×

เรื่องที่มนุษย์เงินเดือนต้องรู้ LTF-RMF กองทุนคู่แฝดที่ช่วยให้การจัดการภาษีคู่กับการลงทุนของคุณง่ายขึ้น [ADVERTORIAL]

18.11.2018
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

6 MINS READ
  • LTF (Long Term Equity Fund) หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว เน้นการลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่า 65% ทำให้มีความเสี่ยงสูงจากความผันผวนของราคาหุ้น
  • RMF (Retirement Mutual Fund) หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นกองทุนที่สนับสนุนให้เกิดการออมอย่างมีวินัย เพื่อให้คนไทยมีเงินเพียงพอรองรับช่วงชีวิตหลังเกษียณ
  • จุดเด่นของ KFLTFSTARD และ KFSTARRMF คือนโยบายที่เปิดกว้าง เน้นลงทุนในหุ้นศักยภาพดีโดยไม่มีข้อจำกัดของประเภทหรือขนาดหุ้น เพื่อให้ปรับเปลี่ยนได้เหมาะกับทุกสภาวะตลาด

 

เมื่อพูดถึงการวางแผนการเงิน เรื่องที่หลายๆ คนจะนึกถึงก่อนเสมอคือ ‘ทำอย่างไรให้เงินงอกเงย’ แต่จริงๆ แล้วนั่นเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการวางแผนการเงินเท่านั้น ถ้าจะพูดให้ถูก เราควรมองเรื่องเงินให้ครบทุกมิติ มีได้ก็ต้องมีเสีย และไม่ว่าจะมีรายได้เท่าไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุดคือจะต่อยอดเงินก้อนนั้นอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

 

ยิ่งช่วงปลายปี เรื่องฮอตฮิตที่พนักงานประจำหรือมนุษย์เงินเดือนคุยกันในออฟฟิศย่อมหนีไม่พ้น ‘การลดหย่อนภาษี’ ซึ่งการลดหย่อนภาษีที่ว่าก็มีหลากหลายวิธีมาก และตัวเลือกที่จะไม่พูดถึงไม่ได้ คือ LTF และ RMF นั่นเอง

 

บางคนอาจจะรู้อยู่แล้วว่ากองทุนทั้งสองชนิดนี้มีฟังก์ชันการทำงานอย่างไร บางคนอาจจะเคยได้ยิน แต่ไม่ได้รู้จักว่ามันแตกต่างหรือมีหลักการทำงานอย่างไร ถ้าอย่างนั้นเรามาทบทวนข้อมูลกันสักนิด

 

LTF (Long Term Equity Fund) หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว เป็นกองทุนรวมที่เน้นการลงทุนในหุ้นเป็นหลัก มีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่า 65% ทำให้การลงทุนในกองทุนประเภทนี้ จะมีความความเสี่ยงสูงจากความผันผวนของราคาหุ้น

 

RMF (Retirement Mutual Fund) หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นกองทุนที่สนับสนุนให้เกิดการออมอย่างมีวินัย จุดประสงค์หลักของกองทุนรวมประเภทนี้เพื่อให้คนไทยมีเงินเพียงพอรองรับช่วงชีวิตหลังเกษียณ นโยบายการลงทุนจะมีความหลากหลายมากกว่า LTF เช่น กองทุน RMF ที่ลงทุนในตราสารหนี้ หุ้น อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ ไปจนถึง RMF ที่ลงทุนในต่างประเทศทั่วโลกเพื่อกระจายความเสี่ยงของพอร์ตและเป็นตัวเลือกตามความเหมาะสมของแต่ละคน และยังสามารถใช้ประโยชน์ของความหลากหลายนี้ในการปรับเปลี่ยนพอร์ตตามช่วงอายุและความสามารถในการรับความเสี่ยงได้อีกด้วย

 

มาถึงตรงนี้หลายคนน่าจะพอเข้าใจบ้างแล้ว แต่นอกจากความต่างของกองทุนทั้งสองประเภทยังมีเงื่อนไขการซื้อ-ขายกองทุนที่ต้องศึกษาและสำคัญมาก

 

 

LTF และ RMF เหมาะกับใคร

สำหรับ LTF เราสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ถึง 15% ของเงินได้พึงประเมินในปีภาษีนั้นๆ หรือไม่เกิน 500,000 บาท และจะต้องถือไปจนครบ 7 ปีปฏิทิน ไม่จำเป็นต้องซื้อทุกปีติดต่อกัน เช่น

 

นายร่ำรวย มีเงินได้ในปี 2561 เท่ากับ 1,000,000 บาท (ฐานภาษี 20%) จำนวนที่สามารถซื้อได้จะเป็น 150,000 บาท ทำให้ประหยัดภาษีได้ถึง 30,000 บาท (150,000 x 20%) และจะขายคืนหน่วยลงทุนได้ในปี 2567

 

