×

เฟื่องลดา สรานี คุณแม่สายเทคจะเลี้ยงลูกอย่างไรในวันที่อนาคตคาดเดาไม่ได้

23.04.2024
  • LOADING...

แม้ AI จะทำให้โลกหมุนไว อนาคตดูไม่แน่นอน แต่ เฟื่องลดา-สรานี สงวนเรือง อินฟลูเอ็นเซอร์ผู้คร่ำหวอดในวงการเทคโนโลยี ผู้สวมหมวกแม่อีกใบ ก็เชื่อมั่นว่า การเตรียมความพร้อมที่ดีแก่ลูกตั้งแต่แรกสำหรับเธอ ไม่ใช่การให้ลูกเรียนพิเศษเสริมแต่อย่างใด แต่เป็นการ​เตรียมสภาพจิตใจ ฝึกคิดแบบบูรณาการ และความเข้าใจในอารมณ์และความรู้สึกของผู้อื่น

 

 

เฟื่องยังเชื่อเสมอว่า ‘มนุษย์แม่’ ไม่จำเป็นจะต้องละทิ้งความฝันของตัวเองเพื่อทุ่มเทให้กับลูกเต็มร้อย การเหลือพื้นที่ให้ตัวเองได้ทำในสิ่งที่รัก ได้เติบโตในบทบาทแม่ไปพร้อมกับลูกในทุกๆ วันนี่แหละคือวิธีที่เฮลตี้ที่สุด 

 

 

จากนางฟ้าไอทีที่ชีวิตไม่เคยหยุดนิ่ง วันนี้เฟื่องลดาได้สวมหมวกใบใหม่ในฐานะแม่ที่ยังคงไม่ละทิ้งความฝันและงานที่ตัวเองรัก เพียงแต่มีหัวใจดวงน้อยที่ค่อยๆ เปลี่ยนเธอให้เป็นเฟื่องลดาในเวอร์ชันที่ดีขึ้นทุกวัน

 

 

S-Mom club เชื่อว่า แม้อนาคตจะคาดเดาไม่ได้ แต่เราทุกคนเลือกที่จะเป็นแม่ในแบบของตัวเองได้ และพร้อมเผชิญกับทุกความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วที่จะเกิดขึ้นกับลูก ด้วยการเตรียมพร้อมสมองที่ดีให้กับเขาตั้งแต่วันนี้ทั้งในด้านทักษะและโภชนาการต่างๆ

 

 

มาดูกันว่าเฟื่องลดาจะมีวิธีการบาลานซ์ชีวิตในฐานะคุณแม่ยุคใหม่ได้อย่างไรใน Passion Calling x S-Mom club with Faunglada-Saranee Sanguanruang

 

ปัจจุบันเฟื่องทำอะไรอยู่บ้าง

 

เฟื่องลดา: หลักๆ เลยก็เป็นอาชีพแม่ค่ะ แล้วก็เป็น Content Creator และยังรันบริษัทของตัวเองอยู่ด้วยค่ะ

 

ถ้าเปรียบเทียบการทำงานของเรา เหมือนเราก็ทำงานแต่เด็ก ทำมาหลายๆ อย่าง เฟื่องคิดว่าในการทำงานอาจจะอยู่ระดับปริญญาตรี-ปริญญาโทแล้ว แต่ระดับแม่ตอนนี้ให้คะแนนตัวเองเป็นระดับประถมค่ะ (หัวเราะ)

 

 

มองย้อนกลับไปในวัยเด็ก เฟื่องเคยมีความฝันอยากเป็นแม่บ้างไหม

 

เฟื่องลดา: ตั้งแต่เด็กเป็นคนชอบเด็ก รู้สึกว่าเด็กช่างสดใสเหลือเกิน น่ารัก แต่ว่าเฟื่องว่าก็คล้ายๆ กับผู้หญิงหลายๆ คนที่อาจจะกลัวเหมือนกันว่า แล้วจังหวะนี่คือลูกของฉันจริงๆ จะดูแลไหวหรือเปล่า เราจะทำเพียงพอไหม แม่ที่ดีที่สุดคืออะไร ก็มีอยู่เหมือนกันในตอนที่ตัดสินใจว่าจะก้าวสู่ความเป็นแม่หรือไม่เป็น

 

ตอนนั้นมีนิยามไหมว่าคำว่า ‘แม่’ สำหรับเฟื่องเป็นอย่างไร

 

เฟื่องลดา: เฟื่องคิดว่าแม่มีหลากหลายรูปแบบมากๆ แล้วแม่แต่ละคนก็มีความแตกต่างหลากหลายกันไป แต่เฟื่องรู้สึกว่าแม่ที่ดีที่สุดสำหรับเฟื่องคือ แม่ที่อยู่ตรงนั้นเพื่อลูก อนุญาตให้ลูกเป็นอะไรก็ได้ แล้วก็เติบโตไปกับเขาโดยที่ไม่ได้บังคับกะเกณฑ์อะไร

 

 

จนวันนี้ก็ได้ก้าวมาเป็นแม่สมใจแล้ว แล้ววันแรกที่รู้ว่ากำลังจะมีน้องมีวิธีรับมืออย่างไร

 

เฟื่องลดา: วันแรกคือ โอเค มาจริงๆ แล้ว เราได้ยินเสียงหัวใจน้องเต้นตอนที่อัลตราซาวด์แล้วน้ำตาไหล รู้สึกว่ามันคือ New Chapter ของเรา เฟื่องรู้สึกว่าจริงๆ แล้วเรื่องของการเลี้ยงดูมนุษย์มันก็เป็นเรื่องที่มีความน่ากลัวอยู่เหมือนกัน ระหว่างทางมันไม่ใช่ว่าฉันมั่นใจร้อยเปอร์เซ็นต์ ทุกวันนี้ก็ยังลองผิดลองถูก ยังหาวิธีเรียนรู้ไปเรื่อยๆ อยู่ เฟื่องก็รู้สึกว่ามันเป็นโมเมนต์ที่เราเริ่มรู้แล้วว่านี่คือชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นมาจากเรา

 

 

จริงๆ เฟื่องก็ค่อนข้างเติบโตมาแบบ Soloist ไม่ได้อยู่กับหลานๆ หรือญาติเยอะๆ เราเลยอาจจะไม่ได้รู้เป็นอย่างดีว่าเลี้ยงเด็กอย่างไร ดูแลเด็กอย่างไร แต่เฟื่องรู้สึกว่าไม่มีอะไรยากเกินความพยายามของเราที่จะศึกษาหาความรู้ 

 

ตอนนั้นพอเริ่มท้องก็เริ่มไปศึกษาขอคำแนะนำจากรุ่นพี่ หาคลิปในยูทูบดู ซื้อหนังสือที่แนะนำโดยพ่อแม่ อะไรแบบนี้ค่ะ 

 

แล้วไลฟ์สไตล์ของเฟื่องที่ต้องคลุกคลีกับความไวในแวดวงไอทีตลอดเวลาเปลี่ยนไปบ้างไหม

 

เฟื่องลดา: มีลูกทำให้เฟื่องช้าลงมาก เหมือนเมื่อก่อนเฟื่องอาจจะสปีดสักคูณห้า เป็นคนเร็วมากๆ เร็วไปบางครั้ง เฟื่องรู้สึกว่าการที่มีเด็กเกิดมาทำให้เฟื่องรู้สึกว่า Pace ที่เราใช้ ณ ปกติมันใช้กับเขาไม่ได้ มันทำให้เราช้าลง เรียนรู้ที่จะใจเย็นขึ้น โฟกัสแบ่งเวลาได้มากขึ้น 

 

 

ชอบตัวเองในเวอร์ชันนี้ไหม

 

เฟื่องลดา: ชอบนะ คือเฟื่องรู้สึกว่ามันอาจจะเป็นเวอร์ชันที่เราไม่ได้คุ้นเคยกับที่เราโตมาสัก 30 ปีก่อนจะมีน้อง แต่ก็ชอบพูดเสมอว่า การมีลูกทำให้เฟื่องรู้สึกว่าเฟื่องเป็นมนุษย์มากขึ้น มนุษย์ที่เข้ากับจังหวะปกติของชีวิตได้ดีขึ้น แล้วก็รู้สึกว่าการที่มีเด็กอยู่ใกล้ตัวเราและเป็นลูกของเรา มันเป็นการสะท้อนให้เราเห็นหัวใจของมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้นค่ะ ไม่ว่าจะเป็นหัวใจของเราเองหรือว่าหัวใจของคนอื่นๆ เขาทำให้เข้าใจตัวเองแล้วก็เข้าใจคนอื่นได้มากขึ้นด้วย

 

 

มีเหตุการณ์ไหนไหมที่รู้สึกว่าใจฟูที่สุดตั้งแต่มีเขามา

 

เฟื่องลดา: จริงๆ ต้องบอกว่าใจฟูทุกวัน มีแล้วแต่ความน่ารัก ความเตาะแตะของแต่ละวัยเนอะ แต่ว่าถ้าเอาช่วงเร็วๆ นี้คือ มีวันหนึ่งเป็นช่วงที่เฟื่องเหนื่อย เหนื่อยมาก ก็ไปรับเขากลับมาจากโรงเรียน แล้วเฟื่องขอเวลาพัก ขออยู่คนเดียว แต่เขาก็ไม่ยอม คือเฟื่องเหนื่อยจริงๆ ก็ร้องไห้ใส่ลูกเลย “แม่แม่เหนื่อย” แล้วสิ่งที่เขาทำก็คือ เขาก็วิ่งไปหยิบทิชชูแล้วก็มายื่นให้ แล้วก็พยายามเอ็นเตอร์เทน ทำมินิฮาร์ต เราก็รู้สึกว่าตลก ก็ทำให้เรารู้สึกดี เหมือนเขาก็รู้จักวิธีที่จะดูแลเวลาที่อีกฝ่ายหนึ่งที่เป็นมนุษย์เหมือนกันมีอารมณ์ความรู้สึกเศร้า ก็รู้สึกว่าดีเนอะสิ่งมีชีวิตที่มหัศจรรย์

 

 

บางคนเขาอาจจะเลือกไม่ร้องไห้ให้ลูกเห็น แต่ทำไมเฟื่องถึงเลือกเผยให้ลูกเห็นด้านที่อ่อนแอของตัวเอง

 

เฟื่องลดา: เฟื่องคิดว่าเฟื่องอยากเตรียมลูกเอาไว้ ให้ลูกรู้ว่ามนุษย์ทุกคนคือมนุษย์ พ่อแม่ไม่ใช่พระเจ้า พ่อแม่เป็นคนคนหนึ่งเช่นเดียวกัน เป็นคนที่มีอารมณ์ความรู้สึก อ่อนแอได้ โกรธได้ เสียใจได้ มีความสุขได้ ไม่ได้ต้องบอกว่าพ่อแม่ถูกทุกอย่าง พ่อแม่เป็นซูเปอร์วูแมน อะไรอย่างนี้ 

 

 

เฟื่องรู้สึกว่า ในยุคเราๆ เราอาจจะโตมากับพ่อแม่ที่ทำแบบนั้นกับเราไม่ได้ แล้วเฟื่องรู้สึกว่าไม่เห็นดีกับใครเลย บางทีพ่อแม่อาจจะเศร้าอยู่ แต่ว่าไปทำขึงขังใส่ลูกเพราะว่าต้องการกลบความอ่อนแอ เฟื่องรู้สึกว่ามันเป็นการทำให้ หนึ่ง เด็กไม่เก็ตว่าพ่อแม่เป็นอะไร สอง ไม่ได้ Develop Bond ให้มันลึกซึ้งกันระหว่างคนสองคนที่จะเข้าใจกันลึกซึ้งมากขึ้น และสาม พอเขาเห็นตัวอย่างว่าพ่อแม่ร้องไห้ไม่ได้ เราร้องไห้ไม่ได้ การอ่อนแอเท่ากับผิด ซึ่งเฟื่องก็รู้สึกว่าไม่ได้ เราต้องรู้ว่าอ่อนแอไม่เป็นไร อ่อนแอคือจุดเริ่มต้นของความเข้มแข็ง นี่คือความคิดของเฟื่องค่ะ

 

เฟื่องคิดว่าอุปสรรคอะไรที่ยิ่งใหญ่สำหรับเราที่สุดในการเลี้ยงลูก

 

เฟื่องลดา: เฟื่องรู้สึกว่ามันคือคำว่า ‘บาลานซ์’ เพราะว่าระหว่างทางในแต่ละช่วงวัย ถ้าใครมีลูกเราอาจจะพอรู้ดีว่ามันไม่เหมือนกันเลย จริงๆ 3-4 เดือนก็เปลี่ยนอีกแล้ว เหมือนเรากำลังจะเซ็ตให้มันเข้าที่เข้าทาง ให้ทุกอย่างมันอยู่ตามกรอบของมัน แต่มันไม่สามารถทำได้ 

 

 

เฟื่องเคยพยายามแล้วก็ Suffer อยู่มาก เพราะว่าเฟื่องรู้สึกว่า โอเค ในการเป็นแม่ของเรา สำคัญที่สุดเราอยากให้เด็กคนนี้เติบโตมาเป็นเด็กที่รู้สึกไม่ขาด มีความอบอุ่น มีโมเมนต์ที่อยู่กับแม่ของเขาแล้วก็มีโอกาสที่เราได้สังเกตเขาด้วย เผื่อมีอะไรบางอย่างที่เขาทำแล้วมันแปลกๆ ไม่ค่อยถูกที่ถูกทาง เราก็จะได้มีโอกาสสอน

 

 

แต่เฟื่องก็ไม่อยากทิ้งความฝันของตัวเองเช่นเดียวกัน เฟื่องรู้สึกว่านี่คือความเชื่อของเฟื่องตั้งแต่วันที่เฟื่องคุยกับสามีว่า โอเค เราจะมีลูกกัน แล้วขอว่า เราจะต้องยังไม่ทิ้งตัวตนของเรานะ เราขอไม่ทิ้งความฝันของเรานะ เพราะเรารู้สึกและเชื่อว่า ผู้หญิงไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นแม่และเมียอย่างเดียว แต่ผู้หญิงควรมีสิทธิ์ที่จะทำในสิ่งที่เป็นตัวของตัวเองได้ด้วย  

 

แล้วคาแรกเตอร์แม่เวอร์ชันไหนที่เฟื่องอยากเป็น

 

เฟื่องลดา: เฟื่องนับว่าเป็นแม่ที่มีลูกตอนอายุยังไม่เยอะมากนะคะ แล้วก็เป็นหนึ่งในความตั้งใจของเฟื่องด้วยว่า “เฟื่องอยากเป็นแม่ที่สวย แซ่บ และเก๋าเกมเพียงพอที่จะรู้จักโลกใบนี้ แล้วเป็นเพื่อนสาวไปกับเขาได้จนเขาโต ไม่ว่าในช่วงวัยไหน ตอนอนุบาล ถ้ามีปัญหากับเพื่อนก็เล่าให้เราฟัง พอไปถึงวัยรุ่น เริ่มมีเรื่องความรัก เรื่องอะไรต่างๆ ของโลกที่มันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ก็อยากให้เขาไว้ใจเรา อยากให้เรายังสามารถเรียนรู้และเติบโตไปกับโลกใบนี้ได้อย่างเพียงพอ 

 

 

มายด์เซ็ตเปิดกว้างพอที่จะเป็นคนนั้นที่จะเคียงข้างลูก ไม่ตัดสิน แต่เป็นกระบะทรายนุ่มๆ ให้เขาสามารถล้มได้ ล้มแล้วรู้สึกว่าก็เจ็บนิดหน่อย สากๆ แต่ว่าไม่ได้ล้มคนเดียว ล้มแล้วก็ช่วยกันลุกไปได้เรื่อยๆ อยากโตไปพร้อมลูกค่ะ

 

ด้วยความที่ยุคนี้เป็นยุค AI ทุกอย่างล้ำ โลกหมุนไว สิ่งต่างๆ ที่คาดเดาไม่ได้ เหล่านี้มีส่วนที่ทำให้เฟื่องรู้สึกกังวลกับอนาคตของลูกบ้างไหม

 

เฟื่องลดา: เฟื่องมาจากจุดที่เฟื่องรู้สึกว่าเทคโนโลยีมันช่วยชีวิตคน จนตอนนี้เฟื่องเริ่มรู้สึกว่าเราก็เริ่มเบรกๆ แล้วเหมือนกันว่าเทคโนโลยีที่เราเคยอินมันช่วยชีวิตคนมาเสมอบางทีข้อเสียของมันเริ่มเยอะขึ้น

 

 

ถามว่ากังวลไหม ก็คิดว่ากังวล แต่เป็นความกังวลในเลเวลที่ปกติ เพราะว่าเฟื่องค่อนข้างเชื่อมั่นว่า แม้เทคโนโลยีจะหมุนไปแค่ไหนก็ตาม แต่มนุษย์ยังคงมีความเป็นมนุษย์อยู่เสมอ 

 

แล้วสิ่งสำคัญที่เฟื่องคุยกับแฟนหรือว่าหลักการที่เราใช้ในการเลี้ยงลูกเลย เรารู้สึกว่าสิ่งที่เด็กคนหนึ่งต้องพัฒนาแล้วมีมากๆ มันคือตัวตนข้างในของเขาที่มันเป็นความเชื่อมั่นในตนเอง Resilience ต่างๆ ที่เจอปัญหาแล้วรู้สึกว่ารับมือกับมันได้อย่างถูกต้อง มากกว่าการที่จะไปนั่งใส่สกิลต่างๆ เช่น เรียนพิเศษเยอะๆ  

 

 

แล้ว ณ วันนี้ เฟื่องมีวิธีเตรียมความพร้อมให้ลูกอย่างไรบ้าง

 

เฟื่องลดา: ถ้าจะเตรียมการเด็กตั้งแต่วันนี้ เฟื่องว่ามี 3 อย่าง อย่างแรกก็คือ เรื่องสภาพจิตใจ ที่เขาต้องรู้สึกว่าตัวเองเป็นใครบนโลกใบนี้ เขารู้จักความต้องการของตัวเองเพียงพอ เพื่อทำให้สุดท้ายแล้วเวลามีหลายๆ เรื่องเข้ามา มีทางเลือกเยอะแยะ แล้วเราไม่จำเป็นที่จะต้องไปตามทุกๆ เรื่อง 

 

สองคือ การคิดแบบบูรณาการ ก็เป็นการช่างถาม ช่างสังเกต ตั้งคำถาม เขาจะสังเกตว่า จริงๆ แล้ว AI ถ้าจะใช้มันดีๆ เราต้องรู้จักการป้อนชุดคำถามที่ถูกต้อง ต้องรู้จักการหยิบในแต่ละเรื่องที่เราสนใจแล้วค่อยไปถามเขา มันคือคำว่า ‘Prompt’ Prompt อย่างไรให้ได้คำตอบที่ดี ก็คือต้องเริ่มจากการเห็นภาพกว้าง แล้วรู้จักกระบวนการคิดที่ตั้งคำถามที่ดี อันนี้สำคัญมากๆ

 

 

แล้วอันที่สามก็คือ การสัมผัสและรู้จัก Emotion ในหลากหลายรูปแบบ เพราะว่าสุดท้ายแล้วมนุษย์อย่างไรก็เป็นมนุษย์ มี Emotion ที่หลากหลายมากจริงๆ แล้วถ้ามนุษย์ยังต้องทำงานกับมนุษย์ด้วยกัน เฟื่องว่า Core หลักที่จะซื้อใจความเป็น Marketing ความเป็น HR อะไรก็แล้วแต่ เฟื่องคิดว่ามันคือเซนส์ตรงนี้ของมนุษย์ ที่เราจำเป็นจะต้องเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกคนเองและผู้อื่น แล้วต่อยอดไปให้ได้ค่ะ

 

พูดถึงเรื่องอาหารการกินบ้าง ทุกวันนี้เฟื่องมีวิธีเตรียมอาหารอย่างไรเพื่อให้ลูกมีร่างกายและสมองที่แข็งแรง

 

เฟื่องลดา: อาหารการกินและโภชนาการก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เขามีความพร้อมที่จะเรียนรู้อะไรเพิ่มเติม ศักยภาพของสมองหรือว่าร่างกายที่แข็งแรง จริงๆ เฟื่องไม่ได้เคร่งครัดอะไรมากเท่าไร แต่ว่าจะเน้นหนักๆ ก็คืออย่ากินขนมเยอะ เฟื่องมีทริกแบบนี้ว่า ถ้ากินข้าวหมดจะให้กินขนมได้ เอาไว้ปิดท้ายเป็นรางวัล

 

 

หลักๆ คือเน้นไปที่โปรตีน ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเลือกเป็นเนื้อสัตว์ที่เขาชอบ หรือว่าจริงๆ เด็กก็จะกินเนื้อสัตว์ยาก สิ่งที่เฟื่องยัดเลยก็คือนม เพราะว่ามันได้โปรตีน กินได้ความอิ่ม แล้วก็มันเหมือนกับกินข้าวประมาณหนึ่ง แต่ว่าพลัสด้วยนมทุกๆ มื้อ มันก็จะช่วยเพิ่มทั้งความแข็งแรงของมวลกล้ามเนื้อ เพิ่มความสูง แล้วก็เดี๋ยวนี้ก็มีนมที่มีสารอาหารที่ทำให้สมองของเราพัฒนาด้วย ก็คือเอาไว้ให้เขาเป็นพื้นฐานค่ะ

 

มีแนวคิดไหนไหมที่เฟื่องอยากจะปลูกฝังให้ลูกจดจำไปได้ตลอดชีวิต

 

เฟื่องลดา: ‘The World is a Playground.’ รู้สึกว่าเขายังคงต้องมีความสนุกกับการใช้ชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ให้ได้ เพราะเฟื่องรู้สึกว่านับวันมันก็ยิ่งมีแต่ความเครียด การแข่งขันสูง ความคาดหวัง นี่คือสิ่งที่เด็กๆ ยุคนี้ต้องเจอ คูณไปมากกว่ายุคพวกเราอีกหลายเท่า 

 

เฟื่องก็เลยรู้สึกว่า สิ่งที่อยากให้ลูกจำไว้ว่าเล่นสนุกแบบไหนตอนเด็ก รู้สึกเอ็นจอยกับโลกแบบไหนตอนเด็ก โตขึ้นก็ต้องไม่ลืมความรู้สึกนี้ ถ้าเรามีพื้นฐานที่เราเตรียมพร้อมแล้ว แต่เราใส่ความสนุกเข้าไป มันจะทำให้หลายๆ อย่างมันดีค่ะ  

 

 

วันนี้บทบาทแม่ได้สอนอะไรเฟื่องบ้าง

 

เฟื่องลดา: บทบาทแม่สอนหลายอย่างเลยค่ะ สิ่งที่ชัดมากก็คือ ทำให้เราช้าลง รับฟังความรู้สึกที่เป็นความรู้สึกที่แท้จริงของมนุษย์ แล้วก็รู้ว่ามันมีสิ่งที่เราคอนโทรลไม่ได้จริงๆ อยู่เยอะ มันจะมีบางช่วงที่เราใช้สมองนำ จนบางทีเราลืมฟังหัวใจของเราเหมือนกันว่า เอ๊ะ จริงๆ หัวใจไม่อยากไป หัวใจอยากนอนตอนนี้ หรือหัวใจอยากไปออนเซน มันก็จะเป็นพาร์ตที่ทำให้พอเราฝึกทำเช่นนี้กับลูก เราก็จะใจดีอ่อนโยนกับตัวเองและคนอื่นเพิ่มขึ้นด้วยค่ะ

 

 

