×

‘เนื้อสัตว์ปลูก’ อาจจะวางขายในปี 2018!

04.07.2017
  • LOADING...

HIGHLIGHTS

2 Mins. Read
  • Hampton Creek บริษัทสตาร์ทอัพในซิลิคอนวัลเลย์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการวิจัย ‘เนื้อสัตว์ปลูก’ (lab-grown meat หรือ in vitro meat) ว่ามีแผนการที่จะวางเนื้อสัตว์ปลูกออกสู่ตลาดในปี 2018
  • กล่าวกันว่าในอนาคตเนื้อสัตว์ปลูกจะสามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องภาวะขาดแคลนอาหาร และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้

     รายงานจากสำนักงานกิจการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN Department of Economic and Social Affairs) ประมาณการว่าประชากรโลกมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงถึง 8,500 ล้านคนภายในปี ค.ศ. 2030 และจะพุ่งขึ้นถึง 9,700 ล้านคนภายในปี ค.ศ. 2050 ความกังวลต่อประชากรโลกที่กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้นอาจนำไปสู่ภาวะขาดแคลนอาหาร จึงเกิดความพยายามที่จะเพาะเลี้ยงเนื้อสัตว์ในห้องทดลองมาได้สักระยะแล้ว

 

Photo: Sandro Pavlov/AFP

 

     แฮมป์ตันครีก (Hampton Creek) บริษัทสตาร์ทอัพในซิลิคอนวัลเลย์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการวิจัย ‘เนื้อสัตว์ปลูก’ (lab-grown meat หรือ in vitro meat) โปรเจกต์ในการพัฒนาโปรตีนทางเลือกที่เพิ่งเปิดเผยเมื่อไม่นานมานี้ว่า มีแผนการจะวางจำหน่ายเนื้อสัตว์ปลูกออกสู่ตลาดในปี ค.ศ. 2018 นี้ สร้างความประหลาดใจต่อวงการอุตสาหกรรมอาหารเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการตัดหน้าบริษัทคู่แข่งอย่าง Memphis Meats ที่ได้ออกมาประกาศก่อนหน้านี้ว่ามีโครงการจะวางขายเนื้อสัตว์ปลูกในปี ค.ศ. 2021

     ทั้งนี้ จอช เททริก (Josh Tetrick) ซีอีโอแห่งแฮมป์ตันครีก กล่าวถึงโครงการที่ทางบริษัทได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างลับๆ นี้ว่า เนื้อดังกล่าวมีลักษณะคล้ายกับเนื้อไก่หรือเนื้อสัตว์ปีก และเพื่อให้สมบูรณ์แบบที่สุดทั้งรสชาติและรสสัมผัส ทางบริษัทจึงได้ฟอร์มทีมงานร่วมกันระหว่างเชฟระดับมิชลินสตาร์ นักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของอาหาร และหวังว่าผู้บริโภคจะได้รับความพึงพอใจในรสชาติของเนื้อสัตว์ปลูกดังกล่าวเมื่อวางจำหน่ายแล้ว  

     อีกเรื่องหนึ่งที่น่ากล่าวถึงคือ เรื่องของราคา ที่ถึงแม้ผู้ผลิตเนื้อสัตว์สังเคราะห์หลายแห่งจะสามารถลดราคาต้นทุนในการผลิตขึ้นได้มากกว่าในสมัยแรกๆ ที่เพิ่งเริ่มต้นทำการวิจัย แต่ถ้าหากยังมีราคาสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์จริงที่มีอยู่ในท้องตลาดแล้ว ก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ข้อดีของเนื้อสัตว์ปลูกคือ ความปลอดภัยจากยาปฏิชีวนะ (antibiotic) หรืออาการป่วยซึ่งเกิดจากอาหารเป็นพิษ​

 

Cover Photo: MaraZe/AFP 

อ้างอิง:

FYI

จากรายงานของสถาบันทรัพยากรแห่งโลก (World Resources Institute) ระบุว่าอุตสาหกรรมผลิตเนื้อสัตว์เป็นต้นเหตุของการผลิตก๊าซเรือนกระจกมากถึง 13.5 เปอร์เซ็นต์ ประโยชน์ที่เป็นไปได้อีกอย่างของเนื้อสัตว์ปลูกจึงเป็นการช่วยลดภาวะโลกร้อนอีกทางหนึ่ง

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising
X