คุยกับครอบครัว มันนี่โค้ช กันอีกหนึ่งตอน กับเรื่องราวของสองหนุ่ม The Money Kids น้องออกัส และน้องจัสติน ที่ว่ากันตั้งแต่การสอนลูกเรื่องเงิน การปลูกฝังเรื่องวิธีคิด ความสนใจเรื่องหุ้นมาได้อย่างไร และประเด็นใหญ่อย่างการเตรียมตัวมาเรียนโฮมสคูล
(ใครที่พลาด EP. ที่แล้ว แนะนำให้ติดตามกันก่อน เพื่ออรรถรสที่สมบูรณ์)
01:24
“สวัสดีครับ ผมชื่อ ออกัส-กายสิทธิ์ เมษพันธ์ุ อายุ 10 ขวบครับ”
“สวัสดีครับ ผมชื่อ จัสติน-กฤตยชญ์ เมษพันธุ์ อายุ 8 ขวบครับ”
03:42
“ลูกเคยมีคำถามบ้างไหมเวลาได้ยินโค้ชพูดบรรยายตามที่ต่างๆ”
- ลูกจะไม่ถามทันทีแต่จะหาโอกาสถามในเวลาอื่นๆ ว่าทำไมคนถึงเป็นหนี้ โค้ชตอบว่าบางคนใช้เงินมากกว่าที่หาได้ ไม่ได้หมายความว่าทุกคนมีนิสัยฟุ่มเฟือย บางคนอาจมีความจำเป็นต้องช่วยครอบครัว ทุกคนอาจมีเหตุผลของตัวเอง
- แต่อย่างไรก็ตามเรื่องหนี้เป็นเรื่องแก้ได้เสมอ
04:25
“ผู้ใหญ่หลายคนคิดว่า เรื่องเงินเป็นเรื่องของผู้ใหญ่ อธิบายให้เด็กฟังไปก็ไม่เข้าใจ หรือมีปัญหาจริงๆ เด็กก็ช่วยอะไรไม่ได้”
- โค้ชคิดว่าการเงินพูดคุยและบอกกับลูกได้
- ไม่ได้ให้บอกว่ามีปัญหา แต่บอกว่าให้ลูกดูแลค่าใช้จ่ายของครอบครัว
- เช่น การบอกให้ลูกช่วยคำนวณรายรับ-รายจ่าย และระหว่างนั้นก็ค่อยๆ ให้ลูกได้เห็นตัวเลขของครอบครัว คอยบอกว่าไม่ว่าจะหามาได้เท่าไรสิ่งสำคัญคือการบริหารจัดการและอย่าใช้เงินเกินตัว
06:17
“โค้ชหนุ่มสอนลูกในการใช้เงินอย่างไรบ้าง”
- สอนให้ออมเงิน ใช้เงินไม่เกินตัว นำเงินเหลือออมไปซื้อหุ้นโดยใช้บัญชีของโค้ชหนุ่มเอง
- แต่ไม่ได้ตั้งใจสอนให้เล่นหุ้นจริงจัง แค่สอนให้ใช้จ่ายประหยัด และเก็บออม แค่บังเอิญลูกสนใจในสิ่งที่พ่อทำ เลยแหย่ไปว่าให้ลงทุนในหุ้น สอนเขาด้วยภาษาง่ายๆ พยายามสอนด้วยว่า ความสำคัญของชีวิตไม่ใช่รวยหรือจน รวยจนอาจเป็นแค่เรื่องการเปรียบเทียบ
10:17
“จัสตินได้เงินไปโรงเรียนวันละเท่าไร”
- ได้วันละ 20 บาทแต่เริ่มให้เป็นสัปดาห์แล้ว เพราะอยากฝึกการบริหารเงินให้กับลูก ซึ่งทุกสัปดาห์มีเงินเหลือเก็บ
- ทั้ง 2 คนพอสิ้นเดือนก็จะเอาเงินเหลือเก็บนั้นมาเข้าบัญชีหุ้น
- หุ้นบางตัวให้ออกัสกับจัสตินเลือกหุ้นเอง
- วิธีเลือกหุ้นของทั้ง 2 คนคือดูการเติบโตของหุ้น ดูจากคะแนน ราคาไม่แพง และมีกำไรต่อปีที่เหมาะสม
- ถ้าหุ้นตัวไหนที่ไม่รู้แล้วอยากซื้อก็จะถามพ่อ ซึ่งพ่อก็จะแนะนำให้ลองเสิร์ชหุ้นตัวนั้นดูเพื่อที่จะได้รู้ว่าหุ้นตัวนั้นเป็นอย่างไร และทำอะไรได้บ้าง
- โค้ชให้เขาลองและรู้จักการผิดพลาดเอง เมื่อผิดพลาดก็ค่อยคุยกัน
12:54
“สอนเขาให้เขารู้จักลงมือทำเอง”
- สอนเขาว่าซื้อหุ้นเหมือนการซื้อธุรกิจ ต้องดูให้เป็นว่าธุรกิจมีกำไรไหม เวลาไปธนาคารหรือร้านอาหารก็ให้กลับมาเสิร์ชดูว่าธุรกิจนั้นมีกำไรบ้างไหม
- แรกๆ โค้ชให้เงินลูกแล้วลูกแทบไม่ใช้เลย อยากเก็บเงินไว้ลงทุน ซึ่งเป็นวิธีที่ผิด เพราะเงินมีไว้ใช้ให้ตัวเองมีความสุขบ้าง แต่อย่างไรก็ตามขอให้เหลือ จะเหลือมากหรือน้อยก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การเงินเราเติบโตขึ้น
- อย่าตั้งโจทย์สอนให้ลูกลงทุน แค่ให้ลูกบริหารเงินให้เป็นใช้เงินให้เหลือ แล้วจะซื้ออะไรก็ให้นึกถึงความคุ้มค่า ส่วนเรื่องลงทุนทั้ง 2 คนนี้เป็นเพราะตามโค้ชเยอะเลยค่อยๆ หยอด ค่อยๆ เติม
16:54
“The Money Kids นี่พูดจริงหรือเปล่า”
- ไอเดียเกิดจากออกัสและจัสตินถามโค้ชหนุ่มว่าถ้าอยากเอาไอเดียเรื่องเก็บเงินที่ทำอยู่นั้นไปสอนคนอื่นบ้างได้ไหม ทำเป็นช่องยูทูบได้หรือเปล่า
- แต่ถ้าสอนเรื่องการเงินคนอื่นเราอาจจะเด็กไป แต่ลองให้แชร์ไลฟ์สไตล์สิ่งที่เราสนใจ และเล่าให้คนอื่นฟังว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ดีกว่า
18:42
“เราคุยกันคราวที่แล้วว่าโค้ชหนุ่มกับคุณบีตั้งใจจะให้ออกัสกับจัสตินมาโฮมสคูล คิดอย่างไรและเอาจริงเอาจังแค่ไหน”
- อันดับแรกเกิดจากโค้ชมองเห็นตัวเองที่เคยเรียนมาอย่างหนักหน่วง แต่ไม่ได้เป็นในสิ่งที่เราเรียนมา
- แล้วพอมองมาที่ลูกที่กำลังเรียนหนัก และหลายครั้งก็ไม่ได้ใช้ หลายความรู้ก็ไม่จำเป็นต้องรู้
- โค้ชคิดว่าถ้าตัวเองจากไปอย่างกะทันหันความรู้ที่ลูกมีอยู่ทุกวันนี้เพียงพอกับการกับการดำรงชีวิตอยู่หรือเปล่า ทั้งหมดเลยประกอบเป็นการตัดสินใจให้ลูกเรียนโฮมสคูล
- โค้ชสอนลูกเสมอว่า คนเราไม่ได้เกิดมาเพื่อรวยหรือเป็นคนเด่นคนดัง แต่เพื่อสิ่งเดียวคือการใช้ชีวิตให้มีความสุข ซึ่งเป็นสิ่งที่ลูกต้องตีความด้วยตัวเองต่อไป
- ต่างประเทศบางคนไม่ได้เรียนในระบบ แต่มีทักษะในการหางาน ดำรงชีวิตอยู่ได้ จึงอาจเป็นไปได้ว่าปริญญาอาจไม่ใช่คำตอบ
- โค้ชเปลี่ยนระบบการศึกษาไม่ได้ แต่จัดสิ่งที่เหมาะสมที่สุดให้กับลูกได้
- ซึ่งความจริงแล้วภรรยาโค้ชหนุ่มก็กลัว เพราะเป็นคนที่อยู่ในระบบและเดินตามมาตลอด
- แต่โค้ชมองจากตัวเองว่าเรียนมาทางหนึ่ง แต่ทำได้หลายอย่างที่ไม่ได้เรียนมา เลยย้อนกลับไปตั้งคำถามว่าแก่นของการศึกษาจริงๆ คืออะไร แล้วพบว่าต้อง Learn How To Learn ให้เป็น
- Learn How To Learn คือคนเราต้องรู้ว่าหากเราต้องการหาความรู้ในสิ่งที่เราไม่มีพื้นฐานมาก่อน เราจะมีวิธีมุ่งไปหาความรู้นั้นต้องทำอย่างไร อยากสอนวิธีคิดนี้ให้กับลูกมากกว่า
- 2 ข้อที่โค้ชเรียนรู้มาตลอดคือ ต้องรู้ตัวเองว่าอยากทำอะไร และจะไปหาความรู้ที่แท้จริงของเรื่องนั้นมาจากที่ไหน
25:24
จริงๆ มนุษย์เราไปอยู่ตรงไหน ถ้ามนุษยสัมพันธ์ดี สังคมมันก็มา เราเอาตัวไปจุ่มลงในสังคมไหน ถ้าเราเป็นคนที่เปิดใจพร้อมที่จะคบหากับผู้คนก็ทำได้ แต่กรอบสำคัญคือถ้าความรู้ไม่ต้องอยู่ในห้องสี่เหลี่ยม วันนี้เราเรียนจากใครก็ได้
29:37
“ทีนี้พ่อหนุ่ม แม่บีตอนไปคุยกับลูก เริ่มต้นอย่างไร”
- เริ่มต้นจากถ้าตอนนี้ยังเรียนในระบบก็ให้เต็มที่ เพราะการเรียนคือหน้าที่ ต้องตั้งใจเรียน ส่วนเรื่องการบ้านโค้ชไม่ได้อยากปกป้องลูกทุกเรื่อง ถ้าทำผิดก็ให้คนอื่นบอกว่าเขาทำผิด แต่ลูกต้องรักษาหน้าที่ของตัวเอง
- บางครั้งอาจดูเป็นเรื่องยาก แต่โค้ชเชื่อว่าถ้าพูดให้ฟังและทำให้เห็นเป็นตัวอย่างบ่อยๆ ลูกก็จะเข้าใจและซึมซับได้เอง
- พอจะเริ่มทำโฮมสคูลจริงจังก็คุยกับลูกว่าไม่ใช่การไม่เรียน แค่วิธีเรียนมันไม่ใช่วิธีเดิมเท่านั้นเอง
- สิ่งที่โค้ชขอลูกเป็นพิเศษคือ การอ่านหนังสือที่อยากอ่าน และอ่านอยู่เสมอ เพราะเป็นการเรียนรู้ที่เร็วที่สุดจากประสบการณ์คนอื่น
36:20
“อีกหนึ่งอย่างที่โฮมสคูลเอาออกไปจากชีวิตคือการสอบ”
- โค้ชมองว่าคำถามของการวัดผลคืออะไรมากกว่า ตัวโค้ชเองเป็นเด็กเรียนเก่งมาตลอด ฝึกคณิตคิดในใจมาตลอด แต่พอถึงวันหนึ่งก็ใช้เครื่องคิดเลขอยู่ดี
- ถ้าพูดกันตรงๆ เมืองไทยเราเรียนเรื่องสัญลักษณ์กันเร็วเกินไป เด็กบางคนทำไม่ได้อย่างนั้น และไม่ได้เกิดมาเพื่อที่จะเก่งคณิตศาสตร์
- เด็กแต่ละคนต่างกันมากและใช้มาตรฐานเดียวกันวัดอาจไม่ได้ผลเสมอไป
