×

‘คาร์บอนเครดิต’ ไอเดียซื้อขายสิทธิก่อมลพิษที่เกิดมาแล้ว 60 ปี เป็นมาอย่างไร ทำไมทุกคนไม่ควรมองข้าม [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
11.03.2024
  • LOADING...

เรื่องราวและประเด็นเกี่ยวกับ ‘คาร์บอนเครดิต’ (Carbon Credit) ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงกันบ่อยครั้งตลอดทั้งปี 2023 ที่ผ่านมา ในฐานะเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยพาทุกคนไปสู่เป้าหมายที่จะจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของโลกไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส และตั้งเป้าไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อให้โลกของเรายังเหมาะแก่การอยู่อาศัยต่อไป

 

อย่างเช่น ประเทศไทยเคยประกาศไว้ว่า จะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 30% ภายในปี 2030

 

ธนาคารโลก (World Bank) ได้ระบุไว้ผ่านรายงานพิเศษชิ้นล่าสุดว่า เครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เราเดินไปถึงเป้าหมายดังกล่าวได้คือ การกำหนดราคาคาร์บอน ไม่ว่าจะผ่านภาษีคาร์บอนหรือการสร้างระบบของคาร์บอนเครดิต 

 

จะเห็นได้ว่าไอเดียเกี่ยวกับการพัฒนาตลาดคาร์บอนเครดิตเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ แต่จริงๆ แล้วไอเดียเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่เกิดขึ้นมาแล้วถึง 60 ปี 

 

แต่ก่อนอื่นอยากพาทุกคนไปรู้จักความหมายของคาร์บอนเครดิตกันก่อนว่าคืออะไร

 

ถ้าจะอธิบายให้ง่ายที่สุดอาจพูดได้ว่า คาร์บอนเครดิตคือการซื้อขายสิทธิที่จะก่อมลพิษได้ ซึ่งสิทธิหรือเครดิตที่ว่านี้เกิดมาจากปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่โครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมแต่ละแห่งจะสามารถลดหรือกักเก็บได้ และเมื่อได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว เครดิตดังกล่าวจะสามารถนำไปซื้อขายในตลาดได้

 

 

ไอเดียที่เป็นเหมือนจุดกำเนิดของคาร์บอนเครดิตเริ่มขึ้นมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 หลังจาก Ronald H. Coase ตีพิมพ์บทความวิชาการที่ชื่อ The Problem of Social Cost ซึ่งเริ่มพูดถึงต้นทุนทางสังคมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 

 

หลังจากนั้นก็เริ่มมีการพูดถึงและกระตุ้นให้เกิดความคิดที่จะควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น อย่างเช่น ในปี 1977 Freeman Dyson นักฟิสิกส์ ระบุผ่านบทความด้านพลังงานว่า “เราสามารถที่จะควบคุมคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศได้หรือไม่”

 

แม้ตลาดของคาร์บอนเครดิตจะยังไม่ได้เริ่มต้นขึ้น แต่ระหว่างปี 1982-1988 ก็เริ่มมีไอเดียในลักษณะใกล้เคียงกันเกิดขึ้นแล้วในสหรัฐอเมริกา นั่นคือสิ่งที่เรียกว่า ‘Lead Credit’ หรือเครดิตสารตะกั่ว ซึ่งเป็นความพยายามที่จะลดการใช้สารตะกั่วในน้ำมัน

 

ในปี 1989 David Pearce, Anil Markandya และ Edward Barbier ตีพิมพ์บทความชื่อว่า Blue for a Green Economy ซึ่งได้เสนอแนะรูปแบบในการคำนวณต้นทุนของการปล่อยมลพิษ รวมทั้งวิธีการที่รัฐบาลจะออกแบบภาษีและเครื่องมือต่างๆ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 

 

จนกระทั่งในปี 1997 หลายประเทศได้ตระหนักถึงประเด็นเกี่ยวกับสภาวะอากาศมากขึ้น จนเกิดเป็นพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocal) ซึ่งเป็นข้อผูกพันทางกฎหมายระดับนานาชาติที่มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์สร้างขึ้น

 

พิธีสารเกียวโตได้กำหนดกลไกต่างๆ ที่จะทำให้ประเทศอุตสาหกรรมทั้งหลายสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้หลายกลไก และหนึ่งในกลไกนั้นก็คือ กลไกการพัฒนาที่สะอาด หรือ CDM (Clean Development Mechanism) ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับและวิธีปฏิบัติ เพื่อที่จะทำให้ประเทศกำลังพัฒนาได้รับการลงทุนในโครงการลดก๊าซเรือนกระจกทดแทนของเก่าจากประเทศพัฒนาแล้ว 

 

ในกรณีที่ประเทศพัฒนาแล้วไม่สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามที่ถูกกำหนดไว้ ก็จะใช้วิธีเข้าช่วยเหลือหรือร่วมลงทุนดำเนินโครงการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศกำลังพัฒนา แล้วก็จะนำปริมาณก๊าซที่ลดได้จากโครงการ CDM นั้นๆ ซึ่งผ่านการรับรอง CERs (Certified Emission Reduction) หรือที่เรียกกันว่าคาร์บอนเครดิต มาคำนวณเสมือนว่าได้ดำเนินการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศของตัวเอง

 

 

หลังเข้าสู่ปี 2000 นานาประเทศเริ่มตื่นตัวเรื่องคาร์บอนเครดิตมากขึ้น ตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนหลายแห่งถือกำเนิดขึ้นมา จนมูลค่าของตลาดคาร์บอนทั่วโลกพุ่งขึ้นถึง 84% สู่ระดับ 1.18 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2008 

 

แต่ด้วยแรงเก็งกำไรและการแห่เข้ามาลงทุนในด้านนี้ จนกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่า ‘คาร์บอนแพนิก’ จากภาวะอุปทานส่วนเกิน ขณะที่ราคา CDM ลดลงมาเหลือต่ำกว่า 3 ดอลลาร์ต่อตันคาร์บอน ในปี 2012 หลังจากสหภาพยุโรปตัดสินใจหยุดซื้อเครดิต

 

 

ตลาดคาร์บอนเครดิตซึมไปหลายปี ก่อนที่จะเริ่มฟื้นตัวอีกครั้งจากการประชุม COP21 เมื่อปี 2015 ซึ่งนำมาสู่ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) เป็นความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ซึ่งเป็นส่วนขยายและเพิ่มเติมต่อจากพิธีสารเกียวโต เพื่อกำหนดมาตรการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะการกำหนดแนวทางที่เปิดให้แต่ละประเทศสามารถซื้อขายและชดเชยการคาร์บอนระหว่างประเทศได้

 

หลังจากนั้นตลาดคาร์บอนเครดิตก็เริ่มฟื้นตัวกลับมาได้อีกครั้ง ปัจจุบันมีการประเมินจากเว็บไซต์ ResearchAndMarkets.com ว่ามูลค่าการซื้อขายคาร์บอนเครดิตทั่วโลกในปี 2022 คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 9.78 แสนล้านดอลลาร์ และมีการประเมินว่ามูลค่าดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.68 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2028 หรือเติบโตเฉลี่ย 18.23% ต่อปี 

 

ขณะที่ World Bank ประเมินตัวอย่างจาก 15 ประเทศที่อนุรักษ์ป่าในเขตของตัวเองไว้ได้ จะสามารถสร้างคาร์บอนเครดิตได้ราว 24 ล้านเครดิตในปีหน้า และเพิ่มเป็น 126 ล้านเครดิตภายในปี 2028 ซึ่งเครดิตเหล่านี้สามารถสร้างรายได้มากถึง 2.5 พันล้านดอลลาร์ 

 

สำหรับประเทศไทยตื่นตัวมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องของคาร์บอนเครดิต และมีหน่วยงานที่ชื่อว่า ‘องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก’ (อบก.) ได้พัฒนาระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Trading Scheme) หรือที่เรียกว่าระบบ Thailand V-ETS และมีตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนคาร์บอนที่ชื่อว่า FTIX 

 

อัตราการหมุนเวียนการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในไทยเพิ่มขึ้นจาก 8.5 แสนบาทในช่วงที่โครงการเริ่มขึ้นเมื่อปี 2016 กลายมาเป็น 129 ล้านบาทในปี 2022 ด้วยปริมาณการซื้อขาย 1.19 ล้านตันคาร์บอน 

 

ที่ผ่านมา UOB เป็นหนึ่งในองค์กรที่มีเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเช่นกัน ทั้งในระดับองค์กรและการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมในวงกว้าง 

 

แน่นอนว่าภาคธุรกิจคงต้องหันมาให้ความสนใจเรื่องคาร์บอนเครดิตมากขึ้น เพราะเรื่องของสิ่งแวดล้อมกลายมาเป็นต้นทุนที่สำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะเดียวกันก็สามารถเป็นโอกาสสำหรับบางธุรกิจด้วยเช่นกัน

 

ในระดับบุคคลทั่วไปก็สามารถมีส่วนช่วยโลกลด CO2 ได้เช่นกัน ผ่านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันทีละเล็กทีละน้อย โดยเฉพาะการลดกระดาษ ซึ่งเป็นสิ่งที่ UOB เล็งเห็นว่ามีความสำคัญ จึงอยากส่งเสริมให้ลูกค้าบัตรเครดิตเปลี่ยนมาใช้ eStatement บนแอปพลิเคชัน UOB TMRW แทนการรับใบแจ้งยอดทางไปรษณีย์ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ลูกค้าสามารถดูใบแจ้งยอดได้สะดวก 24/7 แล้ว ยังช่วยลดปริมาณกระดาษที่เป็นสาเหตุของขยะและโลกร้อนได้อีกด้วย

 

สำหรับลูกค้า UOB เริ่มต้นเปลี่ยนได้แล้ววันนี้ผ่านแอป UOB TMRW อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://go.uob.com/3HkzJHK

 

#UOBSustainability #UOBTMRW #UOB #carboncredit #netzero

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising