×

2 กรกฎาคม 2540 – ไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท จุดเริ่มต้นวิกฤตต้มยำกุ้ง

โดย THE STANDARD TEAM
02.07.2021
  • LOADING...
ค่าเงินบาท วิกฤตต้มยำกุ้ง

เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 เวลา 08.30 น. ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศลอยตัวค่าเงินบาท โดยเปลี่ยนจากการผูกค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐในระบบ Pegged Exchange Rate มาเป็นระบบลอยตัวแบบมีการจัดการ หรือ Managed Float หลังจากถูกโจมตีค่าเงินบาทอย่างหนักจากกองทุนเฮดจ์ฟันด์หลายครั้ง จนทำให้เงินสำรองระหว่างประเทศลดลงจาก 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 2.85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 

 

ซึ่งการประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในเวลานั้นทำให้ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงอย่างหนักจาก 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มาแตะระดับต่ำสุด 55 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ นำไปสู่การปิดตัวของ 58 ไฟแนนซ์และธนาคารอีก 6 แห่ง บริษัทเอกชนหลายรายต้องล้มละลายเนื่องจากปัญหาหนี้สิน และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตต้มยำกุ้งที่ทำให้รัฐบาลไทยต้องขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ในท้ายที่สุดด้วยมูลค่าเงินกู้ 1.72 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และรัฐบาลจำเป็นต้องยอมรับเงื่อนไขต่างๆ ที่ IMF กำหนดขึ้น เช่น งบประมาณแผ่นดินต้องตั้งเกินดุล 1% ของ GDP ภาษีมูลค่าเพิ่มต้องเพิ่มจาก 7% เป็น 10% หรือเงื่อนไขที่ระบุให้มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ 

 

วิกฤตทางการเงินครั้งนั้นนอกจากจะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและสร้างความเสียหายอย่างมากกับประเทศไทยแล้ว ยังส่งผลไปยังภูมิภาคอาเซียนและอีกหลายประเทศในเอเชีย จนถูกขนานนามว่า ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X