แต่ถ้าหากไม่ทำตามกฎเกณฑ์ ขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบ 7 ปีปฏิทิน จะส่งผลให้ต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีในปี 2561 จำนวน 30,000 บาทแก่กรมสรรพากรพร้อมเบี้ยปรับ และในส่วนของกำไรจากการลงทุนจะถูกนำมาคิดรวมเป็นรายได้ เพื่อยื่นคำนวณภาษีด้วย

ถ้าถามว่า LTF เหมาะกับใคร กองทุนประเภทนี้เหมาะกับพนักงานประจำหรือใครที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี สามารถรับความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นได้ดี ก่อนลงทุนก็ควรดูข้อมูลให้ดีว่า LTF ที่สนใจนั้นมีนโยบายการลงทุนอย่างไร เพราะถึงแม้ว่าทุกกองทุนจะลงทุนในหุ้น แต่กลยุทธ์การลงทุนหรือการเลือกหุ้นอาจต่างกัน เช่น LTF บางกองทุนเป็น Passive Fund ลงทุนในหุ้นกลุ่มดัชนี SET 50 โดยมุ่งหวังให้ได้ผลตอบแทนตามดัชนีเท่านั้น บางกองทุนเน้นลงทุนหุ้นที่มีความมั่นคง จ่ายปันผลดี บางกองทุนเลือกหุ้นขนาดกลาง-เล็กที่มีโอกาสเติบโตก้าวกระโดดเพื่อคาดหวังผลตอบแทนที่สูงกว่าตลาดโดยรวม เป็นต้น

นอกจากนั้น LTF บางกองทุนยังมีนโยบายจ่ายเงินปันผลออกมาเป็นรายปีให้ผู้ลงทุนได้รับเงินสดระหว่างที่ต้องถือเงินลงทุนต่อไป 7 ปีปฏิทินตามเกณฑ์ด้วย

 

ขณะที่ RMF ก็มีกฎเกณฑ์เช่นเดียวกัน จำนวนที่ซื้อได้สูงสุดคือ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และเมื่อรวมกับจำนวนเงินลงทุนในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และประกันชีวิตแบบบำนาญ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท โดยจะต้องซื้อต่อเนื่องกันทุกปี แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นกองทุนเดิม (หากไม่สามารถลงทุนต่อเนื่องได้ สามารถพักการซื้อได้ไม่เกิน 1 ปี)

 

ขั้นต่ำในการซื้อแต่ละครั้งจะคิดเป็น 3% ของรายได้ หรือ 5,000 บาท แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า มากไปกว่านั้นคือต้องถือไว้เกิน 5 ปี และต้องมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์จึงจะสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้โดยไม่ผิดข้อกฎหมายทางภาษี เหมาะกับคนที่ตั้งใจจะเก็บเงินระยะยาวให้เป็นเงินก้อนรองรับการใช้ชีวิตตอนเกษียณ

สาเหตุที่อนุญาตให้ขายคืนหน่วยลงทุนได้เมื่ออายุครบ 55 ปี เพราะเป็นช่วงที่กำลังก้าวเข้าสู่วัยเกษียณ ในอีกมุมหนึ่งคือรายได้ประจำของเราหายไป ขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายยังคงมีอยู่และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามไลฟ์สไตล์และอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งเจ้า RMF นี่แหละที่ผลิดอกออกผลสะสมมาตลอดระยะเวลาในชีวิตการทำงาน เป็นเงินก้อนให้เรานำไปใช้ได้ ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเงินลงทุนแต่ละปี ระยะเวลาที่ลงทุนมา และผลตอบแทนที่ได้จากกองทุนที่เราเลือกลงทุนไว้ ถ้าเราเลือกกองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ โอกาสได้ผลตอบแทนก็จะน้อยด้วย วันเกษียณจึงอาจมีเงินสะสมไว้ไม่พอใช้ การเลือกกองทุน RMF ที่มีนโยบายและความเสี่ยงที่เหมาะสมกับระยะเวลาลงทุนจึงมีความสำคัญ

 

เรื่องที่นักลงทุนมือใหม่ควรศึกษาและทำความเข้าใจ

แน่นอนว่าระบบการออมและการลงทุนส่งผลดีให้กับทุกคน แต่ผู้ลงทุนเองก็ควรศึกษาข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียดก่อนการตัดสินใจลงทุนเพื่อไม่ให้กระทบกับการใช้ชีวิต เพราะทั้งสองกองทุนนี้มีความเสี่ยงจากสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ที่แตกต่างกัน  

 

ด้วยวัฏจักรเศรษฐกิจ (Economic Cycle) ที่มีโอกาสเกิดขึ้นทุกๆ 7-10 ปี ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลเรื่องการเติบโตของ GDP ประเทศ การจ้างงาน อัตราเงินเฟ้อที่มีผลต่อการจับจ่ายใช้สอย หรือเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ปัจจัยพวกนี้ล้วนแล้วแต่มีส่วนทำให้เศรษฐกิจมีทั้งช่วงขาขึ้นและขาลง และอาจจะทำให้การลงทุนไม่ตรงกับสิ่งที่เราวาดฝันไว้

