×

สำรวจงานวิศวกรรมในอารยธรรมอินคา เหตุผลว่าทำไม มาชู ปิกชู คือจุดหมายที่คุณควรไปชมด้วยตาตัวเองสักครั้งในชีวิต [Advertorial]

03.04.2018
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

4 Mins. Read
  • มาชู ปิกชู ในประเทศเปรู คือสถานที่ที่เป็นเสมือนหน้าบันทึก ‘การมีอยู่’ ของอารยธรรมของชนชาวอินคา ซึ่งเหนือชั้นด้วยภูมิปัญญา วิธีคิด ธรรมเนียม ความเชื่อ และงานวิศวกรรม ถูกค้นพบโดย ไฮแรม บิงแฮม นักโบราณคดีชาวอเมริกันจากมหาวิทยาลัยเยล ในปี 1911 โดยการนำทางของชาวนาในพื้นที่
  • ชาวอินคาถูกขนานนามว่าเป็นกลุ่มชนที่มีความรู้ความสามารถก้าวหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของงานวิศวกรรม พวกเขาสร้างเมือง สร้างระบบน้ำประปา สร้างถนน สะพานแขวน และงานวิศวกรรม

“ด้วยมนต์เสน่ห์ที่น่าหลงใหลและพลังที่เหมือนราวกับถูกสะกด ฉันไม่รู้ว่าจะมีสถานที่แห่งไหนบนโลกนี้จะเทียบได้ ไม่ใช่แค่เพราะมีทิวทัศน์ของยอดเขาสูงชะลูดราวสองไมล์ที่ปกคลุมด้วยหิมะ หน้าผาหินแกรนิตที่มีสีสันตั้งอยู่เหนือแก่งน้ำที่ไหลคำรามอยู่เบื้องล่างพันฟุตนั่น หรือความโดดเด่นที่แตกต่างของความงามจากพืชพรรณนานาชนิดประหนึ่งแม่มดผู้ลึกลับในป่าใหญ่” – ไฮแรม บิงแฮม นักโบราณคดีชาวอเมริกัน

 

ภาพถ่ายเมื่อปี 1911 เมื่อครั้งค้นพบ มาชู ปิกชู

 

ถ้อยความดังกล่าวคือการอธิบายถึงสถานที่แห่งหนึ่งที่เป็นเสมือนหน้าบันทึก ‘การมีอยู่’ ของอารยธรรมโบราณในประวัติศาสตร์โลกที่สำคัญ อารยธรรมของชนชาวอินคาซึ่งเหนือชั้นด้วยภูมิปัญญา วิธีคิด ธรรมเนียม ความเชื่อ และงานวิศวกรรมมานับ 5 ศตวรรษ และสถานที่ที่ว่านั้นไม่ใช่ที่ไหนอื่นเลย นอกจาก ‘มาชู ปิกชู’ ในประเทศเปรู ซึ่งถูกค้นพบโดย ไฮแรม บิงแฮม นักโบราณคดีชาวอเมริกันจากมหาวิทยาลัยเยล ในปี 1911 โดยการนำทางของชาวนาในพื้นที่ระหว่างค้นหาซากเมืองเก่าเมืองอื่นๆ ของชาวอินคาอยู่ เขาค้นพบอาณาจักรใหญ่ที่เต็มไปด้วยกองซากหินบนพื้นที่เวิ้งว้างยอดเขาสูงในสภาพเกือบสมบูรณ์ และด้วยความซับซ้อนของวิธีการก่อสร้าง การวางผัง รวมไปถึงจุดประสงค์ในการสร้างที่ยังไร้คำตอบ จึงทำให้มันกลายเป็นจุดหมายหนึ่งที่นักเดินทางทั่วโลกใฝ่ฝันอยากจะไปชื่นชมสักครั้งก่อนหมดลมหายใจ

 

Photo: shutterstock

 

เป็นระยะเวลากว่า 300 ปีที่จักรวรรดิอินคานั้นปกครองดินแดนในทวีปอเมริกาใต้กินวงกว้างตั้งแต่ช่วงประเทศเอกวาดอร์ลากยาวลงมาทางใต้จรดประเทศชิลีในช่วงปี 1438-1533 ซึ่งพวกเขาถูกขนานนามว่าเป็นกลุ่มชนที่มีความรู้ความสามารถก้าวหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของงานวิศวกรรม พวกเขาสร้างเมือง สร้างระบบน้ำประปา สร้างถนน สะพานแขวน งานวิศวกรรม และสถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพวกเขาที่ยังหลงเหลืออยู่ก็คือเมืองที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลที่ 2,560 เมตรที่ชื่อ ‘มาชู ปิกชู’ นี่ล่ะ

 

แต่คำถามคือพวกเขาสามารถรังสรรค์ทุกอย่างนั้นได้อย่างไร ในเมื่อพวกเขาไม่มีเครื่องมือเหล็กหรือแม้แต่เครื่องทุ่นแรงสักชิ้น เราไม่อาจรู้ได้เลย เพราะอีกเรื่องหนึ่งที่ชาวอินคาขาดไปคือ ‘ภาษาเขียน’ ดังนั้นทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในการก่อสร้างนี้ล้วนแต่ไม่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรโดยสิ้นเชิง

 

พื้นที่ขั้นบันได ความเก๋ไก๋ของการรักษาพื้นที่

‘ไม่มีเครื่องมือ แต่พวกฉันมีสมองก็ช่างปะไร!’ ชาวอินคาอาจไม่ได้ใช้คำพูดคำจา fierce ขนาดนั้น ถึงแม้พวกเขาจะไม่ได้มีการจดทุกอย่างลงเป็นลายลักษณ์อักษร แต่จากผลงานที่พวกเขาก่อสร้างไว้มันแสดงให้เห็นวิทยาการของมนุษย์ในด้านงานวิศวกรรม โครงสร้าง และสถาปัตยกรรมที่ก้าวกระโดด โดยเฉพาะความรู้ความเข้าใจในเรื่องของพื้นที่ เนื่องจากมาชู ปิกชู ตั้งอยู่บนยอดเขาที่มีอากาศชื้นและฝนตกบ่อย ดังนั้นจึงเสี่ยงต่อการพังทลายของชั้นดิน ชาวอินคาจึงออกแบบเมืองของเขาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว พวกเขาเริ่มมีการแบ่งพื้นที่สำหรับทำการเกษตรด้วยเทคนิคการทำพื้นที่เหมือนแปลงนาขั้นบันไดเพื่อประโยชน์ในการเกษตรกรรมด้วยส่วนหนึ่ง โดยแบ่งเลือกปลูกพืชพรรณตามแต่ละสภาพอากาศและความสูงต่ำอีกด้วย อีกส่วนก็เพื่อชะลอน้ำฝนไม่ให้ชะล้างเอาหน้าดินออกไปหมด

 

ภาพร่างที่แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างของขั้นบันได

Photo: NGHT, Inc. and WGBH Educational Foundation

 

ขึ้นชื่อว่าเป็นสถานที่ที่มีงานวิศวกรรมที่โดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลกก็ใช่ว่ามันจะน่าตื่นเต้นแค่ชาวอินคาเอาก้อนหินไปตั้งๆ และก่อร่างให้มันเป็นกำแพงกั้นดินขึ้นมา แต่พวกเขามีการก่อสร้างฐานรากที่แข็งแรงเป็นขั้นเป็นตอนจากการใช้หินแกรนิตวางพื้นฐานลงไปโดยให้สอดคล้องกับความลาดชันของพื้นที่ ก่อนจะตามด้วยก้อนกรวดหยาบ ชั้นทราย และดินด้านบน รวมไปถึงการทำส่วนระบายน้ำด้านล่างเพื่อรักษาความแข็งแรงของโครงสร้างไว้ ซึ่งหากวัดปริมาณน้ำฝนที่พวกเขาต้องเจอในแต่ละปีราว 1,900 มิลลิเมตรต่อปี เราไม่สงสัยเลยว่าทำไมเจ้าระบบขั้นบันไดกว่า 700 ขั้นและระบบระบายน้ำที่ดีของชาวอินคาจะช่วยรักษาสภาพโครงสร้างทุกอย่างไว้อย่างสมบูรณ์

 

ขั้นบันไดกว่า 700 ขั้นที่รักษาสภาพภูมิประเทศไว้ไม่ให้เสียหายจากการชะล้างโดยน้ำฝน

Photo: Ricardo Preve/National Geographic Television

ลักษณะโครงสร้างก้อนหินในแบบสถาปัตยกรรมอินคา ซึ่งพบในเมืองกุสโก ประเทศเปรู

Photo: TCS World Travel

 

