×

อัปเดตเทรนด์อุตสาหกรรมโลหการและส่อง ‘The Masterpiece’ ที่ห้ามพลาดก่อนไปงาน ‘เมทัลเล็กซ์ 2024’ มหกรรมเทคโนโลยีเครื่องจักรกลโลหการอันดับ 1 ของอาเซียน 20-23 พ.ย. 2024 [ADVERTORIAL]

โดย THE STANDARD TEAM
15.11.2024
  • LOADING...
METALEX

HIGHLIGHTS

8 min read
  • เมทัลเล็กซ์ 2024 มหกรรมเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีโลหการอันดับ 1 แห่งอาเซียน ครั้งที่ 38 จัดขึ้น ภายใต้แนวคิด ‘The Masterpiece’ หรือ ‘ผลงานชิ้นเอก’ นำเสนอนวัตกรรมใหม่ที่เป็นผลงานชิ้นเอกกว่า 3,000 แบรนด์จาก 50 ประเทศ และ 21 พาวิเลียนจาก 8 ประเทศและเขตปกครองพิเศษ ระหว่างวันที่ 20-23 พฤศจิกายน 2024 เวลา 10.00-18.00 น. ฮอลล์ 98-104 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค
  • พร้อมสัมมนา 50 หัวข้อจากวิทยากร 130 คน บน 3 ฟอรัมหลัก EV Tech Forum, AI Forum และ Metallurgy Forum
  • พลาดไม่ได้กับฟอรัมพิเศษ ‘Thailand Industrial Conference’ ครั้งแรกของประเทศไทยกับการประชุมทางวิชาการที่จัดร่วมกับ ‘อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ’ และอีก 8 สถาบันเครือข่ายของมูลนิธิ รวมถึง METALEX The Nexus เวทีสาธิตนวัตกรรมและเวิร์กช็อปให้ทดลองทำจริง รู้จริง เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการในยุคแห่งวิศวกรรมอัจฉริยะ
  • ก่อนที่นักอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการจะได้สัมผัสกับความยิ่งใหญ่ของงานในปีนี้ วราภรณ์ ธรรมจรีย์ กรรมการผู้จัดการ อาร์เอ็กซ์ เทรดเด็กซ์ ฉายภาพให้เห็นถึงที่มาของแนวคิดในการจัดงาน ซึ่งเชื่อมโยงไปกับทิศทางของอุตสาหกรรมโลหการและเทรนด์ที่เกิดขึ้น

เป็นประจำของทุกปีที่คนโลหการจะต้องอัปเดตองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี พร้อมเสาะหาคู่ค้าและพันธมิตรใหม่ เพื่อปลดล็อกศักยภาพของธุรกิจกับ ‘METALEX’ (เมทัลเล็กซ์) มหกรรมเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีโลหการอันดับ 1 ของอาเซียน โดย อาร์เอ็กซ์ เทรดเด็กซ์ (RX Tradex) ผู้จัดงานแสดงสินค้าชั้นนำแห่งอาเซียน

 

สำหรับปีนี้ METALEX 2024 (เมทัลเล็กซ์ 2024) จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 38 ภายใต้แนวคิด ‘The Masterpiece’ หรือ ‘ผลงานชิ้นเอก’ นำเสนอนวัตกรรมใหม่ที่เป็นผลงานชิ้นเอกกว่า 3,000 แบรนด์จาก 50 ประเทศ และ 21 พาวิเลียนจาก 8 ประเทศและเขตปกครองพิเศษ ได้แก่ เกาหลีใต้, เยอรมนี, จีน, ญี่ปุ่น, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), สิงคโปร์, อิตาลี และอินเดีย ที่จะมาช่วยยกระดับการผลิตให้นักอุตสาหกรรมสร้างผลงานชิ้นเอกให้กับธุรกิจ

 

ก่อนที่นักอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการจะได้สัมผัสกับความยิ่งใหญ่ของงานในปีนี้ วราภรณ์ ธรรมจรีย์ กรรมการผู้จัดการ อาร์เอ็กซ์ เทรดเด็กซ์ ฉายภาพให้เห็นถึงที่มาของแนวคิดในการจัดงาน ซึ่งเชื่อมโยงไปกับทิศทางของอุตสาหกรรมโลหการและเทรนด์ที่เกิดขึ้น

 

 

เศรษฐกิจไทยโตช้า แต่อุตสาหกรรมโลหการยังได้แรงหนุนจากอุตสาหกรรมที่เติบโต

 

“แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะมีแนวโน้มเติบโตต่ำลง แต่เศรษฐกิจไทยจะยังขยายตัวได้ดี ถ้าดูตัวเลข GDP ปีนี้คาดการณ์ว่าจะโตอยู่ที่ 3.4% ปีหน้าคาดว่าจะอยู่ราว 3.5%

 

อุตสาหกรรมหลักอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้า, เครื่องมือแพทย์, การก่อสร้างและวัสดุก่อสร้าง, ยานยนต์ ไปจนถึงอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จะมาช่วยพยุงให้ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยมีทิศทางที่สดใส” วราภรณ์กล่าว พร้อมทั้งบอกว่า “การท่องเที่ยวก็จะเป็นตัวที่ทำให้ GDP ของไทยสดใสขึ้น คิดว่าปีนี้ตัวเลขนักท่องเที่ยวน่าจะใกล้ๆ กับก่อนโรคโควิด-19”

 

ถ้าเจาะจงไปที่อุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของไทย วราภรณ์ชี้ว่าภาพรวมยังทรงตัวและเนื้อในมีการเปลี่ยนแปลงเยอะ “ปัจจัยหลักมาจากการเข้ามาของรถ EV ยอดขายรถ EV ในไทยสูงและเติบโตเร็วมาก ตอนนี้ถือเป็น 10% ของยอดขายรถโดยรวม รถยนต์ที่เป็นเครื่องสันดาปมีสัดส่วนลดลง ส่งผลต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์อย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่ประเทศไทยก็ส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์เยอะ นั่นหมายความว่าถึงการบริโภคภายในประเทศลด แต่การส่งออกยังโต”

 

วราภรณ์มองว่าแม้หนี้ครัวเรือนและหนี้สาธารณะจะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ก็ชดเชยจากภาครัฐที่ลงทุนในโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น ระบบราง ระบบการก่อสร้าง เมกะโปรเจกต์ต่างๆ รวมถึงอสังหาริมทรัพย์ก็ยังก่อสร้างต่อเนื่อง บวกลบไปมาจึงทำให้ภาพรวมยังดูดีอยู่

 

“อย่างไรก็ดี เครื่องจักรกลและส่วนประกอบยังเป็น 1 ใน 5 ผลิตภัณฑ์นำเข้ามากที่สุดในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ โดยมีมูลค่าการนำเข้าสูงถึง 512,491.23 ล้านบาท” วราภรณ์กล่าว พร้อมบอกว่า จีน, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร และเยอรมนี คือประเทศที่ไทยนำเข้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบมากที่สุด

 

“สะท้อนให้เห็นว่าหลายอุตสาหกรรมยังต้องการใช้โลหะรวมถึงต้องปรับตัว เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ทางการตลาดที่เปลี่ยนไป ด้วยการพัฒนาความสามารถของเครื่องจักรและการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยงานให้มากขึ้น

 

“แม้ว่างานเมทัลเล็กซ์จะแตะไปที่อุตสาหกรรมโลหการ แต่ถ้าดูให้ดีจะเห็นว่าครอบคลุมในหลายอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเจาะลงไปในยานยนต์, เครื่องใช้ไฟฟ้า, อาหาร, เครื่องมือแพทย์, การบิน, เฟอร์นิเจอร์, ก่อสร้างและวัสดุก่อสร้าง, เหล็ก ไปจนถึงการประกอบชิ้นส่วนหรือทำวัสดุต่างๆ ก็ยังได้อานิสงส์จากอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต” วราภรณ์กล่าว


จับตาเทรนด์เครื่องจักรและนวัตกรรมที่จะขับเคลื่อนประสิทธิภาพและศักยภาพในการผลิตให้เหนือชั้น

 

นอกจากทิศทางเศรษฐกิจ สิ่งที่นักอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้ก็คือ ‘เทรนด์ของเครื่องจักรและนวัตกรรม’ วราภรณ์บอกว่า “Multifunction, ขนาดที่เล็กลง, การประหยัดพลังงาน, เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, ช่วยลดต้นทุน และการมาถึงของ AI คือคีย์เวิร์ดสำคัญ”

 

METALEX

 

“ที่ชัดเจนคือเครื่องจักรที่เป็น Multifunction เครื่องเดียวทำได้หลายอย่าง เพราะธุรกิจเริ่มมองหานวัตกรรมที่มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ดียิ่งขึ้นในเวลาที่ลดลง ขณะเดียวกันต้องช่วยลดต้นทุน ไม่ว่าจะเป็นโรงงานขนาดใหญ่หรือผู้ประกอบการรายเล็กก็มาในแนวทางนี้

 

“คำว่าลดต้นทุนการผลิตต่อจากนี้ไม่ใช่แค่ประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ แบบที่ทำๆ กัน แต่นวัตกรรมที่นำมาใช้ในการผลิตจะเข้ามาอยู่ในสมการด้วย”

 

วราภรณ์มองว่าเรื่องไซส์ก็สำคัญ “เดี๋ยวนี้โรงงานขนาดใหญ่เริ่มสนใจเรื่องการลดไซส์โรงงานและขนาดของเครื่องจักร มาในลักษณะของ Smart Factory บริหารจัดการโรงงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

“อีกเทรนด์ที่มาแล้วและจะเห็นเยอะขึ้นคือ AI ที่เข้ามาช่วยให้เครื่องจักรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถวัดผลได้ รวมถึงนวัตกรรมอย่าง 3D Printing เมื่อก่อนจะเห็นในพาร์ตของการทำ Prototype แต่ปัจจุบันสามารถผลิตสินค้าได้จริง หรือเรื่องของ Cobot หุ่นยนต์ทำงานกับมนุษย์ ตามมาด้วย IoT และ Cloud Technology ที่มาใช้งานร่วมกันกับเครื่องยนต์”

 

 

เจาะส่วนหนึ่งของ ‘The Masterpiece’ ที่จะได้เห็นและสัมผัสในงาน ‘เมทัลเล็กซ์ 2024’


เทรนด์ทั้งหมดที่เห็นได้รับการต่อยอดมาสู่แนวคิด ‘The Masterpiece’ หรือ ‘ผลงานชิ้นเอก’ วราภรณ์อธิบายว่า ต้องการให้งานปีนี้เปรียบเสมือนเวทีเปิดตัวนวัตกรรมเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีโลหการระดับมาสเตอร์พีซจากผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเทคโนโลยี รวมถึงวัสดุอัจฉริยะและเทคโนโลยี AI กว่า 3,000 แบรนด์จากทั่วทุกมุมโลก

 

“เหตุผลหนึ่งที่ Exhibitor กว่า 1,000 รายเลือกเมทัลเล็กซ์ เพราะเราเป็นเวทีสำหรับเปิดตัวนวัตกรรมใหม่ล่าสุด หลายนวัตกรรมเลือกที่จะมาเปิดตัวครั้งแรกที่งานนี้ ทุกปีจะได้เห็นนวัตกรรมที่เปิดตัวครั้งแรกในประเทศไทย มีนวัตกรรมไม่น้อยที่เปิดครั้งแรกในอาเซียน ยิ่งไปกว่านี้คือเปิดตัวครั้งแรกในโลก”

 

และนี่คือตัวอย่างนวัตกรรมที่จะมาเปิดตัวครั้งแรกในไทย ครั้งแรกในอาเซียน และครั้งแรกในโลก ในงานเมทัลเล็กซ์ 2024

 

  • เครื่องจักรกล BROTHER SPEEDIO S500Xd2 ที่ YAMAZEN (Thailand) นำมาเปิดตัว ‘ครั้งแรกในไทย’ ไฮไลต์คือเป็นเครื่องจักร CNC รุ่นใหม่ที่รวมทุกฟังก์ชัน การตัดเฉือนที่รวดเร็วและแม่นยำสูง รองรับงานหนัก ตอบโจทย์การผลิตหลากหลายรูปแบบ ช่วยลดเวลาการทำงาน และเพิ่มผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาพร้อม ‘Blue Technology’ ช่วยประหยัดพลังงาน เหมาะกับทุกอุตสาหกรรมที่ต้องการคุณภาพในทุกขั้นตอนการผลิต
  • เครื่องพับระบบเซอร์โวไฟฟ้าแบบเปลี่ยนแม่พิมพ์อัตโนมัติ เครื่องแปรรูปโลหะแผ่น EGB-6020ATCe โดย AMADA นำมาเปิดตัว ‘ครั้งแรกในอาเซียน’ มาพร้อมระบบขับเคลื่อนเซอร์โวมอเตอร์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับเครื่องพับ และระบบเปลี่ยนแม่พิมพ์อัตโนมัติที่เป็นเอกลักษณ์ของ AMADA ที่สำคัญยังออกแบบโดยคำนึงถึงผู้คนและสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง 20%, ลดการใช้น้ำมันลง 90%, ลดค่าบำรุงรักษา, มีขนาดเล็กลง แต่สามารถใส่แม่พิมพ์ได้เพิ่มขึ้นอีก 30%
  • เครื่องเชื่อม LT-2000W โดย LT GROUP เปิดตัว ‘ครั้งแรกในไทย’ เป็นเครื่องเชื่อมเลเซอร์เครื่องเดียวที่ใช้งานได้ทั้งแบบถือด้วยมือและเชื่อมด้วยหุ่นยนต์ ขนาดพาวเวอร์เลเซอร์ 1.5kw, 2kw, 3kw สามารถสลับการทำงานได้อย่างรวดเร็วเพียงปุ่มเดียว
  • เครื่องมือตรวจวัดแบบดิจิทัล KEYENCE LM-X series โดย KEYENCE (Thailand) เปิดตัว ‘ครั้งแรกในโลก’ ถือเป็นเครื่องมือตรวจวัดแบบดิจิทัลที่รวมการวัด 3 รูปแบบไว้ในเครื่องเดียว ทั้งกล้องวัดไดเมนชัน เลเซอร์วัดความสูง หรือหัวโพรบเพื่อวัดงาน 3 มิติ ให้ผลลัพธ์คงที่ แม่นยำ สามารถวัดพร้อมกันถึง 1,000 ชิ้นงาน สูงสุดถึง 5,000 ตำแหน่ง ช่วยลดต้นทุนการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพสูงสุด
  • หุ่นยนต์ Cobot สำหรับงานพ่นสี Explosion Proof รุ่น CRX-10iA/L Paint โดย FANUC THAI เปิดตัว ‘ครั้งแรกในไทย’ เป็นหุ่นยนต์ FANUC Cobot CRX Series ที่สามารถพ่นสีได้ทั้งแบบ Powder (สีฝุ่น), Liquid (สีเนื้อเหลว) และ Coating (การเคลือบ)
  • สายเคเบิลหุ่นยนต์และเครื่องจักร SAKURA Cable โดย TAIYO CABLETEC (Thailand) เปิดตัว ‘ครั้งแรกในไทย’ เป็นสายเคเบิลที่ทนทานต่อการเคลื่อนไหวได้อย่างยอดเยี่ยม เหมาะสำหรับการติดตั้งในส่วนที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา เช่น ภายในเครื่องจักร หุ่นยนต์ หรือเครื่องจักรสำหรับผลิตสารกึ่งตัวนำเซมิคอนดักเตอร์ นอกจากนี้ ยังได้รับมาตรฐาน UL Listed สามารถนำไปใช้งานได้ทั่วโลก

 

ที่น่าสนใจคือนวัตกรรมมาสเตอร์พีซหลายตัวมีแนวโน้มที่จะช่วยสร้าง ‘ความยั่งยืน’ ให้กับอุตสาหกรรมมากขึ้น

 

“เรื่องการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์กำลังจะกลายเป็นตัวชี้วัดการเติบโตของธุรกิจ หลายประเทศเริ่มมีกฎหมายว่าถ้าธุรกิจของคุณไม่ผ่านข้อกำหนดคาร์บอนฟุตพรินต์ สินค้านั้นผลิตจากเครื่องจักรที่ไม่ผ่านเกณฑ์ ก็ไม่สามารถส่งผลิตสินค้าเข้าประเทศเหล่านั้นได้ ตอนนี้ทุกอย่างเชื่อมโยงกันหมด ลดการใช้ไฟ กำจัดของเสีย เป็นมาตรฐานที่ทุกคนต้องทำ แต่ไม่เพียงพออีกต่อไปถ้าคุณจะอยู่ให้รอดในโลกยุคนี้”

 

อัปเดตเทรนด์และองค์ความรู้ผ่าน 50 หัวข้อจากกูรูตัวจริงกว่า 130 คน

 

วราภรณ์บอกว่า ไฮไลต์ที่ไม่ควรพลาดในงานเมทัลเล็กซ์ทุกปีคือเวทีสัมมนาที่รวมทุกองค์ความรู้จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมามอบให้กับผู้เข้าร่วมงานแบบฟรีๆ ตลอด 4 วัน

