เชื่อว่าใครหลายคนคงเคยได้ยินว่า “การกิน เนื้อแดง ไม่ดี การกินเนื้อแปรรูปบ่อยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง” ซึ่งเราก็เชื่ออีกเช่นกันว่า ใครที่เป็นเนื้อเลิฟเวอร์ตัวจริงคงไม่สามารถล้มเลิกการกินไปได้ง่ายๆ แต่จะกินอย่างไรให้ปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้ในระยะยาวนั้น ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับประเภทของโปรตีนและความเสี่ยงของแต่ละประเภทกันก่อน
องค์กรวิจัยมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer หรือ IARC) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลของอาหาร ประเภทของสารเคมี และวิถีชีวิตต่อการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง เพื่อหาวิธีป้องกันและลดการรับสารก่อมะเร็งเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งข้อมูลงานวิจัยประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ 22 คน จาก 10 ประเทศ ค้นพบว่า เนื้อสัตว์แปรรูปและเนื้อแดง ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม วายร้ายทางสุขภาพ ที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้
หากอิงตามผลวิจัยและเกณฑ์จาก IARC การจัดกลุ่มสารก่อมะเร็งจะถูกแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
- กลุ่ม 1: เป็นสารก่อมะเร็ง
- กลุ่ม 2A: อาจเป็นสารก่อมะเร็ง
- กลุ่ม 2B: มีโอกาสเป็นสารก่อมะเร็ง
- กลุ่ม 3: ไม่ถือว่าเป็นสารก่อมะเร็ง
- กลุ่ม 4: อาจไม่ใช่สารก่อมะเร็ง
ซึ่งเนื้อสัตว์แปรรูปถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 ในขณะที่เนื้อแดงถูกจัดอยู่ในกลุ่ม 2A
เนื้อสัตว์แปรรูป (Processed Meat)
การกินเนื้อสัตว์แปรรูป 50 กรัมต่อวัน เทียบเท่าไส้กรอก 2 ชิ้น หรือเบคอน 2 ชิ้น หรือแฮม 2 ชิ้น สามารถ
- เพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก 18%
- เพิ่มโอกาสโรคเบาหวาน 51%
สารอันตรายหลักในเนื้อกลุ่มนี้คือ สารกันเสียโซเดียมไนเตรทและโพแทสเซียมไนเตรทที่เป็นสารก่อมะเร็ง และยังเพิ่มโอกาสการเกิดโรคหัวใจอีกด้วย ตัวอย่างของเนื้อแปรรูป ได้แก่ เบคอน ไส้กรอก เนื้อเค็ม เนื้อหวาน แฮม ซาลามี พาร์มาแฮม โคลด์คัต คอร์นบีฟ และเนื้อสัตว์กระป๋องชนิดอื่นๆ
เนื้อแดง (Red Meat)
การกินเนื้อแดง 100 กรัมต่อวัน เทียบเท่า 6 ช้อนโต๊ะ หรือขนาดเท่าฝ่ามือ สามารถ
- เพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก 17%
- เพิ่มโอกาสโรคเบาหวาน 19%
เนื้อสัตว์ที่จัดอยู่ในกลุ่มเนื้อแดงนั้น ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ เนื้อม้า และเนื้อแพะ แม้ผลวิจัยจะมีหลักฐานจำกัดว่าการกินเนื้อสัตว์เหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งหรือไม่ แต่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสามารถ เพิ่ม ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้
ความสมดุลคือทางออก
สุดท้ายแล้วอะไรที่มากไปก็ไม่ดี อะไรที่เคร่งหรือตึงเกินไปก็ทำให้เครียด ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพจิตอีก หากอ้างอิงตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกแล้ว เราควรที่จะกินเนื้อสัตว์ให้หลากหลายในปริมาณที่เหมาะสม และเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป โดยพยายามเลือกกินเป็นโปรตีนเนื้อขาว เช่น ไก่หรือปลา ซึ่งมีกรดอะมิโนสูงและยังมีไขมันต่ำ
หรือจะเลือกเป็นการกินโปรตีนจากธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วเปลือกอ่อน เช่น ถั่วแดง ถั่วเขียว หรือถั่วดำ ก็ได้เช่นกัน ซึ่งถ้าใครที่ออกกำลังกายและต้องการความสะดวก ปัจจุบันก็มีโปรตีนจากพืชที่ช่วยเพิ่มความสะดวกและยังลดปัญหาอาการท้องอืดสำหรับคนที่แพ้นมวัวได้อีกด้วย
PlantoMonster Caramel Macchiato Flavour โปรตีน 27 กรัมต่อซอง (930 บาทต่อ 7 ซอง)
โปรตีนจากถั่วลันเตาที่อุดมไปด้วยกรดอะมิโนต่างๆ ที่ช่วยกระตุ้นการสร้างมวลกล้ามเนื้อ เพิ่มระดับการเผาผลาญพลังงาน ใยอาหารสูง ทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น และโปรตีนจากข้าวที่ช่วยให้ย่อยง่าย ทั้งยังมี L-Carnitine ที่ดึงเอาไขมันไปใช้เป็นพลังงานและเสริมประสิทธิภาพในการสร้างกล้ามเนื้อ
ปริมาณโปรตีนที่แนะนำต่อวัน
สำหรับปริมาณโปรตีนที่แนะนำต่อวันนั้น ใครที่มีชีวิตเนือยนิ่ง ใช้ชีวิตติดโต๊ะนานๆ และมีความกระฉับกระเฉงปานกลาง ควรได้รับโปรตีน 0.8-1 กรัมต่อน้ำหนักตัว ส่วนสายฟิตหรือสายกีฬาจริงจังควรได้รับโปรตีน 1.6-2.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว
ภาพ: Shutterstock, Courtesy of Planto Monster
อ้างอิง: