เพราะ Data คือหัวใจสำคัญในการพาองค์กรไปเรียนรู้มิติใหม่ของธุรกิจในมุมที่อาจไม่เคยเห็นมาก่อน ทำให้ใครๆ ก็อยากใช้ Data อยากเริ่มต้นเก็บฐานข้อมูล อยากนำสิ่งเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ แต่กลับมีเพียงคนไม่กี่กลุ่มที่เชี่ยวชาญและเข้าใจจนสามารถนำไปใช้ต่อได้จริง
รวิศ หาญอุตสาหะ คุยกับ เอิร์ธ-อรรถวุฒิ เวศรานุรักษ์ ประธานกรรมการบริหาร Adapter Digital Group เกี่ยวกับหลากหลายหัวข้อเรื่อง Data ที่คนทำงานยุคใหม่ควรรู้ในรายการ Super Productive
การเก็บ Data คือการเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับธุรกิจ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1. External Data (ข้อมูลภายนอกของลูกค้า) เช่น พฤติกรรมการเสพสื่อ
2. Internal Data (ข้อมูลภายในของลูกค้า) เช่น ข้อมูลส่วนตัว การแบ่งประเภทกลุ่มเป้าหมาย ความถี่ในการซื้อสินค้า
โดยหลังจากได้ข้อมูลมาแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อคือการนำมาวิเคราะห์และต่อยอดโอกาสใหม่ๆ ในการทำธุรกิจนั่นเอง
หลายบริษัทมีข้อมูลอยู่แล้วแต่ไม่รู้ตัว แม้กระทั่งข้อมูลบัญชีก็เป็นข้อมูลรูปแบบหนึ่ง เพียงแค่คนทำงานต้องรู้ว่าถ้าอยากเอามาใช้ประโยชน์ต่อ ต้องเก็บข้อมูลอะไรเพิ่ม หรือจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์อย่างไร
การเก็บ Data สำคัญมากน้อยแค่ไหน
วลีที่หลายคนมักพูดว่า ‘Digital First’ ได้เปลี่ยนเป็น ‘Data First’ แล้ว
เพราะ Data เป็นเหมือนกุญแจที่จะนำพาธุรกิจไปสู่สิ่งที่ไม่เคยรู้ ไม่ว่าจะพฤติกรรมของผู้บริโภค แพตเทิร์นการใช้จ่าย ความถี่ ช่วงเวลา ความสามารถในการซื้อ สถานที่จำหน่าย วิธีการจ่ายเงิน ทำให้องค์กรต้องเริ่มให้ความสำคัญกับสิ่งนี้ ตั้งแต่ระดับวิสัยทัศน์ ไปจนถึงการใช้ประโยชน์ (Data Vision & Mindset) เริ่มจากซีอีโอไปถึงพนักงานทุกคนในองค์กร
สำหรับบริษัทที่ไม่รู้เรื่อง Data มาก่อน ควรเริ่มต้นอย่างไร
โจทย์ง่ายๆ 3 ขั้นตอน ‘เก็บ นำไปใช้ อัปเดตข้อมูลให้สดใหม่’ ทำเช่นนี้วนไปเรื่อยๆ
อย่างที่รู้กันดีว่า Skill Set ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่ต้องเริ่มสร้างคือ Mindset องค์กรต้องเริ่มเห็นความสำคัญ เพราะถ้าเมื่อไรที่ยังไม่เริ่มเก็บข้อมูล คุณก็เห็นธุรกิจตัวเองอยู่ในมิติเดิมๆ
จากการสำรวจทั่วโลก 100% ของการเก็บข้อมูล มีเพียง 10% เท่านั้นที่ถูกนำไปใช้จริง ฉะนั้นไม่จำเป็นว่าเราจะเก็บข้อมูลได้มากหรือน้อยในตอนนี้ แต่มันสำคัญว่าข้อมูลที่เก็บได้จะนำไปถูกใช้ต่อหรือเปล่า
เครื่องมือในการเก็บ Data
External Data
- โปรแกรม Excel
ง่ายที่สุดในการทำให้ Data เข้าใจง่ายคือการทำให้เห็นออกมาเป็นรูปภาพ เรื่องนี้โปรแกรม Excel สามารถช่วยได้ อาจทำออกมาในรูปแบบของตารางหรือกราฟ เพราะมันจะช่วยทำให้ตัวเลขที่อยู่รวมกันจำนวนมาก ชวนปวดหัว กลายเป็นเรื่องเข้าใจง่ายขึ้น เกิดเป็นสัญญาณบางอย่างที่ทำให้มุมมองต่อธุรกิจเปลี่ยนไป
