×

Annalynn วงเมทัลคอร์รุ่นเก๋าที่อาจไม่คุ้นชื่อในหมู่เรา แต่พวกเขาไปทัวร์มาแล้วทั่วเอเชีย

16.02.2018
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

Time index

00.59 ใครคือ Annalynn

12.48 อยู่มาได้อย่างไรเป็นสิบปี ทั้งที่เพลงฟังย้ากยาก

17.30 พูดถึงซีนเมทัลคอร์

21.28 ผลงานเพลงของ Annalynn

23.50 ได้ไปเล่นต่างประเทศอย่างโชกโชน

28.21 ประสบการณ์การเล่นสดที่ญี่ปุ่น

41.24 Eargasm Session

เวียดนาม สิงคโปร์ มาเก๊า เจิ้นเจียง เซี่ยงไฮ้ มาเลเซีย ไต้หวัน ญี่ปุ่น คือประเทศและเมืองที่วงเมทัลคอร์อย่าง Annalynn พาเสียงดนตรีดิบแน่นและเสียงว้ากแตกพร่าไปบรรเลงกระหึ่มมาแล้วทั้งนั้น แม้จะไม่เป็นที่รู้จักในวงการเพลงเมนสตรีมบ้านเรานัก แต่ในวงการเมทัล พวกเขาคือรุ่นเก๋ามากประสบการณ์ที่แสดงสดมาแล้วทั่วทวีปเอเชีย


ไปฟัง 5 สมาชิกของวงพูดคุยเรื่องซีนดนตรีเมทัลและไลฟ์เฮาส์ของเอเชีย ประสบการณ์การเล่นในต่างประเทศและในไทยแตกต่างกันที่ตรงไหน ปิดท้ายด้วยครั้งแรกของการเล่นเพลงของตัวเองในแบบอะคูสติก

 


 

 

ใครคือ Annalynn

สมาชิกปัจจุบันของวงดนตรีวงนี้ประกอบด้วย บอล (ร้องนำ), เอก (กีตาร์เบส), ม้ง (กลอง), บอส (กีตาร์), ภพ (กีตาร์) แนวดนตรีคือเมทัลคอร์ คือหนักกว่าแนวร็อกขึ้นมาอยู่ระหว่างเมทัลกับฮาร์ดคอร์


วง Annalynn โลดแล่นอยู่ในวงการดนตรีมา 15 ปีแล้ว ได้เล่นตามซีนอินดี้และซีนอันเดอร์กราวน์จนเลยเถิดมาถึงปัจจุบัน ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้ทำเพลงหนักเท่าทุกวันนี้ แถมยังทำเป็นภาษาไทยด้วย

 

อยู่มาได้อย่างไรเป็นสิบปี ทั้งที่เพลงฟังย้ากยาก

ไม่ว่าจะวงร็อกหรือวงป๊อป ยังไงก็ต้องทำเพลงฮิตเพื่อให้อยู่ได้ ของวงเราคือเพลง Seconds of a Thousand Lies ซึ่งถึงจะไม่ใช่เพลงที่ได้เปิดวิทยุ แต่ก็เป็นเพลงที่ทำให้คนรู้จักว่าเพลงแบบนี้เป็นของวงอะไร เป็นเพลงแจ้งเกิดของวง


สำหรับการตลาดของวงเมทัลแบบนี้ การเล่นสดเป็นตัวโปรโมตที่ดีที่สุด  

 

 

พูดถึงซีนเมทัลคอร์

ทุกวันนี้ซีนเมทัลในเมืองไทยเงียบลงเยอะ ถ้าเทียบกับสมัยก่อนที่มีทั้งร็อกผับ มีทั้งอีเวนต์ คนฟังเมื่อก่อนก็หลักพันคนได้ ไปจัดที่มูนสตาร์ แต่เดี๋ยวนี้คนฟังก็หายไป น่าจะด้วยการวนไปของวัฏจักรดนตรีก็เป็นได้ บางคนที่เคยฟังเมทัลเมื่อก่อนก็อาจวนไปฟังอย่างอื่น หลายคนมีครอบครัว มีลูก ก็ไม่ได้มาตามเพลงเมทัลแล้ว ไม่สะดวก


เมทัลคอร์มีความเป็นแฟชั่นนะ มาช่วงเดียวกันกับช่วงดนตรีอีโม เป็นยุคเดียวกับ myspace ที่ดนตรีเมทัลคอร์รุ่งเรืองมาก ทั้งเสื้อสีๆ กางเกงขาเดฟ ใส่เครื่องประดับหนาม เป็นสัญลักษณ์เลยว่าชาวร็อกจะแต่งตัวแบบนี้ แต่บ้านเราเรื่องการแต่งกายมาก่อนการฟังดนตรีร็อก

 

 

ผลงานเพลงของ Annalynn

ถ้ารวมมินิอัลบั้มล่าสุดที่ออกกับค่าย Wayfer Records ชื่อว่า Deceiver / Believer ทางวงก็มีผลงานมาแล้ว 2 มินิอัลบั้ม กับ 1 อัลบั้มเต็ม ความแตกต่างของอัลบั้มล่าสุดกับอัลบั้มที่ผ่านๆ มาคือนอกจากมีมือกีตาร์ใหม่แล้วก็ยังตั้งใจทำเพลงให้ลงตัวมากขึ้น มีทั้งความหนักของเมทัลคอร์แบบเก่าๆ และแนวทางใหม่ๆ โดยมีเพลงแรกที่ปล่อยเอ็มวีคือ Fear

 

ได้ไปเล่นต่างประเทศอย่างโชกโชน

ซีนดนตรีเมทัลต่างประเทศก็ต่างจากไทยเหมือนกัน สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือพฤติกรรมของคนที่ไปดูวงดนตรีแสดงสด อย่างที่สิงคโปร์ แม้คนดูจะปริมาณพอๆ กับที่ไทย แต่จะไม่ไว้ท่าเหมือนคนไทย จะเห็นชัดว่ามาเพื่อฟังเพลง มาปลดปล่อย มามันไปกับดนตรี


ส่วนมากในประเทศไทยจะมาดูวงดนตรีของคนรู้จักมากกว่า มาเชียร์เพื่อน เคยมีวงต่างประเทศที่ค่อนข้างดังได้รับเชิญมาเล่นในไทย เป็นวงจากสิงคโปร์ชื่อ A Town In Fear ทั้งที่คนฟังก็ชอบเพลงเขาเยอะ เคยดูวงนี้เล่นมาแล้ว แต่ก็เอาแต่ยืนดูกันเฉยๆ เหมือนคนไทยไม่ค่อยปลดปล่อย มันแปลกๆ ไม่ค่อยจอยกันเท่าไร


ไม่แน่ใจว่าปัญหาคือคนมักไปฟังวงที่รู้จักอยู่แล้วมากกว่าไปค้นหาวงดนตรีเจ๋งๆ ใหม่ๆ มากกว่าหรือเปล่า ทำให้วัฒนธรรมไลฟ์เฮาส์บ้านเราไม่ค่อยเติบโต ต่างกับต่างประเทศ


วงเคยไปเล่นที่จีน เป็นงานเฟสติวัลใหญ่มาก มี 3 เวที แต่พื้นที่ประมาณ 20 สนามฟุตบอลได้ เวทีที่ไปเล่นก็เป็นวงเมทัลเยอะมาก แต่คนดูก็เป็นอาม่าอาแปะเข็นจักรยานอะไรอย่างนี้ เยอะมาก เขาก็เอ็นจอย มันไม่เกี่ยวกับวัยจริงๆ


จะว่าไป ประเทศไทยเราเสพศิลปะน้อยกว่าประเทศเอเชียด้วยกันมากจริงๆ อย่างตอนไปเล่นที่ญี่ปุ่น วงก็เห็นเลยว่าคนญี่ปุ่นเต็มที่กับการเสพดนตรีแค่ไหน งานเริ่มบ่ายโมง เวลา 11 โมงครึ่งคนก็รอที่หน้าประตูแล้ว พอเปิดประตูทุกคนก็กรูเข้ามาในงาน ไม่มีการรอว่าต้องถึงวงที่รอดูค่อยมานะ

 

 

ประสบการณ์การเล่นสดที่ญี่ปุ่น

เคยได้ไปญี่ปุ่น 1 ครั้ง แต่ไปเล่น 2 งาน งานแรกคือเฟสติวัลดนตรีของวง Crystal Lake ซึ่ง Annalynn เคยได้ฟีเจอริงกับเขามาเมื่อหลายปีที่แล้ว ก็จัดที่ Studio Coast ส่วนงานที่ 2 เล่นไลฟ์เฮาส์ที่ชินจูกุ เห็นเลยว่าที่ญี่ปุ่นมีไลฟ์เฮาส์เยอะมากจริงๆ


ระบบไลฟ์เฮาส์ที่นั่นดีมาก จะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ อย่างเช่น ถ้าสถานที่นั้นมีความจุ 100 คน หากมีคนมาดูวงเรา 40 คนขึ้นไปจะแบ่งเปอร์เซ็นต์ให้ เป็นต้น ซึ่งจะให้เท่าๆ กันทุกวงที่เล่นในวันนั้น นอกจากนี้ยังเอาสินค้าไปขายที่นั่นได้ด้วย ไลฟ์เฮาส์ก็อาจได้ค่าดริงก์ ค่าอาหารไป


วัฒนธรรมนี้ไม่ค่อยเติบโตในไทยเท่าไร ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่าโมเดลบ้านเราเป็นการเล่นเพลงคัฟเวอร์ เพลงที่เล่นก็จะไม่มาก ไม่หลากหลายเท่าไร แต่ถ้าที่ญี่ปุ่น เวลาเราผ่านไลฟ์เฮาส์ก็จะพบว่าเขาเล่นเพลงตัวเองให้คนอื่นฟัง แถมมีจัดคอนเสิร์ตทุกๆ สัปดาห์ วิธีคิดของวงคือขายเพลงของตัวเองมาตั้งแต่แรก

 

 

Eargasm Session

  1. I Am Unbroken (Acoustic Version) – Annalynn

 


 

Credits
The Host
แพท บุญสินสุข

The Guest ณัฐพล จุฑาทวีวรรณ

เอกราช แก้วสมเด็จ

ณัฏฐภพ ชื่นสุขธนานันท์

สุพัชยะ สมพงษ์

ณัฐพล ลาภอาภารัตน์

Show Creator แพท บุญสินสุข

Show Producer นทธัญ แสงไชย

Episode Editor นทธัญ แสงไชย

Sound Designer & Engineer ศุภณัฐ เดชะอำไพ

Coordinator & Admin อภิสิทธิ์​ หรรษาภิรมย์โชค

Art Director อนงค์นาฎ วัวัฒนานนท์

Proofreader ภาสิณี เพิ่มพันธ์ุพงศ์

Music Westonemusic.com

  • LOADING...

READ MORE

MOST POPULAR



Close Advertising