เหมือนเขาเองก็สอนเรา

 

เฟื่องลดา: ลูกเกิดมาเพื่อสอนเราเลยค่ะ ลูกเกิดมาเพื่อทำให้เห็น เพราะหลายๆ อย่างที่เฟื่องเจอก็คือพฤติกรรมของลูกหลายๆ พาร์ต แบบ เฮ้ย ทำไมแสดงออกแบบนี้ แต่ทั้งหมดคือฉัน เพราะฉันเคยทำแบบนี้ ถ้าไม่มีลูกมาทำให้เราเห็นเราก็จะไม่รู้ตัว ก็จะค่อยๆ ปรับไปเรื่อยๆ ค่ะ เหมือนเขาเป็นกระจก เขาเกิดมาเพื่อไปกับเรา แล้วทำให้เราเป็นคนที่ดีขึ้น เฟื่องเชื่ออย่างนั้น

 

 

อยากบอกอะไรถึงคุณแม่มือใหม่ในยุคนี้ที่ยังมีความกังวลถึงอนาคตที่ควบคุมไม่ได้

 

เฟื่องลดา: เฟื่องรู้สึกว่าแม่จะแบ่งเป็น 2 แบบ จะมีแม่ที่ “ฉันเกิดมาเพื่อแม่เลย” อันนี้เฟื่องไม่ต้องคุยกับเขาเลย เพราะเฟื่องคิดว่าเขามีมายด์เซ็ตที่พร้อม มีครอบครัว มีอะไรอยู่แล้ว แต่สำหรับหลายๆ คนที่เฟื่องรู้จักก็แล้วกัน เป็นผู้หญิงทำงาน รู้สึก Independent ประมาณหนึ่ง ก็จะกลัวว่ามีลูกดีไหม มีหรือไม่มี คิดวนไปวนมา เฟื่องรู้สึกว่ามันไม่มีคำว่าพร้อมที่สุด มันไม่สามารถรอให้พร้อมก่อน ระหว่างทางมันคือการเรียนรู้  

 

 

โอเค ทุนทรัพย์พร้อม จิตใจพร้อมประมาณหนึ่ง แล้วถ้าเริ่มมีคำถามว่ามีลูกดีไหม นั่นแปลว่าอยากมี เฟื่องรู้สึกว่าเป็นแม่แล้วไม่ได้จำเป็นจะต้องละทิ้งความฝันของตัวเอง เราควรจะหาคู่ชีวิตที่เขาเข้าใจจุดนี้ของเราด้วย สมัยนี้การสร้างครอบครัวมันก็คือการตกลงกันว่า แน่นอนว่ามันต้องมีคนคอยซัพพอร์ต เดินข้างหน้า แต่การผลัดกันจะโอเคกว่าไหม เราควรจะตั้งเป้าก่อนว่า โอเค ฉันเป็นแม่ แต่ว่าชีวิตที่ยังเป็นฉัน เราจะเป็นใคร แล้วยังคงต้องเผื่อสเปซไว้ตรงนั้น แล้วตรงนี้มันจะเฮลตี้ที่สุดทั้งกับเราและลูกด้วย เพราะเราจะเป็นแม่ที่มีความสุข  

 

เรียกว่าบาลานซ์คือคีย์สำคัญ

 

เฟื่องลดา: Balance แล้วก็ Boundary ในการขีดขอบเขตบทบาทแม่ บทบาทภรรยา บทบาทตัวของฉันที่ฉันรัก แม่มีได้หลายแบบมาก แต่สำคัญที่สุดแม่ต้องเป็นแม่ที่มีความสุขค่ะ

 

หากคุณแม่มีข้อสงสัย พัฒนาการสมองและการเรียนรู้ของลูกเพิ่มเติม สามารถปรึกษาทีมพยาบาล S-Mom club ได้ตลอด 24 ชม.ไม่มีค่าใช้จ่าย

 


 

S-Mom club

Website: https://www.s-momclub.com/ 

Facebook: https://www.facebook.com/Smomclub

  • LOADING...

READ MORE





Latest Stories

Close Advertising
X