วันนี้ (19 ตุลาคม) ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร สรุปผลการตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ตั้งแต่เวลา 05.00-07.00 น. ตรวจวัดได้ 24.6-56.3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.)
โดยค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานครอยู่ที่ 36.4 มคก./ลบ.ม. พบค่า PM2.5 เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 22 พื้นที่ ได้แก่
- เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม: มีค่าเท่ากับ 53.3 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า: มีค่าเท่ากับ 48.3 มคก./ลบ.ม.
- เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมันเอสโซ่ ซอยลาดพร้าว 95: มีค่าเท่ากับ 47.8 มคก./ลบ.ม.
- เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอยถนนเซนต์หลุยส์: มีค่าเท่ากับ 46.0 มคก./ลบ.ม.
- เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์: มีค่าเท่ากับ 45.4 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางนา บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา: มีค่าเท่ากับ 44.1 มคก./ลบ.ม.
- เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่: มีค่าเท่ากับ 43.9 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย: มีค่าเท่ากับ 43.8 มคก./ลบ.ม.
- เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์: มีค่าเท่ากับ 42.0 มคก./ลบ.ม.
- เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย: มีค่าเท่ากับ 41.9 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ: มีค่าเท่ากับ 41.6 มคก./ลบ.ม.
- เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน: มีค่าเท่ากับ 41.0 มคก./ลบ.ม.
- เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ ซอยเพชรเกษม 81: มีค่าเท่ากับ 40.6 มคก./ลบ.ม.
- เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบัง ข้างป้อมตำรวจ: มีค่าเท่ากับ 40.3 มคก./ลบ.ม.
- เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2: มีค่าเท่ากับ 40.3 มคก./ลบ.ม.
- สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม: มีค่าเท่ากับ 40.2 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด: มีค่าเท่ากับ 39.8 มคก./ลบ.ม.
- เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: มีค่าเท่ากับ 38.8 มคก./ลบ.ม.
- เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหสวรรย์: มีค่าเท่ากับ 38.7 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน: มีค่าเท่ากับ 38.6 มคก./ลบ.ม.
- เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุมซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน): มีค่าเท่ากับ 38.5 มคก./ลบ.ม.
- เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา: มีค่าเท่ากับ 38.4 มคก./ลบ.ม.
ข้อแนะนำสุขภาพสำหรับบุคคลทั่วไป ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น
ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ควรปรึกษาแพทย์
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อแนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยาในช่วงวันที่ 19-25 ตุลาคม 2566 การระบายอากาศไม่ดี อาจส่งผลต่อค่าความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่สูงขึ้นในบางพื้นที่ และวันนี้พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ ฝนตกหนักบางแห่ง