ก้อนหินหลากไซส์ แปลกรูป แต่ลงตัว

หากคุณมองผ่านๆ คุณจะพบว่าโครงสร้างของกำแพง บ้านเรือน หรือสถาปัตยกรรมต่างๆ ในมาชู ปิกชู ก็คือการเอาหินมาวางซ้อนๆ กันเหมือนการก่ออิฐถือปูน แต่หากคุณมองเข้าไปใกล้ๆ แล้วจะพบกับก้อนหินที่ถูกตัดอย่างประณีตหลากไซส์ หลากรูปแบบ ต่อตัวกันเหมือนจิ๊กซอว์โดยไม่มีปูนเป็นสิ่งเชื่อม ก้อนหินเหล่านั้นถูกออกแบบการวางให้รับน้ำหนักกันอย่างพอดี โดยมีเหลี่ยมมุมที่แตกต่างรูปแบบกันวางสอดรับ อีกทั้งมาชู ปิกชู ตั้งอยู่ระหว่างเขตสองรอยเลื่อนแผ่นดินที่เสี่ยงต่อเหตุแผ่นดินไหวได้บ่อย เมื่อเกิดการสั่นไหวเกิดขึ้น กำแพงก้อนหินที่วางซ้อนกันด้วยน้ำหนักที่พอดีจะสามารถขยับตัวกลับเข้าที่ดังเดิมได้อย่างน่าอัศจรรย์ โครงสร้างไม่พังทลาย

 

โครงสร้างก้อนหินในบริเวณอาคารฝังศพ

Photo: Active Adventures

 

ระบบจัดการน้ำและการวางผังเมือง

นอกจากจะมีการจัดการพื้นที่สำหรับการทำเกษตรกรรมอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว พวกเขายังมีการจัดสัดส่วนของพื้นที่อยู่อาศัยโดยมีตำแหน่งของสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอยู่อย่างชัดเจน แสดงให้เห็นถึงแนวคิดในเรื่องการวางผังเมืองและออกแบบการใช้งานพื้นที่ที่ชัดเจน รวมไปถึงการจัดการระบบประปาชั้นยอด แต่เขาไม่มีภาษาใช้ในการบันทึกหรือขีดเขียน แล้วพวกเขาจัดการออกแบบระบบเหล่านี้กันอย่างไร เคน ไรต์ นักอุทกวิทยาและวิศวกรโยธาชาวอเมริกันได้พบหลักฐานการออกแบบระบบต่างๆ ที่ว่าของชาวอินคาด้วยการปั้นดิน

 

Photo: Peru Tourism

 

ในมาชู ปิกชู คุณจะพบเห็นระบบการส่งน้ำประปาไว้ใช้สำหรับที่อยู่อาศัยและการเกษตรตามทางหินที่ชาวอินคาสร้างไว้ ซึ่งในปัจจุบันมันก็ยังคงสามารถใช้การได้อย่างปกติ ซึ่งระบบการจัดการที่ว่าคือพวกเขามีระบบการส่งน้ำและท่อน้ำเสียอย่างเป็นระบบ แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจและเล็งเห็นเรื่องสุขอนามัยเป็นเรื่องสำคัญตั้งแต่ 500 ปีก่อน

 

อยากไปมาชู ปิกชู สักครั้งในชีวิตไหม

ไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝัน หากคุณอยากไปสำรวจความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมและเศษซากภูมิปัญญาและเทคโนโลยีที่ชาวอินคาทิ้งไว้ เพราะ U Beer กำลังจัดแคมเปญ ‘Machu Picchu Ultimate Peru’ ที่เฟ้นหาคนใจสู้ไปบุกตะลุยมาชู ปิกชู ของจริงที่ประเทศเปรู ซึ่งเดือนเมษายนนี้กำลังเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายของการรับสมัคร ผู้สนใจสามารถสมัครได้ 2 วิธี ดังนี้

  1. U Citizen เปลี่ยนกรอบรูปให้เป็นชาว U อัปโหลดรูปลงเฟซบุ๊ก พร้อมแฮชแท็ก #machUcan #machUcitizen
  2. Up2U ถ่ายภาพนิ่งหรือคลิปวิดีโออะไรก็ได้ที่คิดว่าดี คิดว่าเด็ด พร้อมแฮชแท็ก #machUcan #Up2U

 

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมและร่วมกิจกรรมได้ที่ machucitizen.machucan.com หรือ www.facebook.com/MachuPicchuUltimatePeru งานนี้…อย่าไป! ถ้าไม่ใจพอ

 

อ้างอิง:

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X