพฝันในอุดมคติ ความท้าทายที่รออยู่ข้างหน้า หรือเรื่องสำคัญที่เราอยากทำมันให้สำเร็จ แต่สำหรับนักกีฬาโอลิมปิก พวกเขาไม่ได้จินตนาการออกมาเป็นภาพลอยๆ แต่ลงลึกกับรายละเอียดในระดับที่น่าตกใจ

 

ไอ อุเอดะ ตัวแทนนักไตรกีฬาจากประเทศญี่ปุ่นในปี 2008 และ 2012 เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “การจินตนาการเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในการทำให้เธอประสบความสำเร็จระดับโลก เธอมักจินตนาการภาพอย่างละเอียดก่อนเวลาลงแข่งขันจริง ตั้งแต่ภาพการฝึกซ้อม วิธีการขยับร่างกาย ปริมาณน้ำที่จะดื่มระหว่างแข่ง สภาพแวดล้อมในสนาม ไปจนถึงภาพของตนเองที่เส้นชัย”

 

เทคนิคการจินตภาพสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ Visualisation และ Imagery

 

  • Visualisation: การสร้างภาพด้วยจิต
    คุณต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดเพื่อจินตนาการถึงสิ่งที่อยากนึกถึง ไม่ว่าจะเป็นเสียงที่ได้ยิน ความรู้สึกนึกคิด รสชาติ และอะไรก็ตามที่กำลังสัมผัส เพื่อทำให้ร่างกายรับรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นได้ชัดเจนมากที่สุด เปรียบเหมือนการดูโทรทัศน์ที่มีความคมชัดสูง ยกตัวอย่างเช่นนักกีฬา พวกเขาจะรู้สึกถึงกล้ามเนื้อที่กำลังเคลื่อนไหว รู้สึกถึงอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงขึ้น และแน่นอนว่า ยิ่งคุณเข้าถึงความรู้สึกสัมผัสเหล่านี้ได้ดีมากเท่าไหร่ การจินตนาการของคุณยิ่งสมบูรณ์มากขึ้นเท่านั้น  
  • Imagery: การสร้างภาพด้วยสมอง
    การจินตนาการประเภทนี้มีความสมบูรณ์มากกว่าแบบที่ 1 หลักการของมันจะไม่มีประสาทสัมผัสเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ต้องใช้อารมณ์เพื่อสร้างให้เกิดภาพตามความรู้สึก แต่เป็นการฝึกสมองให้รวบรวมข้อมูลขนาดเล็กจำนวนมหาศาลที่มาจากประสบการณ์ในอดีต จนเกิดเป็นภาพที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นจริง เช่น คุณอาจไม่เคยสัมผัสการวิ่ง 100 เมตรสุดท้ายก่อนเส้นชัย แต่คุณก็สามารถนึกภาพมันออกได้อย่างชัดเจนด้วยการนึกภาพให้สมองช่วยประมวลประสบการณ์มากมายในอดีต ผสานเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นภาพใหม่ หรือคุณอาจฝันกลางวันถึงการซ้อมฟุตบอลหลังเลิกงาน แม้ไม่ได้ลงสนามจริง แต่สมองของคุณก็ได้รับการฝึกฝนแล้วสำหรับเกมนี้ นักวิทยาศาสตร์นิยามสิ่งนี้ว่ามันคือการฝึกฝนเส้นประสาทผ่านจินตภาพ

 

อยากฝึก Visualisation บ้างต้องทำอย่างไร

โทมัส โรห์เลอร์ นักกีฬาพุ่งแหลนเหรียญทองโอลิมปิกปี 2016 เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “คุณสามารถทำให้ธุรกิจเติบโตได้ดีขึ้น เพียงแค่เห็นภาพเป้าหมายที่ต้องการ” นั่นหมายความว่าการจินตนาการภาพไม่ได้ใช้แค่เฉพาะกับนักกีฬาโอลิมปิก แต่สามารถใช้ได้กับทุกคนในทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการสัมภาษณ์งาน การพรีเซนต์หน้าชั้นเรียน การสอบใบขับขี่ หรือแม้แต่การออกเดตครั้งแรก

 

พวกเราต่างใช้เทคนิคนี้ในชีวิตประจำวันโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่คุณทำกุญแจหาย แล้วพยายามจินตนาการว่าเคยวางมันไว้ตรงไหน หรือแม้กระทั่งตอนที่คุณฟังพอดแคสต์ The Secret Sauce คุณอาจนึกภาพธุรกิจของตัวเองตามไปด้วย

 

ดังนั้นถ้าคุณอยากฝึกจินตนาการภาพเพื่อพัฒนาทักษะของตนเองหรือมาช่วยปลดล็อกชีวิตให้ดีขึ้นโดยวิธีการเรียนรู้แบบค่อยๆ คิดไปทีละขั้น

ขั้นตอนที่ 1
สมมติว่าคุณไม่เคยใช้ภาพในการจินตนาการเลย ลองนึกถึงอะไรก็ได้ที่แวบเข้ามาในความคิดคุณเป็นอย่างแรก ยกตัวอย่างเช่น การออกไปวิ่งที่สวนสาธารณะ


ขั้นที่ 2
ค่อยๆ ใช้เวลาสักครู่คิดภาพนั้นขึ้นมาในหัว โดยอ้างอิงจากความทรงจำที่ได้ทำสิ่งนั้นเมื่อไม่นานมานี้ และในขณะที่คุณกำลังคิดถึงภาพนั้น ขอให้คุณพยายามสังเกตถึงรายละเอียดต่างๆ เช่น คุณกำลังเห็นอะไร คุณกำลังรู้สึกอะไร คุณกำลังได้ยินอะไร

 

ลองสังเกตดีๆ คุณจะพบว่า สิ่งที่ยากคือการจินตนาการถึงความรู้สึกที่ตัวเองมีต่อเรื่องนั้นๆ แต่สิ่งที่ง่ายคือการจินตนาการสิ่งที่เห็น

ขั้นที่ 3
ลองย้อนกลับไปนึกถึงภาพจินตนาการเดิมอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ขอให้โฟกัสเฉพาะสิ่งที่กำลังมองเห็น เช่น คุณกำลังเห็นตัวเองวิ่งไปทางไหน อากาศในวันนั้นเป็นอย่างไร มีรายละเอียดอะไรบ้างที่อยู่รอบตัว

ขั้นที่ 4 

เมื่อคุณปล่อยใจให้สบาย การจินตนาการภาพจะสามารถทำได้อย่างง่ายขึ้น และคุณอาจค่อยๆ สัมผัสถึงความรู้สึกตามมาจากรายละเอียดเหล่านั้นทีละเล็กทีละน้อย

การฝึกฝนนี้สามารถทำได้ทุกวัน เพียงวันละ 10 นาที คุณจะค่อยๆ รู้สึกถึงประสาทสัมผัสที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งเสียง รสชาติ กลิ่น และอารมณ์ จากความรู้สึกแห่งการเคลื่อนไหวของตัวเอง


Call To Action
4 ขั้นตอนพัฒนาเทคนิคจินตนาการ ‘ความท้าทาย’ ให้กลายเป็น ‘รูปภาพ’

1. เริ่มต้นในบรรยากาศที่คุ้นเคย

2. ปรับความคิดเข้าสู่โหมดเตรียมตัว

3. จินตนาการภาพและไล่เลียงวิธีดำเนินงานทุกอย่างในหัว

4. นึกถึงภาพความสำเร็จและตัวคุณที่กำลังเฉลิมฉลองกับมัน

 


สามารถฟังพอดแคสต์ The Secret Sauce
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย


Credits

 

Show Creator นครินทร์ วนกิจไพบูลย์

Show Producer ปวริศา ตั้งตุลานนท์
Creative ภัทร จารุอริยานนท์
Video Editor วุฒิชัย ถิระบัญชาศักดิ์
Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ
Sound Recording Engineer ขจีพรรณ วิจิตรรัตน์
Assistant อสุมิ สุกี้คาวะ

Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์
Channel Manager เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Channel Admin จักรภัทร อ่ำพริ้ง
Proofreader นัฐฐา สอนกลิ่น

Webmaster รพีพรรณ เกตุสมพงษ์
Social Media Admins วนัชพร ดวงนิล, สุทธกิตติ์​ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณี, วิมลณัฐ พรศิริอนันต์

Archive Officer ชริน จำปาวัน 

  • LOADING...

READ MORE

MOST POPULAR



Close Advertising
X
Close Advertising