×

Workplace by Facebook เมื่อคนย้ายไปทำงานบนมือถือ อนาคตจะเป็นอย่างไร

20.06.2017
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

5 mins read
  • อีก 3 ปีข้างหน้า 50% ของแรงงานโลกจะเป็นคนรุ่นมิลเลนเนียลส์ ซึ่งคุ้นเคยกับการทำกิจกรรมต่างๆ บนมือถือ ไม่เว้นแม้แต่การทำงาน องค์กรธุรกิจจึงต้องปรับวัฒนธรรมการทำงานให้สอดรับกับเทรนด์คนรุ่นใหม่
  • Workplace by Facebook คือแพลตฟอร์มที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้เป็นเครื่องมือช่วยในการทำงานและการสื่อสารภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แก้ปัญหาการสื่อสารผ่านอีเมลที่ไม่มีประสิทธิภาพ รองรับการถ่ายทอดสดการประชุม Group Calling และมีระบบวิเคราะห์ข้อมูล

     ทุกวันนี้มีใครทำงานผ่าน Facebook กันบ้าง?

     ปฏิเสธไม่ได้ว่า Facebook กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราในยุค Mobile First ไปแล้ว จากจำนวนผู้ใช้บริการมากกว่า 1.9 พันล้านคนทั่วโลก หลายคนใช้เป็นช่องทางติดตามข่าวสารบนฟีด แชตกับเพื่อน ซื้อ-ขายของออนไลน์ แต่ปัจจุบันโซเชียลมีเดียยอดฮิตนี้กำลังเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานเราอีกด้วย

     ล่าสุดวันที่ 20 มิถุนายน 2560 Facebook ประเทศไทย จัดงานแถลงข่าว ‘บริษัทไทยร่วมพลิกโฉมวัฒนธรรมการทำงานในองค์กรด้วย Workplace by Facebook’ พร้อมกับเปิดเผยว่า ปัจจุบันมีบริษัทที่ใช้งานกว่า 14,000 รายในทุกทวีปทั่วโลก และเกิดกลุ่มบน Workplace by Facebook (แพลตฟอร์ตใหม่ที่เปิดตัวเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว) มากถึง 400,000 กลุ่ม รวมทั้งเชิญบริษัทไทยมาร่วมแชร์ประสบการณ์การใช้แพลตฟอร์มนี้ด้วย ได้แก่ แฟมิลี่มาร์ท อโกด้า และอนันดา ดีเวลลอปเมนท์ ซึ่งเป็นบริษัทแรกในไทยที่ใช้บริการ

     คำถามคือ เมื่อทุกคนทำงานบน Facebook อนาคตการทำงานของเราจะเปลี่ยนไปอย่างไร

บริษัทธุรกิจที่เคยติดอันดับ 500 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปี 1995 ของนิตยสาร Fortune ปัจจุบันเหลือแค่ 12% เท่านั้นที่อยู่รอด เพราะการทำงานเปลี่ยนไป

 

Open & Connected วิถีอยู่รอดขององค์กรยุคใหม่

     ราเมช โกปาลกฤษณะ หัวหน้าฝ่าย Workplace by Facebook ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า บริษัทธุรกิจที่เคยติดอันดับ 500 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปี 1995 ของนิตยสาร Fortune ปัจจุบันเหลือแค่ 12% เท่านั้นที่อยู่รอด เพราะการทำงานเปลี่ยนไป

     เขาชี้ว่าบริษัทที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่ถูกต้องคือ เปิดกว้าง และเข้าถึงทุกคน จะมีโอกาสได้ไปต่อและอยู่ได้นานกว่า

     ที่สำคัญในอีก 3 ปีข้างหน้า กลุ่มคนทำงานกว่าครึ่งหนึ่งจะเป็นคนรุ่นมิลเลนเนียลส์ ซึ่งคุ้นเคยกับการสื่อสารผ่านมือถือมากกว่าการใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ฉะนั้น องค์กรธุรกิจจะต้องปรับตัวเพื่อสื่อสารและทำงานกับคนกลุ่มนี้ให้ได้

     ราเมชอธิบายว่า ก่อนหน้านี้พนักงานใน Facebook เองก็สื่อสารกันผ่านอีเมล แต่พบว่ายังมีช่องโหว่ทางการสื่อสาร เพราะหลายคนไม่เห็นหรือไม่ได้เช็กอีเมลทุกอัน ทำให้ตกหล่นข้อมูลสำคัญและเกิดข้อผิดพลาดในการทำงาน Facebook จึงพัฒนาเครื่องมือที่ให้พนักงานสื่อสารกันภายในองค์กร ซึ่งก็คือ Workplace by Facebook ในปัจจุบัน

 

 

ฟีเจอร์ใหม่ตอบโจทย์การทำงาน ‘ทุกที่-ทุกเวลา’

     มาดูกันว่า Workplace by Facebook มีฟีเจอร์อะไรบ้าง

     – จัดการงานเอกสารด้วย Cloud Service โดยทาง Facebook ได้ร่วมมือกับบริษัท Onedrive, Box, Office เพื่อให้ผู้ใช้งานอัพโหลดบนแพลตฟอร์มได้เลย

     – มี Bot คอยช่วยตอบคำถามและช่วยเหลือพนักงาน เช่น ติดต่อปรึกษาฝ่าย HR หรือขอความช่วยเหลือจากฝ่าย IT ได้ทันที

     – มีระบบ E-discovery อำนวยความสะดวกในการส่งออกเอกสารและค้นหาข้อกฎหมาย

     – รองรับการ Live, การถ่ายทอดสดการประชุม Townhall แบบเรียลไทม์, Video Calling และ Group Calling

     – สามารถแบ่งกรุ๊ปแยกตามแผนกหรือโปรเจกต์ต่างๆ ได้

     – มีระบบ Data Analytics ตรวจสอบว่าแต่ละกรุ๊ปมีความเคลื่อนไหวมากน้อยแค่ไหน (strong or low adoption)

     – ปัจจุบันเปิดให้บริการทั้ง Workplace Standard (ไม่มีค่าใช้จ่าย) และ Workplace สำหรับบริษัทองค์กรหรือ Enterprise (ยังอยู่ในช่วงโปรโมชันใช้ฟรี)

     – มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเหมือนกับ Facebook

 

 

บริษัทใหญ่และสตาร์ทอัพไทยขานรับเทรนด์การทำงานบนมือถือ

     สังเกตได้ว่าเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกในตอนนี้คือ ผู้คนลุกขึ้นมาทำธุรกิจและเป็นผู้ประกอบการได้ง่ายขึ้น โดยอาศัยเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ ราเมชกล่าวกับ THE STANDARD ว่าเห็นโอกาสจากเทรนด์ดังกล่าว และปัจจุบันมีสตาร์ทอัพจำนวนมากที่เข้ามาใช้บริการ Workplace แม้แต่ในไทยเอง

     “ตอนนี้มีธุรกิจสตาร์ทอัพหลายรายที่เข้ามาใช้บริการ Workplace เช่น HUBBA ที่ใช้เป็นแพลตฟอร์มสำหรับพูดคุย แชร์ไอเดีย รายงานความคืบหน้าของผลงาน หรือแม้แต่จองพื้นที่โคเวิร์กกิ้งสเปซ”

     นอกจากนี้ 3 บริษัทใหญ่ได้ร่วมแชร์ประสบการณ์ว่า Workplace by Facebook เข้ามาตอบโจทย์และความท้าทายด้านการสื่อสารภายในองค์กรในมุมที่ต่างกันไป

     อครินทร์ ภูรีสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลแฟมิลี่มาร์ท จำกัด แชร์ปัญหาของแฟมิลี่มาร์ทว่า ทุกสาขากว่า 90% รับข้อมูลจากออฟฟิศ แต่การทำงานหลายสาขาอาจทำให้ข้อความที่ต้องการสื่อสารกันตกหล่นระหว่างทางได้

     ขณะที่ นิโก มาร์โก ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารและส่งเสริมความสัมพันธ์กับลูกค้า บริษัท อโกด้า จำกัด เล่าว่าทางอโกด้าได้ใช้ถ่ายทอดสดการประชุมในประเทศไทยไปสู่สำนักงานอื่นๆ ได้ทันที จากปกติที่ต้องรอนานกว่า 2 สัปดาห์ กว่าจะได้รับทราบข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ทำให้พนักงานมีส่วนร่วมและช่วยลดการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพภายในองค์กรได้

     ด้าน มาร์ติน โคเมอร์ หัวหน้าฝ่ายไอที บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สถานการณ์ของบริษัทค่อนข้างแตกต่างไป เพราะมีทั้งพนักงานที่ปฏิบัติในเขตไซต์ก่อสร้าง และพนักงานในสำนักงานใหญ่ จึงต้องอาศัยเครื่องมือที่ครอบคลุมถึงทุกคนได้จริงๆ และใช้งานง่าย สิ่งสำคัญที่สุดคือ ทุกคนต้องการความเป็นส่วนตัว จึงเปิดให้พนักงานทุกคนได้ลงความเห็นและสร้างกฎระเบียบการใช้งานร่วมกัน เพื่อแยก Facebook ส่วนตัวกับการทำงานออกจากกันอย่างชัดเจน

     และนี่คืออีกหนึ่งความก้าวหน้าของ Facebook ที่กำลังจะเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตของเรามากขึ้น ก็ได้แต่หวังว่าเครื่องมือเหล่านี้จะไม่ทำให้เราต้องทำงานกันตลอด 24 ชั่วโมง

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising