×

โลกในปี 2025 จะเป็นอย่างไร 10 เมกะเทรนด์เปลี่ยนโลกที่ต้องจับตา

16.09.2019
  • LOADING...

เคน นครินทร์ สรุป 10 เมกะเทรนด์เทคโนโลยีอัจฉริยะในทุกอุตสาหกรรมทั่วโลกจนถึงปี 2025 การใช้งาน AI, 5G, หุ่นยนต์ในบ้าน Smart Home รวมถึงผู้ช่วยส่วนตัวอัจฉริยะ (Smart Assistant) โดยคาดการณ์จากรายงานวิสัยทัศน์อุตสาหกรรมทั่วโลก หรือ GIV

 

1. ใช้ชีวิตกับหุ่นยนต์ (Living with Bots)

ความก้าวหน้าด้านวัสดุศาสตร์ การเรียนรู้ของ AI จะส่งเสริมให้มีการใช้งานหุ่นยนต์ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้ช่วยในบ้าน หรือผู้ช่วยส่วนตัว GIV คาดการณ์ว่าทั่วโลกจะมีอัตราการใช้งานหุ่นยนต์ตามบ้าน 14% ในปี 2025 โดยสามารถแบ่งได้ประมาณ 4 ประเภท

  1. Nursing Bot จะมาช่วยในเรื่องของสังคมผู้สูงอายุ การดูแลรักษาผู้ป่วยไข้
  2. Companion Bot เป็นเพื่อนด้านบันเทิง อยู่เป็นเพื่อนเด็ก ช่วยเลี้ยงลูก
  3. Butler Bot พวกหุ่นยนต์เครื่องดูดฝุ่น หุ่นยนต์ล้างจาน หุ่นยนต์ทำอาหาร หุ่นยนต์ประเภทนี้เริ่มนำมาใช้แล้ว
  4. Bionic Bot หุ่นยนต์ที่จะเข้ามาอยู่ในร่างกายของเรา เช่น แว่นตาอัจฉริยะ หรืออาจจะเป็นสิ่งที่สวมไปกับขาของเราเพื่อช่วยในเรื่องกระดูก 

 

2. ซูเปอร์ไซต์ (Super Sight)

การผนวกรวมของ 5G, VR/AR, Machine Learning และเทคโนโลยีใหม่ๆ จะช่วยให้เรามองข้ามระยะทาง ความผิดสัดส่วน พื้นผิว และก้าวไปไกลกว่าที่เคย เปิดมุมมองการมองเห็นของผู้คน ธุรกิจ และวัฒนธรรมที่หลากหลาย รายงาน GIV คาดการณ์ว่าบริษัทที่จะใช้ AR/VR จะเพิ่มขึ้นถึง 10% ตัวอย่างเช่น การใช้งานการมองเห็นอย่างเช่น Beyond Distance การใช้โดรนในการตรวจสอบพื้นถนนที่ผุพัง การนำหุ่นยนต์มุดเข้าไปในท่อใต้ดิน ช่วยดูในงานศิลปะ เช่น พิพิธภัณฑ์บราซิล หากใครได้ยินข่าวคงจะจำกันได้ ที่เกิดเหตุไฟไหม้แล้วสูญเสียทรัพยากรที่มีค่ามากทางประวัติศาสตร์ เทคโนโลยีนี้อาจจะมีลักษณะเหมือน Beyond History ใช้ VR/AR กลับมาช่วยสร้างผลงานศิลปะที่สูญหายไป

  

3. ซีโรเสิร์ช (Zero Search)

เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและมีเซนเซอร์เริ่มมีความสามารถในการคาดการณ์โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องถามเลยด้วยซ้ำ การค้นหาในอนาคตจะไม่มีปุ่มกด เหมือนเป็น Personalize Information อย่างเช่นสินค้าที่เราใช้เป็นประจำ เวลาที่ผงซักฟอกหรือยาสีฟันหมด มันก็จะเชื่อมต่อกับระบบและสั่งสินค้าให้เราทันที โดยที่เราจะตั้งค่าไว้ก่อน และไม่จำเป็นต้องกดปุ่มสั่ง เครือข่ายสังคมส่วนบุคคลจะสร้างขึ้นมาได้อย่างง่ายดาย และอุตสาหกรรมก็จะได้ประโยชน์จากการบำรุงรักษาโดยที่ไม่ต้องค้นหา รายงาน GIV คาดการณ์ว่าเจ้าของ Smart Device ถึง 90% จะใช้ผู้ช่วยส่วนตัวอัจฉริยะ

 

4. ถนนเฉพาะ (Tailored Streets)

ระบบการเดินทางอัจฉริยะจะเชื่อมโยงผู้คน ยานพาหนะ และสาธารณูปโภค ทำให้การจราจรไม่แออัด ตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว พร้อมฟังก์ชันอื่นๆ ที่จะทำให้ชีวิตราบรื่นยิ่งขึ้น โดยรายงาน GIV คาดการณ์ว่ายานพาหนะ 15% จะมีเทคโนโลยี Cellular Vehicle-to-Everything

 

5. ทำงานกับหุ่นยนต์ (Working with Bots)

ระบบ Smart Automation จะเข้ามาช่วยงานที่ต้องอาศัยความแม่นยำสูง การทำงานซ้ำๆ และงานอันตรายมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต รายงาน GIV คาดการณ์ว่าในอุตสาหกรรมจะมีหุ่นยนต์ 103 ตัวต่อพนักงานทุกๆ 10,000 คน

 

6. ความคิดสร้างสรรค์แต่งเสริม (Augmented Creativity)

AI Cloud จะช่วยลดต้นทุนและอุปสรรคในการเข้าถึงการทดลองทางวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และศิลปะ เปิดขุมทองแห่งโอกาสทางความคิดสร้างสรรค์ของทุกคน รายงาน GIV คาดการณ์ว่า 97% ขององค์กรขนาดใหญ่จะมีการใช้งาน AI ปกติ ความคิดสร้างสรรค์จะต้องเกิดจากมนุษย์ อันนี้อาจจะเป็น AI Inspire Creativity คือสะสมข้อมูลมาทั้งหมดเลย แล้วก็ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น แต่งเพลง หรือเขียนหนังสือ AI จะช่วยเพิ่มเติมความคิดสร้างสรรค์ของเราขึ้นมาอีก โดยมีเรื่องของคลังข้อมูล

 

7. การสื่อสารแบบต่อเนื่อง (Frictionless Communication)

จะเกิดการสื่อสารแบบไร้รอยต่อระหว่างบริษัทและลูกค้า รวมถึงทลายกำแพงทางภาษา ความเข้าใจ ความเชื่อใจ จะกลายเป็นรากฐานของการสื่อสารในอนาคต โดย GIV คาดการณ์ว่า 86% ขององค์กรจะสามารถใช้ประโยชน์จากดาต้าอย่างเต็มที่

 

8. เศรษฐกิจการอยู่ร่วมกัน (Symbiotic Economy)

บริษัททั่วโลกกำลังนำเทคโนโลยีดิจิทัลและแอปพลิเคชันบนแพลตฟอร์ม การเข้าถึงแบบเดียวกันมาปรับใช้จะทำให้เกิดความร่วมมือที่ยิ่งใหญ่ การแบ่งปันทรัพยากร Ecosystem ระดับโลกที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น รายงาน GIV คาดการณ์ว่าทุกบริษัทจะใช้เทคโนโลยีคลาวด์และแอปพลิเคชันทางธุรกิจจะอยู่บนคลาวด์ 85%

 

9. การติดตั้งใช้งาน 5G อย่างรวดเร็ว

5G มาแล้ว และเริ่มมีการติดตั้งใช้งานรวดเร็วกว่าเทคโนโลยียุคก่อนๆ รายงาน GIV ได้คาดการณ์ว่า 58% ของประชากรทั่วโลกจะสามารถเข้าถึง 5G ได้ ใครที่ยังสงสัยเรื่อง 5G ลองย้อนไปฟังได้ใน Executive Espresso ตอนที่ 3

 

10. การกำกับดูแลด้านดิจิทัลทั่วโลก (Global Digital Governances)

เป็นเรื่องของความยั่งยืน การจัดการข้อมูลร่วมกัน และหลักการใช้งานข้อมูล GIV คาดการณ์ว่าปริมาณข้อมูลทั่วโลกใน 1 ปีจะสูงถึง 180ZB (1ZB เท่ากับ 1 ล้านล้านกิกะไบต์)

 


 

สามารถฟังพอดแคสต์ The Secret Sauce
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย

 


 

Credits

 

The Host นครินทร์ วนกิจไพบลูย์

Show Creator นครินทร์ วนกิจไพบูลย์

Show Producers เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์, ปวริศา ตั้งตุลานนท์

Episode Editor ณัฏฐนิช ผิวสว่าง

Shownote อสุมิ สุกี้คาวา

Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ

Marketing & Coordinator อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์

Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์

  • LOADING...

READ MORE

MOST POPULAR



Close Advertising