- ยิ่งโค้ชได้ทำงานกับคนมากขึ้น ยิ่งเห็นว่าบางคนที่เรียนไม่เก่งจะไม่ค่อยเชื่อว่าตัวเองจะมีชีวิตการเงินที่ดีได้ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน และคนส่วนใหญ่จะมีภาพจำว่าการเรียนในมหาวิทยาลัยที่ไม่ดังจะสู้คนอื่นไม่ได้
- การจัดเกรดตรงนี้เป็นการกด และคนบางส่วนมองไม่เห็นศักยภาพตัวเองทั้งๆ ที่คนเราไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
42:39
“พ่อแม่ควรสอนเรื่องการเงินกับลูกอย่างไรและตั้งแต่เมื่อไร”
- ถ้าลูกเริ่มรู้จักตัวเลขและเริ่มบวกลบได้ก็สามารถสอนเรื่องการเงิน แต่อย่าไปไกล เพราะสิ่งสำคัญที่สุดของการสอนเรื่องการเงินให้กับลูก คือการใช้จ่ายอย่างคุ้มค่าและการประหยัดอดออม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของทุกอย่าง
- พ่อแม่เองต้องไม่พยายามสื่อสารถึงการเงินที่ขาดแคลน หรือบอกเล่าย้ำๆ เรื่องการเงินที่ขาดแคลน เช่น เงินมันหายากใช้ประหยัดๆ หน่อย แต่ควรสอนลูกว่าถ้าได้เงินมาต้องรู้จักใช้จ่าย อย่าใช้หมด เผื่อเหตุฉุกเฉินในวันข้างหน้า แค่เพียงเราปรับวิธีพูด
- ถ้าที่บ้านมีปัญหาเรื่องเงินหรือมีหนี้ ไม่ต้องบอกตรงไปตรงมาว่าบ้านมีหนี้ แต่สอนให้ลูกรู้ว่า ทุกวันนี้บ้านกำลังมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ เพียงแค่ปรับภาษาและสื่อสารด้วยความจริงใจว่าอยากให้ลูกใช้เงินน้อยลง และมีความจำเป็นต้องตัดบางอย่างในบางเวลาเท่านั้น
- การสื่อสารให้ทุกคนในครอบครัวเข้าใจตรงกันจะเป็นการช่วยเหลือกัน จะทำให้ครอบครัวมีความสุข
ฟังรายการ The Money Case by The Money Coach พอดแคสต์ โดยแอปฯ Podcasts (สำหรับผู้ใช้ iOS), Podbean และแอปฯ ประเภท Podcast Player ยี่ห้อใดก็ได้ (สำหรับผู้ใช้ Android) หรือฟังทาง SoundCloud และ YouTube ก็ได้เช่นกัน
Credits
The Host จักรพงษ์ เมษพันธุ์
The Guests วรรณรวี เจียร์สุคนธ์, กายสิทธิ์ เมษพันธุ์, กฤตยชญ์ เมษพันธุ์
Show Creator จักรพงษ์ เมษพันธุ์
Show Producer & Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ
Coordinator & Admin อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค
Art Director อนงค์นาฎ วิวัฒนานนท์
Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์
Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์
Shownote อธิษฐาน กาญจนะพงศ์
Music Westonemusic