‘ล้มล้าง’ กลายเป็นข้อหาสำเร็จรูปทางการเมืองไว้ใช้แปะป้ายต่อยอดดำเนินคดี หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าการชุมนุมเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์เข้าข่ายล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
คำวินิจฉัยนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่อาจกำหนดทิศทางการเมืองไทยในอนาคต
‘ล้มล้าง’ ยังกลายเป็นคำที่อาจทำให้ ‘ผู้บังคับใช้กฎหมาย’ ตัดสินใจใช้ความรุนแรงกับกลุ่มคนที่ถูกแปะป้ายนี้ได้คล่องมือขึ้น
คำว่า ‘ล้มล้าง’ จึงมีความหมายคล้ายคำว่า ‘คอมมิวนิสต์’ ในอดีตที่ใช้แปะป้ายกลุ่มนิสิต-นักศึกษา รวมทั้งบรรยากาศการเมืองในช่วงนี้ที่มีการปล่อยเพลงปลุกใจหลายเวอร์ชันคล้ายเพลงหนักแผ่นดินในช่วง 6 ตุลา 2519
บรรยากาศการเมืองหลังคำวินิจฉัย ‘ล้มล้าง’ จึงพลิกผันไปอย่างน่ากลัว
ส่วนหนึ่งเพราะกลุ่มเด็กนั้น ‘ไม่กลัว’ การเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และยื่นหนังสือถึงสถานทูตเยอรมนีเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งระลอกใหม่
หากจะเปรียบคำวินิจฉัยของศาล ก็อาจเหมือนการจุด ‘ไม้ขีดไฟ’ ในความมืด
ด้านหนึ่ง คือการให้แสงสว่างแก่ผู้คน
แต่อีกด้านหนึ่ง หากไม้ขีดไฟก้านนี้หล่นลงพื้น
เราไม่มีทางรู้เลยว่าผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร
สามารถฟังพอดแคสต์ THE POWER GAME
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย
Credits
The Host สรกล อดุลยานนท์
Co-hosts พลวุฒิ สงสกุล, ธนกร วงษ์ปัญญา
Show Creator สรกล อดุลยานนท์, นครินทร์ วนกิจไพบูลย์
Show Producer อธิษฐาน กาญจนะพงศ์
Creative นัทธมน หัวใจ
Channel Manager เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ
Sound Recording Engineers ขจีพรรณ วิจิตรรัตน์
Art Director ฉัตรชัย เฉยชิต
Proofreaders ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์, วรรษมล สิงหโกมล, ภาวิกา ขันติศรีสกุล, นัฐฐา สอนกลิ่น, พรนภัส ชำนาญค้า, ชนเนตร ลอยครุฑ
Webmasters ไชยพร ศิริกลการ, รพีพรรณ เกตุสมพงษ์, อารยา ปานศรี
Channel Admin เอกราช มอเซอร์
Social Media Admins สุทธกิตติ์ สุทธาวรรณกุล, ธิติกร ลิ้มทองมณี, วิมลณัฐ พรศิริอนันต์, วนัชพร ดวงนิล
Archive Officer ชริน จำปาวัน