 

“แต่ปีนี้ไม่อยากให้พลาด เพราะองค์ความรู้ต่างๆ และหัวข้อที่เราคัดสรรมาเป็นเรื่องที่นักอุตสาหกรรมโลหการและผู้ประกอบการไม่ว่าจะธุรกิจขนาดใหญ่หรือผู้ประกอบการรายย่อยจำเป็นต้องรู้”

 

METALEX

 

วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมากถึง 130 คนจะมาร่วมบรรยายและถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่าน 50 หัวข้อ เช่น การกำหนดทิศทางการปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรม, ยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตไทยอย่างยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล, ไขความลับ…เพิ่มผลิตภาพอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีโดรน, ทิศทางและโอกาสของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย บน 3 ฟอรัมหลัก ได้แก่

 

  • EV Tech Forum จับมือกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย นำเสนอหัวข้อ ‘ยานยนต์ไฟฟ้ามุ่งสู่ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ: การปฏิวัตินวัตกรรมที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับยานยนต์แห่งอนาคต’ โดยมี ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม มาแสดงปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ ‘แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต’
  • AI Forum จับมือกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) นำเสนอหัวข้อ ‘ก้าวสู่ Smart Factory: พลิกโฉมธุรกิจด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์’ การประยุกต์ใช้ AI ในภาคอุตสาหกรรม โดยเหล่าวิทยากรและนักวิจัยแนวหน้าของ สวทช., กลุ่มวิจัยปัญญาประดิษฐ์ รวมทั้งตัวแทนจากหน่วยงานดิจิทัลเทคโนโลยีและ AI ที่มาร่วมให้ความรู้ผ่านความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของตนเอง
  • Metallurgy Forum จับมือกับกลุ่มอุตสาหกรรมอลูมิเนียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นำเสนอหัวข้อ ‘อลูมิเนียมไทย สร้างเศรษฐกิจไทยสู่ความยั่งยืน’ เพื่อรณรงค์ความเข้าใจเกี่ยวกับกระแสความยั่งยืน และมาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน หรือ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism)

 

“ปีนี้พิเศษ เรามีฟอรัมใหญ่ ‘Thailand Industrial Conference’ ครั้งแรกของประเทศไทยกับการประชุมทางวิชาการที่เราจัดร่วมกับ ‘อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ’ และอีก 8 สถาบันเครือข่ายของมูลนิธิ โดยมี เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มาแสดงปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ ‘FIND Industrial Vision 2025 ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่ความยั่งยืน’

 

 

พลาดไม่ได้กับ ‘METALEX The Nexus’ เวทีสาธิตนวัตกรรมและเวิร์กช็อปให้ทดลองทำจริง รู้จริง เพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการในยุคแห่งวิศวกรรมอัจฉริยะ, การจัดแสดง Factory Automation Showcase, การแนะนำการแข่งขัน Koma Taisen การแข่งขันด้านสุดยอดวิศวกรรมของโลก (การแข่งขันหมุนลูกข่างเหล็ก) โดยสมาคมโคมะแห่งประเทศไทย, เวิร์กช็อปเทคโนโลยี 3D Printing โดยเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย และบริษัท บี แอนด์ บราเธอร์ จำกัด รวมถึงการสาธิตหลักการทำงานแบบ ‘Smart Monodzukuri’ ของญี่ปุ่น


ค้นหาคู่ค้าและพันธมิตร ต่อยอดธุรกิจกับ Business Matching

 

“Exhibitor และ Visitor ที่มางานจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า งานแสดงสินค้าเป็นงานที่ช่วยต่อยอดธุรกิจ ยิ่งเป็นสินค้าเครื่องจักรต้องได้เห็นการทำงาน ต้องได้ซักถามพูดคุย จะมีอะไรดีไปกว่าการรวมทุกอย่างไว้ในงานเดียว ผู้เข้าชมงานจะได้เห็นนวัตกรรมจากทุกมุมโลก ฟากผู้ผลิตเองก็มีโอกาสพบลูกค้ากว่า 100,000 ราย ภายในเวลา 4 วัน

 

“ตอนลงทะเบียนเราจะถามเลยว่าอยากใช้บริการ Business Matching หรือไม่ และอยากจะเจอผู้ผลิตรายไหน สนใจดูนวัตกรรมอะไร พอถึงหน้างานจะมีทีมที่คอยอำนวยความสะดวก จะคุยธุรกิจกันในบูธของผู้ผลิตก็ได้ หรือจะใช้บริการ Business Matching Lounge ที่เราจัดเตรียมไว้ให้”

 

 

วราภรณ์บอกว่า ตอนนี้มีผู้เข้าร่วมงานที่ลงทะเบียนกว่า 58 ประเทศ คาดว่าปีนี้จะมีผู้เข้าชมงานไม่น้อยกว่า 100,000 คน และมูลค่าการลงทุนที่เกิดขึ้นในการเจรจาธุรกิจในงานจะมีมากกว่า 7,000 ล้านบาท

 

“สำหรับคนที่ไม่เคยมาเดินงาน เรามีจุดบริการที่เรียกว่า Ask Me กระจายอยู่ทั่วงาน ถ้าไม่มั่นใจว่าควรจะเริ่มต้นจากบูธไหน หรือทำการบ้านมาแล้วแต่ก็หาบูธไม่เจอ บางคนตั้งใจแล้วว่าจะมาดูนวัตกรรมอะไร แต่ไม่รู้ว่ามีกี่บูธที่จัดแสดง ก็สามารถถามได้ เราใส่ใจถึงขั้นว่าตอนลงทะเบียนจะมีช่องให้กรอกว่าต้องการมาดูอะไร สนใจเรื่องไหน จากนั้นทีมงานจะช่วยแนะนำให้ว่า Exhibitor รายไหนตอบโจทย์ เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ให้ผู้ชมงานได้เจอในสิ่งที่เขาอยากเจอ”

 

METALEX

 

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

 

มากไปกว่าจำนวนผู้เข้าชมงาน วราภรณ์บอกว่า ตัวชี้วัดความสำเร็จสำหรับเธอก็คือ “Exhibitor ต้องประสบความสำเร็จในการออกงาน เขาต้องได้โชว์นวัตกรรมที่ดีที่สุด เกิดการต่อยอดทางธุรกิจ และผู้เข้าร่วมงานก็ได้ของที่ดีที่สุด เราพบว่ามีผู้ประกอบการหลายรายที่รอมาซื้อเครื่องจักรในงาน เพราะเขาต้องการมั่นใจว่าจะได้ของที่ดีและนวัตกรรมที่ล้ำที่สุด

 

“แต่คีย์สำคัญที่ทำให้การจัดงานทุกปีประสบความสำเร็จก็คือ Exhibitor ทุกรายพร้อมใจกันมาโชว์ของและนำนวัตกรรมที่ดีที่สุดมาแสดงในงาน สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ร่วมงานว่าเขาจะได้เห็นของดีอย่างแน่นอน ขาดไม่ได้เลยคือเรื่องความรู้ เราให้ความสำคัญกับฟอรัมและงานสัมมนา การเลือกหัวข้อต่างๆ ต้องมั่นใจว่าผู้ฟังจะได้ประโยชน์จริงและต้องไม่เคยฟังจากที่ไหน รวมถึงสปีกเกอร์ก็ต้องเป็นกูรูตัวจริง

 

“ถึงเมทัลเล็กซ์จะจัดทุกปี แต่รับรองว่าทุกปีมีเทรนด์ใหม่ๆ อยู่เสมอ ถ้าคุณพลาดปีนี้เท่ากับพลาดที่จะอัปเดตนวัตกรรมและอาจตามไม่ทันคู่แข่ง”

 

‘METALEX 2024’ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-23 พฤศจิกายน 2024 เวลา 10.00-18.00 น. ฮอลล์ 98-104 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคผู้สนใจเข้าชมงานสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าภายในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2024 (ผู้ลงทะเบียนล่วงหน้าจะได้รับสิทธิ์ลุ้นของที่ระลึกสุดพิเศษในงาน) และดูรายละเอียดของงานได้ที่ www.metalex.co.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 2686 7222 หรืออีเมล [email protected]

 

*เนื่องจากเป็นงานเจรจาธุรกิจ จึงขอความร่วมมือผู้ชมงานแต่งกายสุภาพ และภายในงานมีเครื่องจักรขนาดใหญ่และอาจมีประกายไฟจากการสาธิตการใช้งาน จึงสงวนสิทธิ์ไม่อนุญาตให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 15 ปีเข้าชมงาน

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising