×

Oxfam องค์กรการกุศลในอังกฤษ เสนอเก็บภาษี 60% จากคนรวยสุด 1% ของโลก

17.01.2023
  • LOADING...
Oxfam

Oxfam องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ทำงานขับเคลื่อนเพื่อบรรเทาความยากจนทั่วโลก เผยแพร่รายงานว่า ประชากร 1% ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก เป็นผู้ครอบครองความมั่งคั่งเกือบ 2 ใน 3 ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ในช่วง 2 ปีแรก นับแต่เกิดวิกฤตโควิด

 

รายงานดังกล่าวถูกเผยแพร่เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2023 ซึ่งตรงกับวันเปิดเวที World Economic Forum ณ เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดย Oxfam เสนอให้เพิ่มการจัดเก็บภาษีจากรายได้ของมหาเศรษฐีทั้งหลาย

 

จากรายงาน ‘Survival of the Richest’ ของ Oxfam ระบุว่าบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกครอบครองความมั่งคั่งทั้งหมดในสัดส่วนที่มากขึ้นจากช่วงที่มีโรคระบาดและในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ในขณะที่ความยากจนทั่วโลกเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 25 ปี นอกจากนี้โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์หลายด้านจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ภาระค่าครองชีพ ความอดอยากที่แพร่หลาย และการพัฒนามนุษย์ที่ลดลงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

 

Oxfam เรียกร้องให้ผู้นำระดับโลกเพิ่มการจัดเก็บภาษีสำหรับผู้มีความมั่งคั่งสูง รวมถึงภาษีจากกำไรธุรกิจและกำไรจากการลงทุน ซึ่งเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญที่สุดของคนรวยในหลายประเทศ 

 

พร้อมให้ข้อเสนอแนะว่า “โลกควรตั้งเป้าหมายที่จะลดความมั่งคั่งและจำนวนมหาเศรษฐีลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2030 ผ่านการเพิ่มภาษีและการใช้นโยบายที่ช่วยกระจายความมั่งคั่งเหล่านี้ออกไป และทำให้ความมั่งคั่งและจำนวนของมหาเศรษฐีเหล่านี้กลับไปสู่ระดับเดียวกับเมื่อปี 2012” 

 

เบื้องต้น Oxfam เสนอว่า ประเทศต่างๆ ควรกำหนดอัตราภาษีอย่างน้อย 60% จากกำไรของมหาเศรษฐี 1% ที่ร่ำรวยที่สุดของโลก และเพิ่มการจัดเก็บภาษีที่มากขึ้นจากบรรดามหาเศรษฐี แม้ว่าอัตราภาษีคนรวยจะเพิ่มขึ้น 5% แต่มหาเศรษฐีพันล้านจะยังสามารถหาเงินได้มากขึ้นรวมกัน 1.7 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี ซึ่งเป็นเงินที่มากพอที่จะช่วยเหลือคน 2 พันล้านคนให้หลุดพ้นจากความยากจน และเป็นทุนสนับสนุนการยุติความอดอยากทั่วโลก

 

เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น Oxfam ได้ยกตัวอย่าง อีลอน มัสก์ ซีอีโอของ Tesla, SpaceX และ Twitter จ่ายอัตราภาษีที่แท้จริงเพียง 3% ระหว่างปี 2014-2018 ในขณะที่ผู้ค้าในตลาดขายข้าวและแป้งในยูกันดาตอนเหนือจ่ายภาษีเงินได้ในอัตรา 40%


บทความที่เกี่ยวข้อง


อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising