×

นักโภชนาการชี้ ปลาร้าคือภูมิปัญญา มีหลายสูตร รัฐควรเน้นมาตรฐานสะอาดปลอดภัยสำคัญสุด

18.04.2018
  • LOADING...

เรียกเสียงฮือฮาให้กับวงการแซ่บนัวทั่วบ้านทั่วเมือง เมื่อราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดมาตรฐานสินค้า : ปลาร้า ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551

 

โดยกำหนดให้กระบวนการผลิตจะต้องได้มาตรฐาน ตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศระบุมาตรฐานขอบข่ายที่ใช้กับปลาร้าดิบที่ทำจากปลาน้ำจืดหรือปลาทะเล บรรจุในภาชนะบรรจุที่สามารถป้องกันการปนเปื้อน ไม่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ปลาร้าที่ผ่านการแปรรูป โดยปลาร้าดิบในมาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ควรนำไปปรุงสุกก่อนการบริโภค เนื้อปลาต้องนุ่ม มีสีและกลิ่นรสที่ดีตามลักษณะเฉพาะ ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมสินค้าเกษตรให้ได้คุณภาพ มาตรฐาน และปลอดภัย (คลิกอ่าน: www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/087/2.PDF)

 

เสียงวิพากษ์วิจารณณ์มีตั้งแต่การตั้งคำถามถึงการจัดการของรัฐ ว่าเหตุใดต้องเข้ามาควบคุมเรื่องอาหารการกิน รวมถึงมีการแสดงความคิดเห็นว่า ‘สูตร’ ปลาร้าในแต่ละท้องถิ่นก็แตกต่างกันออกไป สีหรือกลิ่นแบบไหนที่เรียกว่าเป็นมาตรฐานตามประกาศนี้กันแน่

 

 

เกี่ยวกับเรื่องนี้ อาจารย์สง่า ดามาพงษ์ นักโภชนาการชื่อดังของไทย แสดงความคิดเห็นผ่าน THE STANDARD ว่า การกำหนดมาตรฐานดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่กระบวนการผลิต ‘ปลาร้า’ เพื่อส่งออก และเพื่อให้ปลาร้ามีมาตรฐานไปในทิศทางเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามปัญหาในเชิงกายภาพเกี่ยวกับการตรวจสอบมาตรฐาน อย่าง สี กลิ่น รส ยังเป็นเรื่องที่ต้องดีเบตกันมากในระยะยาว แต่หากพูดถึงเรื่องความปลอดภัยของอาหารก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดีในการกำหนดมาตรฐานดังกล่าวออกมา

 

“ปลาร้าถือเป็นวัฒนธรรมอาหารของเอเชียอาคเนย์ ในสมัยก่อนชาวบ้านไม่มีจะกิน ปลาร้าจึงเป็นการถนอมอาหารที่ดีมาก โดยเฉพาะสำหรับชาวอีสาน ซึ่งผมก็เป็นคนอีสานที่เติบโตมากับการบริโภคปลาร้า ปลาที่มีอยู่มากในฤดูน้ำหลากก็เอามาแปรรูปเพื่อเอาไว้กินในฤดูแล้ง มันเป็นแหล่งของโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุหลายตัว เอามาต้ม มาปรุงอาหารรับประทาน เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านที่มีมานาน” อาจารย์สง่ากล่าว

 

นักโภชนาการบอกอีกว่า มาตรฐานที่ตั้งขึ้นมาไม่ได้เกี่ยวกับที่ชาวบ้านทำ แต่มาตรฐานที่ควบคุมนั้นเพื่อต้องการให้คนที่ต้องการผลิตปลาร้าเป็นสินค้าแปรรูปเพื่อขายหรือส่งออก แต่ปลาร้าของชาวบ้าน ตาสี ตาสา ยายมา ยายมี ไม่น่าจะเกี่ยวข้อง และรัฐไม่ควรเข้าไปแทรกแซงวัฒนธรรมอาหารการกินขนาดนั้น ส่วนเรื่องการตรวจมาตรฐานเป็นเรื่องที่ต้องดีเบตกันตามที่กล่าว เพราะเป็นเรื่องที่กว้าง และไม่รู้ว่ายึดโยงกับหลักเกณฑ์ไหน มาจากที่ใด แล้วสูตรปลาร้าในประเทศนี้ก็มีมากมายตามแต่ละท้องถิ่นที่ทำกันมา

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

X
Close Advertising