- Social Listening
เครื่องมือ Social Listening สามารถกวาดสิ่งที่คนพูดถึงธุรกิจของคุณและคู่แข่งได้ทั้งในแง่ลบและแง่บวก หรือแม้กระทั่งวัดความสำเร็จของแคมเปญหรือคอนเทนต์ที่ปล่อยออกจากกระแสการพูดถึง ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีทั้งใช้ฟรีแบบจำกัดและเสียเงิน - Google Search Trend
พฤติกรรมของคนในออนไลน์มีมากกว่าแค่โซเชียลมีเดีย บางคนอาจเสิร์ชหาข้อมูลของสินค้าและบริการ คุณสามารถใช้เสิร์ชเทรนด์ได้ ไม่เสียเงิน โดยเฉพาะสินค้า High Value ที่คนต้องหาข้อมูลก่อนซื้อสินค้า คุณสามารถเอาคีย์เวิร์ดกลางไปดูได้ ทำให้เห็นภาพรวมในตลาดและจุดยืนของแบรนด์ตัวเองได้ชัดเจนมากขึ้น - Market Landscape
ถ้าธุรกิจต้องไปผูกกับแอปพลิเคชันหรือต้องนำคนเข้ามาอยู่ในหน้าเว็บไซต์เพื่อซื้อสินค้าออนไลน์อีคอมเมิร์ซ การซื้อเครื่องมือที่เป็น Landscape Overview จะเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะทำให้เห็นภาพรวมของตลาดดีมากขึ้น
Internal Data
การเก็บข้อมูลส่วนตัวก็สามารถเก็บผ่านโปรแกรม Excel ได้เช่นกัน แต่เมื่อไรที่ข้อมูลเพิ่มจำนวนไปถึงหลักแสนขึ้นไปและต้องนำมาพัฒนาบางอย่างต่อ แนะนำให้ลองใช้โปรแกรมที่ลึกขึ้นอย่าง MySQL เพื่อผลลัพธ์ที่ละเอียดมากขึ้นนั่นเอง
เจอปัญหาเรื่องคนบ้างไหม
คนที่ทำงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น Data Scientist กับ Data Analysis แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งทักษะพวกนี้ยังไม่มีสถาบันไหนสอนอย่างจริงจัง ส่วนใหญ่จะเป็นคอร์สออนไลน์ของผู้เชี่ยวชาญมาสอนกันเองมากกว่า ทำให้คนทำงานด้านนี้ยังไม่เยอะมากเท่าที่ควร
ข้อดีของการทำ Data
สาเหตุที่เรื่องนี้เป็นที่นิยมในรอบไม่กี่ปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการเก็บ Data กลายเป็นเทรนด์ของคนทำธุรกิจ และส่วนตัวคุณเอิร์ธเมื่อได้นำเรื่องนี้มาใช้อย่างจริงจัง เขาพบว่ามันมีประโยชน์อย่างมหาศาล ทำให้สิ่งที่สื่อสารออกไปมีความแม่นยำมากขึ้น ได้ผลตอบรับดีขึ้น ใช้เงินน้อยลง ไม่ต้องหว่านไปกับสิ่งที่ไม่ตรงกลุ่ม ได้ผลลัพธ์ที่ดีกลับคืนมา
สามารถฟังพอดแคสต์ SUPER PRODUCTIVE
ผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ ที่คุณสะดวกหรือใช้อยู่แล้วได้เลย
Credits
The Host รวิศ หาญอุตสาหะ
The Guest อรรถวุฒิ เวศรานุรักษ์
Show Creator รวิศ หาญอุตสาหะ
Show Producers เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์, ปวริศา ตั้งตุลานนท์
Episode Editor เชษฐพงศ์ ชูประดิษฐ์
Sound Designer & Engineer กฤตพล จียะเกียรติ
Coordinator & Admin อภิสิทธิ์ หรรษาภิรมย์โชค
Art Director อนงค์นาฏ วิวัฒนานนท์
Proofreader ลักษณ์นารา พักตร์เพียงจันทร์
Webmaster จินตนา ประชุมพันธ์