×

วิธีรับมือ Sunday Scaries อาการเศร้าหลังหยุดยาว หรือโรคกลัววันจันทร์

16.04.2025
  • LOADING...
sunday-scaries-coping-tips

สงกรานต์ผ่านไปหมาดๆ หลายคนเพิ่งหยิบกระเป๋าเปียกน้ำวางลงบนพื้น แต่ใจดันหนักกว่าเดิมเฉยเลย ใช่แล้ว! ถึงเวลากลับเข้าสู่โลกแห่งความจริงอีกครั้ง ถ้ากำลังนั่งถอนหายใจบนเตียงหลังจากเที่ยวเล่นมาตลอดวันหยุดยาว พร้อมกับความคิดว่า “พรุ่งนี้ต้องตื่นไปทำงานแล้วหรือนี่?” “จะต้องกลับไปเรียนอีกแล้วเหรอ…” อาการนี้เขามีชื่อเรียกแล้วนะ มันคืออาการ Sunday Scaries หรือ ‘โรคกลัววันจันทร์’ ในเวอร์ชันวัยทำงานและนักเรียนทั้งหลาย 

 

ไม่ใช่เพราะเราขี้เกียจหรอกนะ แต่เป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่เจอกันเป็นปกติ ดังนั้น LIFE เลยขอแนะนำวิธีรับมือความรู้สึก ‘เศร้าหลังหยุดยาว’ ที่จะช่วยให้เราเปลี่ยนโลกแห่งความจริงอันหม่นหมองให้กลับมาสดใสก่อนเริ่มสัปดาห์ใหม่ได้อีกครั้ง

 

ดร.ซูแซน คูเปอร์แมน (Dr.Susanne Cooperman) นักประสาทจิตวิทยาและจิตวิเคราะห์จาก NYU Langone Health อธิบายว่า Sunday Scaries มักจะเกิดช่วงเย็นวันอาทิตย์ โดยเฉพาะหลัง ‘วันหยุดพิเศษ’ หรือ ‘เทศกาลยาวๆ’ (เทศกาลสงกรานต์ของประเทศเราก็เข้าข่ายนี้นะ) เพราะเราเพิ่งได้ใช้ชีวิตในจังหวะที่ช้าลง สนุกขึ้น และรู้สึกเป็นตัวเองมากขึ้น พอคิดว่าต้องกลับไปเจองาน ภาระ หรือสิ่งที่เราไม่อิน มันเลยทำให้ใจเหี่ยวแบบไม่รู้ตัว

 

บางคนอาจรู้สึกเศร้า เหนื่อย เบื่อ ไม่อยากทำอะไร บางคนอาจวาร์ปไปคิดถึงรายงานที่ยังไม่ทำ หรืออีเมลที่ยังไม่ได้ตอบ หรือบางทีเราก็แค่คิดเยอะไปเองว่า “มันต้องแย่แน่ๆ” ทั้งที่มันยังไม่เกิดขึ้นเลยด้วยซ้ำ

 

ความรู้สึกไม่อยากกลับเข้าสู่โหมดทำงานหลังจากได้พักผ่อนอย่างเต็มที่เป็นเรื่องธรรมชาติ แต่เราสามารถจัดการกับความรู้สึกเหล่านี้ได้ด้วยการกลับมาอยู่กับปัจจุบัน ให้เวลาตัวเองได้ปรับตัว และค่อยๆ เตรียมความพร้อมสำหรับสัปดาห์ใหม่ที่กำลังจะมาถึง โดยไม่ลืมที่จะใส่ใจตัวเองอย่างอ่อนโยนไปพร้อมกัน

 


 

1. อยู่กับตอนนี้ ไม่ต้องคิดข้ามวัน (Be Present)

 

1. อยู่กับตอนนี้ ไม่ต้องคิดข้ามวัน (Be Present)

 

หยุดความคิดฟุ้งซ่านซะ แล้วกลับมาอยู่กับกิจกรรมตรงหน้า เช่น บรรยากาศดีๆ ตอนนี้ ลมเย็นๆ กับข้าวอร่อยๆ หรือนั่งดูพระอาทิตย์ตกดินเงียบๆ

 


 

2. หายใจเข้าออกลึกๆ (Mindful Breathing)

 

2. หายใจเข้าออกลึกๆ (Mindful Breathing)

 

ใช้เวลา 10 นาทีกับการหายใจหรือใช้แอปทำสมาธิ เสียงธรรมชาติหรือคลื่นทะเลก็ช่วยให้ใจเรานิ่งขึ้นได้ การอยู่กับปัจจุบันเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะช่วยตัดวงจรความคิดที่มักจะ ‘คิดไปข้างหน้าแล้วเครียดไว้ก่อน’

 


 

3. ปิดมือถือสักพัก (Digital Detox)

 

4. ทำอะไรที่ชาร์จใจ (Soul Recharging)

 

การเห็นคนอื่นโพสต์ความสำเร็จหรือรูปเที่ยวต่อหลังสงกรานต์อาจทำให้เรารู้สึกแย่ขึ้นแบบไม่รู้ตัว ลองปิดมือถือสักชั่วโมงก็ยังดี

 


 

4. ทำอะไรที่ชาร์จใจ (Soul Recharging)

 

5. แบ่งงานบ้านออกเป็นชิ้นๆ (Small Chores)

 

ดูหนังฟีลกู๊ด จัดห้องใหม่ วาดรูป เขียนไดอารี หรือทำอะไรก็ตามที่เติมพลังใจให้ตัวเอง

 


 

5. แบ่งงานบ้านออกเป็นชิ้นๆ (Small Chores)

 

5. แบ่งงานบ้านออกเป็นชิ้นๆ (Small Chores)

 

ไม่ต้องจัดหนักวันเดียว อย่าทำให้วันอาทิตย์กลายเป็น ‘วันงานซักล้าง’ จนหมดความสุข

 


 

6. วางแพลนสนุกๆ ไว้กลางสัปดาห์ (Midweek Treats)

 

6. วางแพลนสนุกๆ ไว้กลางสัปดาห์ (Midweek Treats)

 

แค่รู้ว่า ‘พุธนี้มีนัดกินของอร่อยกับเพื่อน’ ก็ทำให้สมองเรารู้สึกว่าชีวิตยังมีเรื่องให้ตั้งตารออีกเยอะเลย

 


 

7. รู้จักสังเกตสัญญาณอันตราย (Warning Signs)

 

7. รู้จักสังเกตสัญญาณอันตราย (Warning Signs)

 

ถ้ารู้สึกว่าแค่คิดถึงงานก็ใจเต้นรัว หรือต้องพึ่งแอลกอฮอล์ทุกคืนก่อนนอน นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าควรคุยกับนักจิตวิทยาหรือคนที่ไว้ใจได้แล้ว

 


 

8. ขอความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น (Seek Help)

 

8. ขอความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น (Seek Help)

 

คูเปอร์แมนเตือนว่า ถ้าความเครียดเริ่มไปรบกวนการนอน การใช้ชีวิต หรือทำให้เรารู้สึก ‘หมดสนุกกับวันหยุด’ แบบสิ้นเชิง มันคือช่วงที่ควรมองหาความช่วยเหลืออย่างจริงจัง

 


 

9. ยอมรับจังหวะขึ้นลงของชีวิต (Embrace Life’s Rhythms)

 

9. ยอมรับจังหวะขึ้นลงของชีวิต (Embrace Life’s Rhythms)

 

ทุกคนล้วนมีช่วงเวลาที่พลังงานและความรู้สึกลดลงเป็นเรื่องปกติ ลองให้เวลาตัวเองได้พักฟื้นและไม่กดดันตัวเองมากเกินไป

 


 

10. นำสงบสุขกลับมาในทุกวัน (Daily Peace)

 

10. นำสงบสุขกลับมาในทุกวัน (Daily Peace)

 

สงกรานต์อาจจบแล้ว แต่เรายังชวนตัวเองกลับมา ‘สงบสุข’ ได้ทุกวัน

 

อ้างอิง:

 

ภาพประกอบ: กันยกร กาญจนวิไล

 

  • LOADING...

READ MORE




Latest Stories

Close Advertising