 

แต่ถ้าเข้าใจในธรรมชาติของตลาดและเศรษฐกิจ มีเป้าหมายชัดเจน และทำใจนิ่งๆไปกับมัน ไม่ว่าจะมีข่าวอะไรเข้ามากระทบ ในระยะสั้นเราอาจขาดทุน แต่ถ้าเราถือมันต่อให้ผ่านช่วงขาลงไปได้ ในระยะยาวก็มีโอกาสกลับมากำไร การถือครองกองทุน LTF-RMF ด้วยระยะเวลาอย่างน้อย 5-7 ปีขึ้นไปจึงช่วยลดความเสี่ยงที่จะขาดทุนและเห็นผลตอบแทนที่เป็นรูปเป็นร่างนั่นเอง

 

LTF-RMF ของ บลจ. กรุงศรี

บลจ. กรุงศรี เป็นบริษัทจัดการกองทุนที่มีผลงานการบริหารกองทุนเป็นที่ยอมรับมานาน ทั้งการสร้างผลตอบแทนได้อย่างน่าพอใจ ได้รับรางวัลจากหลายสถาบัน และมี LTF-RMF ให้เลือกลงทุนหลากหลายเพื่อให้ผู้ลงทุนได้เลือกจัดพอร์ตตามความต้องการ

 

กองทุนคู่แฝดที่แนะนำคือ KFLTFSTARD (กองทุนเปิดกรุงศรีหุ้นระยะยาวไทยออลสตาร์ปันผล) และ KFSTARRMF (กองทุนเปิดกรุงศรีไทยออลสตาร์เพื่อการเลี้ยงชีพ) สองกองทุนนี้มีนโยบายการลงทุนแบบเปิดกว้างและยืดหยุ่นโดยคัดสรรหุ้นไทยได้จากทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นหุ้นใหญ่ หุ้นกลาง-เล็ก หุ้นปันผลดี หุ้นแนวโน้มเติบโตสูง โดยผู้จัดการกองทุนจะบริหารแบบเชิงรุก (Active Management) มีการปรับเปลี่ยนหุ้นให้เหมาะสมกับสถานการณ์เพื่อให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีชี้วัด


นโยบายของ KFLTFSTARD และ KFSTARRMF เหมาะสมกับการลงทุนระยะยาว เพราะในแต่ละช่วงเวลาที่ผ่านไปหลายๆ ปี หุ้นแต่ละกลุ่มจะมีแนวโน้มให้ผลตอบแทนมากน้อยต่างกัน เช่น ช่วงที่เงินลงทุนจากต่างชาติไหลเข้ามามักจะเน้นลงทุนหุ้นบริษัทขนาดใหญ่ ราคาก็อาจจะขึ้นและให้กำไรได้ดี ในขณะที่ช่วงเวลาเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว หุ้นขนาดกลาง-เล็กมักจะเติบโตได้ดีกว่า

 

นโยบายที่ไม่จำกัดประเภทหุ้นแบบนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้จัดการกองทุนปรับเปลี่ยนหุ้นให้เข้ากับสถานการณ์ขณะนั้นเพื่อหาโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีได้

 

 

กองทุนนี้จะเหมาะกับใครที่รับความเสี่ยงสูงของการลงทุนในหุ้นได้ ต้องการเน้นผลตอบแทนมากกว่าความมั่นคงของเงินต้น และยังมีระยะเวลาลงทุนอีกหลายปีกว่าจะเกษียณ

 

ก่อนจะเริ่มต้นลงทุน ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  bit.ly/KFLTFSTARD_KFSTARRMF

 

สุดท้ายไม่ว่าจะเลือกลงทุนแบบใดก็ตาม สิ่งสำคัญคือการ ‘ตั้งเป้าหมาย’ ว่าจะเก็บออมลงทุนไปเพื่ออะไรในอนาคต ไม่ควรมองผลประโยชน์ทางภาษีเป็นหลัก แต่ให้คิดว่าเป็นผลพลอยได้ระหว่างทางจากแผนการลงทุนแทน

 

เพราะความสำเร็จจากการลงทุนไม่ใช่การสร้างผลตอบแทนได้สูงที่สุด แต่คือการสร้างผลตอบแทนให้ถึงเป้าหมายที่เราตั้งไว้

 

พิสูจน์อักษร: ภาสิณี เพิ่มพันธุ์พงศ์

FYI

นโยบายกองทุน KFLTFSTARD และ KFSTARRMF

  • ลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนใน SET และ/หรือ MAI และ/หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และ/หรือหุ้นที่อยู่ระหว่าง IPO เฉลี่ยรอบปีบัญชี ≥ 65% ของ NAV สำหรับ KFLTFSTARD และ ≥ 80% ของ NAV สำหรับ KFSTARRMF
  • ระดับความเสี่ยง 6 : เสี่ยงสูง
  • KFLTFSTARD มีนโยบายจ่ายเงินปันผล
  • ควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน
  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X
Close Advertising